การจ่ายผลตอบแทนและความพอใจของพนักงานและผลงาน

การจ่ายผลตอบแทนและความพอใจของพนักงานและผลงาน

(Compensation and Employee Satisfaction and Performance)

นักวิชาการจำนวนมากได้มีการศึกษาเกี่ยวกับเรื่องราวของพฤติกรรมและการปรับตัวของพฤติกรรม และได้ทำการวิเคราะห์เพื่อพยายามจะทราบว่า อิทธิพลของเงินนั้นมีความสำคัญเพียงใดในการเป็นตัวกำหนดที่สำคัญที่มีส่วนกำกับพฤติกรรม รวมทั้งการศึกษาถึงการวางระบบของการจ่าย แบบจูงใจ และ/หรือ การพยายามลดความกังวล (Anxiety Reducer) โดยทั่วไปแล้วทฤษฎีต่าง ๆ เหล่านี้มีความเชื่อว่า ภายใต้สถานการณ์ที่กำหนด เงินมักจะมีผลกระทบต่อพฤติกรรมในการทำงานของพนักงานโดยตรง Herzberg(3) ได้ศึกษาเกี่ยวกับเรื่องของการจูงใจและพบว่า เงินนั้นเป็นปัจจัยที่ มีลักษณะเป็นเรื่องธรรมดาหรือเป็นปัจจัยที่จูงใจเพื่อความจำเป็นธรรมดา (Hygiene Factor) นั่นคือ จะมีได้มีอิทธิพลโดยตรงต่อพฤติกรรม และถ้าหากสามารถเอาเรื่องของการจ่ายตอบแทนนี้มาโยงเข้า โดยตรงกับผลงานแล้ว ก็มักจะมีโอกาสมีอิทธิพลเป็นตัวกระตุ้นได้เสมอ ทำนองเดียวกันในอีกทาง หนึ่งของ Maslow ตามทฤษฎีว่าด้วยความต้องการนั้น ถ้าเอามาสัมพันธ์กับเรื่องของการจ่ายแล้วก็ จะมีข้อสรุปว่า การจ่ายตอบแทนสามารถตอบสนองความต้องการหลาย ๆ อย่าง ทั้งในด้านร่างกาย ความมั่นคง และการมีฐานะ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ตามข้อสรุปที่ได้ค้นพบโดย E.E. Lawler Jr.(4) จาก การวิจัยยังได้ข้อสรุปว่า การจ่ายตอบแทนไม่ค่อยเป็นตัวสำคัญนักที่จะสามารถตอบสนองความพึงพอใจทางด้านความนึกคิดหรือความต้องการทางด้านสังคม ซึ่งเป็นการวิเคราะห์ทำนองเดียวกันที่มี ลักษณะคล้ายกันกับของ McClelland, Atkinson และ Korman’s Consistency Theory ทั้งหมด นี้ล้วนแต่เป็นทฤษฎีว่าด้วยการจูงใจ ซึ่งจะช่วยตอบคำถามให้เราทราบว่า ระบบการจ่ายแบบจูงใจนั้น จะสามารถกระตุ้นให้เกิดผลงานที่สูงขึ้นหรือไม่ ดังตารางที่เปรียบเทียบต่อไปนี้

(3) Frederick Herzberg, New Approach in Management Organization and Job Design in studies in Management Process and Organizational Behavior, ed. John Turner et. al. (Grenview, III:, Scott Foresman & Co., 1972)

(4) E.E. Lawler, Jr., Pay and Organizational Effectiveness, (New York: McGrawillill Book Co., 1971)