ขั้นตอนการประเมินผลการปฏิบัติงาน

การประเมินผลการปฏิบัติงาน (Performance Evaluation)

การประเมินผลการปฏิบัติงาน หมายถึง กิจกรรมทางด้านการบริหารงานบุคคลที่เกี่ยวข้องกับวิธีการที่ซึ่งหน่วยงานพยายามที่จะกำหนดให้ทราบแน่ชัดได้ว่า พนักงานของตนสามารถปฏิบัติงานได้ ประสิทธิภาพดีมากน้อยเพียงใด

การประเมินผลการปฏิบัติงานนี้ได้มีชื่อเรียกต่าง ๆ กันว่า Performance Review, Personnel Rating., Performance Evaluation, Performance Appraisal, Employee Appraisal, Em­ployee Evaluation ซึ่งในที่นี้จะเรียกว่าการประเมินผลการปฏิบัติงานหรือที่มาจากคำว่า “Per formance Appraisal.”

กระบวนการของการประเมินผลการปฎิบัติงาน กระบวนการของการประเมินผลการปฏิบัติงานเป็นงานที่กระทำหลังจากที่ได้มีการคัดเลือกพนักงานเข้ามาทำงาน และได้มีการให้ทำงานไประยะเวลาหนึ่งตามที่กำหนดแล้ว ซึ่งผู้บริหารจะต้องติดตามประเมินผลดูเป็นระยะ ๆ ว่า ผลงานที่ปรากฏจากการกระทำของบุคคลดังกล่าวเป็นไปอย่างไร ซึ่งหากได้ทราบถึงผลงานที่ปฏิบัติออก มาและประเมินคุณค่าได้แล้ว ก็จะมีการเสริมหรือแก้ปัญหาให้คนงานมีประสิทธิภาพต่อไป คืออาจจะเลื่อนชั้นให้พร้อมผลตอบแทนที่ให้เพิ่มเติมในความดีความชอบ หรืออาจโยกย้ายสับเปลี่ยนหรือ แก้ไขด้วยวิธีการอื่น ๆ ซึ่งหากกระทำถูกต้อง นอกจากจะช่วยให้การผลิตการทำงานมีประสิทธิภาพตลอดไปแล้ว ยังช่วยสร้างเสริมขวัญและกำลังใจให้แก่พนักงานอีกด้วย

ขั้นตอนการประเมินผลการปฏิบัติงาน

ขั้นตอนต่าง ๆ ของการประเมินผลการปฏิบัติงาน มีดังนี้ คือ

1.  การกำหนดนโยบายเกี่ยวกับการประเมินผลการปฏิบัติงานให้เป็นแนวทางที่มีแบบแผนไว้ว่า จะกระทำเมื่อใด บ่อยครั้งเพียงใด ใครจะเป็นผู้รับผิดชอบในการประเมิน และเกณฑ์ที่จะใช้ในการประเมิน ตลอดจนเครื่องมือที่เกี่ยวข้องในการประเมินที่จะนำมาใช้

2.  กำหนดให้ผู้ทำการประเมินดำเนินการเก็บข้อมูลตัวเลข ที่เกี่ยวกับผลการปฏิบัติงานของพนักงาน

3.  กำหนดให้ผู้ทำการประเมินดำเนินการประเมินผลการปฏิบัติงานของพนักงาน (ซึ่งในบางกรณีอาจจะมีการให้ผู้ปฏิบัติงานมีการประเมินร่วมกันด้วย)

4.  การนำผลที่ประเมินมาได้ มาถกเถียงและพิจารณากับพนักงาน

5.  การตัดสินใจเกี่ยวกับการประเมินผลการปฏิบัติงานและการสรุปผลเป็น 2 ระบบควบคู่กันเสมอ คือทั้งในรูปแบบที่จัดขึ้นอย่างเป็นทางการและไม่เป็นทางการ กล่าวคือ ในวิธีที่ไม่เป็นทางการนั้น มักจะใช้วิธีให้หัวหน้างานพนักงานั้น ๆ แสดงความคิดเห็นโดยทั่ว ๆ ไปว่าลูกน้องของตนดีอย่างไรในการทำงาน ซึ่งวิธีที่ไม่เป็นทางการนี้ มักจะมีปัจจัยเรื่องเกี่ยวกับทัศนคติและความใกล้ ชิดในเรื่องส่วนตัวต่าง ๆ เข้ามาปะปนอยู่ด้วยเสมอ ซึ่งมักจะทำให้หัวหน้างานมีความลำเอียงที่จะเห็นคนใดคนหนึ่งดีกว่าอีกคนหนึ่ง ด้วยจุดอ่อนดังกล่าว องค์การส่วนมากจึงต้องมีการจัดระบบการประเมินผลการปฏิบัติงานที่เป็นทางการขึ้น ซึ่งจะเป็นระบบสำหรับที่จะใช้เป็นประจำ ตามปกติ และมีระเบียบแบบแผนในวิธีการประเมินผลการปฏิบัติงานต่าง ๆ ทั้งนี้เพื่อช่วยให้การประ เมินผลดังกล่าวสมเหตุผลและมีความยุติธรรม ซึ่งจะมีผลต่อขวัญของพนักงานด้วย

ความรับผิดชอบในการจัดทำการประเมินผลการปฏิบัติงานนี้ โดยหลักการแล้วเป็นเรื่องที่ต้องเกี่ยวข้องกันทั้งสองฝ่ายคือ ของหัวหน้างานโดยตรงและผู้ชำนาญการด้านการบริหารงานบุคคลที่จะเข้ามาช่วยเหลือ ในเรื่องวิธีการดำเนินการเกี่ยวกับเรื่องนี้นั้น ฝ่ายที่ทำหน้าที่รับผิดชอบด้านการพนักงาน มักจะเป็นผู้ออกแบบวิธีการและจัดระบบการประเมินการปฏิบัติงานขึ้นมาและยังต้องทำการอบรม หัวหน้างานต่าง ๆ ให้รู้และเข้าใจถึงวิธีการประเมินผลการปฏิบัติงานนี้ด้วย นอกจากนี้ยังจะต้องคอย

ช่วยเหลือทำหน้าที่เก็บรักษาบันทึกข้อมูลและเรื่องราวที่เกี่ยวกับเรื่องนี้ด้วย ในเวลาเดียวกัน หัวหน้างานในฝ่ายปฏิบัติมักจะเป็นผู้ต้องทำการประเมินผู้ใต้บังคับบัญชาของตนด้วยตนเอง และในบางครั้ง ก็จะมีการกำหนดให้ผู้ประเมินที่เป็นหัวหน้างานดังกล่าวได้ใช้วิธีการพูดคุยกับลูกน้องของตนให้ทราบ ถึงผลการประเมินนั้นด้วย ในเรื่องของการประเมินผลการปฏิบัติงานนี้ นับได้ว่าเป็นงานที่สำคัญยิ่ง อย่างหนึ่ง ดังนั้นจึงควรต้องสร้างสรรให้มีทัศนคติที่ถูกต้องที่จะไม่ถือว่าเรื่องนี้เป็นแต่เพียงงานกรอกข้อมูลธรรมดา ๆ ในทางที่ถูกฝ่ายจัดการระดับสูงจะต้องสนับสนุนและเน้นถึงความสำคัญของการใช้ ประโยชน์ของการทำการประเมินผลดังกล่าว โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่จะให้เป็นเหตุผลสัมพันธ์มาถึงการตัดสินใจเกี่ยวกับการเลื่อนชั้นต่าง ๆ ด้วย