ประวัติความเป็นมาของผลประโยชน์ตอบแทนที่ให้กับพนักงาน

ผลประโยชน์ตอบแทนที่จ่ายให้กับพนักงานนั้น ได้เกิดขึ้นตั้งแต่ช่วงทศวรรษที่ 1920 และได้เพิ่มขึ้นเป็นอันมากในระยะทศวรรษที่ 1940 ซึ่งนายจ้างได้จัดขึ้นเพราะสังเกตเห็นว่าพนักงานมีความประสงค์ที่อยากจะเข้าทำงานในที่ซึ่งเหมาะสมกว่าและที่มีความมั่นคงกว่า จึงได้มีการเริ่มต้นจัดผล ประโยชน์ตอบแทนต่าง ๆ ขึ้นในรูปแบบหลาย ๆ ทางด้วยกัน ซึ่งในระยะแรกนั้นก็ได้จัดขึ้นอย่างไม่เป็นทางการเป็นส่วนใหญ่

สาเหตุของการริเริ่มแผนการจ่ายตอบแทนให้กับคนงานนี้ เกิดจากหลายกรณีด้วยกัน บางกรณีนั้นเป็นเพราะเป็นความเชื่อของฝ่ายนายจ้างเองที่เต็มใจที่จะจัดผลประโยชน์เพิ่มเติมให้แก่คนงานของตนให้มาก และถือว่าควรเป็นส่วนที่ให้เพิ่มนอกเหนือจากค่าจ้างปกติ แต่สำหรับบางกรณีอาจจะเกิดขึ้นจากความเมตตากรุณาที่หวังจะจัดให้กับคนงาน ซึ่งมีสภาพฐานะทางเศรษฐกิจและพื้นฐานการศึกษาที่ตํ่ามากอยู่แล้ว ที่ทำให้มีปัญหาที่ไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้ จึงจัดขึ้นมาเพื่อเท่ากับเป็นการดูแลสวัสดิภาพสำหรับคนงานของตน ซึ่งในบางครั้งก็มีความหมายในทำนองของการให้การดูแลแบบพ่อกับลูก ซึ่งฝ่ายนายจ้างจะให้ความมั่นใจในเรื่องของการดูแลในยามเจ็บป่วย เพื่อให้เกิดความมั่นใจ การดำรงชีพต่าง ๆ ซึ่งก็นับได้ว่าได้รับความสำเร็จอยู่ไม่น้อย

อย่างไรก็ตาม สาเหตุที่สำคัญที่สุดของการขยายตัวของแผนการจ่ายตอบแทนให้กับพนักงานนั้น กลับเป็นผลมาจากทางด้านความเจริญเติบโตของสหภาพแรงงาน ในช่วงระหว่างทศวรรษที่ 1930และ1940 ซึ่งเป็นช่วงที่คนงานที่มีโอกาสได้รับการศึกษามากขึ้น และมีโอกาสที่จะเลือกงานมากขึ้น

ในภาวะดังกล่าวคนงานได้เริ่มตระหนักถึงสิ่งที่เป็นผลสำเร็จอันเกิดจากการอุทิศการทำงานของคนที่ได้ให้กับนายจ้าง และเห็นเป็นเหตุผลว่าคนงานสมควรได้รับรางวัลผลประโยชน์ตอบแทนในเรื่องดังกล่าวนี้ด้วย โดยไม่ควรที่จะขึ้นอยู่กับความเต็มใจหรือการริเริ่มจากฝ่ายนายจ้างเท่านั้น สหภาพแรงงาน ส่วนใหญ่จึงได้เรียกร้องให้มีการจัดสภาพการทำงานให้ดีขึ้นสำหรับสมาชิกของตน ดังนั้น ณ จุดดังกล่าวในช่วงปลายทศวรรษที่ 1930 นั้น แผนการจ่ายผลประโยชน์ตอบแทนจึงเป็นเรื่องของทั้งสองฝ่ายคือทั้งจากการริเริ่มของนายจ้าง และการริเริ่มจากฝ่ายสหภาพแรงงานที่เรียกร้อง หรือจากทั้งสองฝ่ายพร้อมกัน

