ขั้นตอนและวิธีวิเคราะห์ความจำเป็นในการฝึกอบรม

William Berliner and William Mclarney ได้กล่าวแนะวิธีการทีจะใช้วิเคราะห์ความจำเป็นด้านการฝึกอบรมไว้โดยมีกิจกรรม 5 ขั้นตอน คือ

1.  ให้ทำการวิเคราะห์งานโดยระบุงาน (task) หรือหน้าที่งาน (duties) ที่จำเป็นจะต้องทำ ซึ่งเป็นส่วนประกอบอยู่ในงานดังกล่าว ให้ปรากฏออกมาให้ชัดแจ้ง ซึ่งในขั้นนี้อาจจะสามารถใช้คำบรรยาย ลักษณะงานเป็นเครื่องช่วย

2.  ให้มาตรฐานของงาน โดยระบุมาตรฐานของผลงานของตำแหน่งงานดังกล่าวในแง่ต่าง ๆ ออกมาให้ครบ

3.  ให้ทำการเปรียบเทียบผลงานที่ทำได้จริงกับมาตรฐานต่าง ๆ ที่กำหนดไว้

4.  ให้พิจารณากำหนดหรือพิจารณาตรวจสอบดูว่า ส่วนใดของงานนั้น ๆ ที่เป็นปัญหาต่อพนักงาน ซึ่งทำให้พนักงานผู้นั้นมีผลงานตกตํ่าลงกว่าที่ควร

5.  พิจารณาว่ามีความจำเป็นด้านการฝึกอบรมอะไรที่เป็นสิ่งจำเป็นต้องทำ เพื่อที่จะสามารถแก้ไขข้อปัญหาที่เกิดขึ้นให้หมดสิ้นไป

ขั้นตอนที่ 1 และ 2 นี้ นับได้ว่าเป็นการวิเคราะห์รายละเอียดของงาน (Task description analy­sis) ซึ่งในขั้นตอนนี้ ก็เพื่อที่จะให้รู้ถึงความจำเป็นที่เกี่ยวกับงานและสิ่งที่พนักงานต้องทำ ตลอดจนถึงการคาดหมายถึงมาตรฐานของผลงาน ส่วนขั้นที่ 3, 4, 5 นั้น จะเกี่ยวข้องกับขั้นตอนของการพิจารณา ความจำเป็นของการฝึกอบรมที่วิเคราะห์ได้จากงานที่ได้ทำอยู่ในขณะนั้น ในขั้นตอนหลังนี้ก็คือ การวิเคราะห์ปัญหา และการตกตํ่าในผลผลิตรวมถึงการกำหนดเป้าหมายของการฝึกอบรม ทั้ง 5 ลำดับขั้นนี้ ถ้าหากจะสรุปอย่างสั้น ๆ ก็คงหมายถึงการทำงานวิเคราะห์สองด้านด้วยกัน คือ

ด้านที่ 1 นั้นก็คือ การระบุและเรียงลำดับงานที่ต้องทำ ตลอดจนหน้าที่ซึ่งเป็นส่วนประกอบของงานให้ปรากฏออกมาให้แจ้งชัดก่อน จากนั้นในด้านที่ 2 ก็คือการระบุขั้นตอนที่เกี่ยวข้องกับการทำงานแต่ละอย่างตามที่ได้เรียงลำดับไว้ครั้งแรก ทั้งนี้โดยมุ่งจุดสนใจที่จะดูว่าพนักงานผู้ทำงานนั้น ทำอะไรในขณะที่กำลังดำเนินไปสู่ขั้นตอนนั้น ๆ มากกว่าที่จะด่วนพิจารณาไปทันทีว่าจะต้องรู้อะไรบ้าง ตัวอย่างปรากฏในภาพที่ 12.1 เพื่อชี้ให้เห็นถึงรายละเอียดของงานที่จัดเรียงลำดับในงานด้าน X-RAY ซึ่งตามขั้นตอนของการทำงานต่าง ๆ ได้มีการระบุเกี่ยวกับผลงานและการเรียนรู้ที่เป็นปัญหา หรือที่เป็นลำดับขั้นที่ยุ่งยากก็มีการตรวจสอบออกมา

ช่างเทคนิค – ด้านการเอ็กซ์เรย์

งานที่ทำ: ถ่ายภาพเอ็กซ์เรย์ทรวงอก

ลำดับที่

ขั้นตอนต่างๆ ในการทำงาน

ชนิดของงานที่ทำ

การเรียนรู้งานที่มีปัญหาต้องแก้ไข
1 – บอกให้คนไข้เตรียมตัวโดยให้เอาสิ่งของ ต่าง ออกจากร่างกายเพื่อเตรียมตัวถ่าย เอ็กซ์เรย์  

ใช้คำพูด

 

ง่าย

2 – ให้คนไข้อยู่ในท่าที่ถูกต้องและออกคำสั่ง เฉพาะเรื่อง ต้องออกท่าทางทำงาน และใช่คำพูดพร้อมกัน  

ยุ่งยากเล็กน้อย

3 – ให้คนไข้อยู่ในท่าที่ถูกต้องและเช็คสอบ ช่วงระยะของกล้องให้ได้ตามที่ต้องการ ต้องใช่ดุลยพินิจ พิจารณาแยกแยะ  

ยุ่งยากเล็กน้อย

4  

– เปิดสวิทช์เครื่องเอ็กซ์เรย์และปรับเครื่อง

 

ใช้ความจำ

 

ง่าย

5 – ใส่ฟิล์มเอ็กซ์เรย์และท่าเครื่องหมายเลข กำกับในจุดที่กำหนด  

ต้องออกท่าทางทำงาน

 

ง่าย

6  

– ถ่ายภาพและให้คนไข้ออกจากห้องตรวจไต้

 

ต้องออกท่าทางทำงาน

 

ยุ่งยากเล็กน้อย

7  

– ล้างฟิล์มเอ็กซ์เรย์

 

ต้องออกท่าทางทำงาน

ยาก
8 – เช็คสอบเพื่อหาจุดที่ผิดบกพร่องที่อาจ เกิดขึ้น ต้องใช้ดุลยพินิจ พิจารณาแยกแยะ ยากมาก
9 – ให้คนไข้กลับไปได้ถ้าฟิล์มเอ็กซ์เรย์เป็นที่ยอมรับของเจ้าหน้าที่รังสีว่าใช้ได้แล้ว  

ใช้ความจำ

 
10 – ทำความสะอาดโต๊ะที่ใช้ตรวจและบริเวณอุปกรณ์ฟิล์มเอ็กซ์เรย์  

ต้องออกท่าทางทำงาน

 

ภาพที่ 12.1 จาก : Robert F. Mager and Kenneth M.Beach, Jr., Developing Vocational In­struction; (Belmont California : Fearon Publishers/Lear Siegler, Inc., 1967) p.22