สำหรับสาเหตุและปัจจัยที่ทำให้มีการพัฒนาระบบการจัดผลประโยชน์ตอบแทนให้แก่คนงานนั้น เหตุการณ์สำคัญที่เป็นปัจจัยทำให้มีการขยายตัวอย่างมากนั้นก็คือ เหตุการณ์ของช่วงระยะเวลาในระหว่างที่เกิดสงครามโลกครั้งที่ 2 ซึ่งได้มีปัญหาของเงินเฟ้อเกิดขึ้น ทำให้รัฐบาลสหรัฐวางข้อกำหนด การจ่ายค่าจ้างระดับสูงเอาไว้ ซึ่งภายใต้ข้อระเบียบดังกล่าว นายจ้างส่วนมากจึงถูกปิดโอกาสที่จะสามารถให้ค่าจ้างสูงขึ้นและทำให้ข้อจูงใจที่จะมีต่อพนักงานใหม่หมดหายไป โดยเฉพาะการต้องรับพนักงานใหม่เข้ามาทดแทนกำลังคนที่ได้ถูกเกณฑ์เข้าไปในกองทัพ ด้วยเหตุนี้วิธีการแก้ปัญหา เพื่อจะหลีกเลี่ยง ข้อจำกัดของค่าจ้างระดับสูง นายจ้างส่วนมากจึงเริ่มคิดค้น และนำเอาระบบการจ่ายผลประโยชน์ตอบแทนเพิ่มขึ้นในรูปของการให้ที่ไม่ใช่ค่าจ้างมาจ่ายให้กับคนงาน เช่น การกำหนดเบี้ยบำเหน็จบำนาญ และสวัสดิการต่าง ๆ เพิ่มขึ้นรวมทั้งการจ่ายกรณีวันหยุด และการจ่ายอันสืบเนื่องมาจากการลาป่วย ตลอดจนการจัดโครงการประกันสุขภาพและประกันชีวิต ซึ่งก็ได้มีส่วนช่วยให้ปัญหาของนายจ้างที่เกี่ยวข้องกับการคัดเลือกพนักงานใหม่เข้ามาได้คลี่คลายหรือผ่อนคลายไป หลังจากนั้นนายจ้างส่วนมากก็ได้ยอมรับในฝ่ายของตนที่จะดำเนินการจัดระบบตอบแทนนี้ให้ต่อเนื่องกันไป แม้ในระหว่างหลังช่วงสงครามโลกแล้วก็ตามและนอกจากนี้สหภาพแรงงานก็ได้ยืนยันและขอให้สิ่งเหล่านี้ต้องคงอยู่และดำเนินต่อไปในภาวะปกติด้วย

ปัจจัยอีกประการหนึ่งที่ทำให้ผลประโยชน์ตอบแทนที่ให้กับคนงานยังคงดำรงฐานะสำคัญต่อเนื่องกันมาก็คือ ในช่วงหลังสงครามโลกสิ้นสุดลง การแข่งขันกันที่จะให้ได้คนงานที่มีความสามารถ ก็เป็นปัญหาที่เกิดขึ้นในช่วงนั้น ผลประโยชน์ตอบแทนที่ให้กับคนงานจึงเป็นเครื่องมืออีกอันหนึ่งที่ นายจ้างส่วนมากได้ดำรงไว้ เพื่อที่จะให้มีข้อได้เปรียบในการจูงใจคนดังกล่าว

ภายหลังจากที่สงครามโลกครั้งที่ 2 ได้สิ้นสุดลง ข้อจำกัดเกี่ยวกับค่าจ้างระดับสูงก็ได้ถูกยกเลิกไป หลังจากนั้นตัวแทนสหภาพแรงงานส่วนใหญ่ก็มุ่งที่จะพยายามให้มีการเพิ่มอัตราค่าจ้าง ซึ่งได้มีการหยุดชะงักมาเป็นเวลานาน และผลอันสืบเนื่องมาจากภาวะเงินเฟ้อ ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ที่ต่อเนื่องกันมา ได้เป็นสาเหตุอันสำคัญที่ทำให้ฝ่ายแรงงานถือเป็นข้ออ้างที่จะให้มีการเพิ่มอัตราค่าจ้างเพื่อให้มีมาตรฐานการครองชีพที่ดีขึ้น จนกระทั่งในระยะประมาณปี 1948 ซึ่งต้นทุนค่าครองชีพได้หยุดอยู่กับที่และไม่ได้ขึ้นไปอีก ซึ่งในช่วงนั้นเหตุผลข้ออ้างของฝ่ายแรงงาน ก็ดูจะมีน้ำหนักน้อยลง แต่อย่างไรก็ตามเป็นที่ยอมรับในสังคมส่วนใหญ่ว่า พนักงานควรจะได้รับการดูแลในมาตรฐานที่ดีขึ้น ทั้งในแง่ของสุขภาพในการทำงานต่าง ๆ ด้วยเหตุนี้เอง ผลประโยชน์ตอบแทนต่าง ๆ จึงได้กลายเป็นเรื่องของการถือเป็นประเพณีปฏิบัติที่เป็นสิ่งที่ฝ่ายนายจ้างและคนงานต้องพิจารณาตามข้อเท็จจริง

วิวัฒนาการการเจริญเติบโตของการจ่ายผลประโยชน์ตอบแทนที่ให้แก่คนงานนั้น ได้มีการพัฒนาตามความเป็นมาของเรื่องราวในประวัติของการขยายตัวในสหรัฐฯ กล่าวคือ ในยามที่มีกำไรสูงขึ้นนั้น ฝ่ายแรงงานก็มักจะมีการเรียกร้องในเรื่องผลประโยชน์เหล่านี้มากขึ้นพร้อมกันไปด้วยกับการเรียกร้องค่าจ้างเพิ่ม ซึ่งข้อเรียกร้องต่าง ๆ เหล่านี้ก็มักจะสำเร็จผลจนได้พัฒนาการกลายเป็นสิ่งที่เป็นปกติ เช่น ในกรณีของการเรียกร้องของคนงานที่ต้องการมีโอกาสที่จะพักผ่อนและมีชีวิตความเป็นอยู่ที่มีโอกาส มีความสุขความสบายได้เสมอภาคยิ่งขึ้นกับฝ่ายนายจ้าง ดังนั้นสิ่งที่ปรากฏให้เห็นในเรื่องของการปรับ ปรุงชั่วโมงการทำงานให้คล่องตัวที่สะดวกกับพนักงาน ตลอดจนการมีโครงการด้านสวัสดิการต่าง ๆ

ทั้งในแง่ที่เกี่ยวกับการพักผ่อน การให้ฟังดนตรี การมีภาพยนตร์ ตลอดจนการมีสิ่งอำนวยความสะดวกต่าง ๆ ทั้งโรงอาหารและที่พักอยู่อาศัยล้วนแต่เป็นสิ่งที่ปรากฏและเป็นที่ยอมรับที่นายจ้างจะต้องจัด ให้กับคนงานเป็นส่วนใหญ่ นอกจากนี้ปัจจัยที่มีส่วนกระตุ้นทำให้การจัดผลประโยชน์ที่ให้กับพนักงาน มีระดับสูงขึ้น ก็เกิดขึ้นเนื่องจากความก้าวหน้าต่าง ๆ ทั้งในแง่ของความก้าวหน้าทางการแพทย์ตลอดจนปัญหาสังคม รวมทั้งข้อกำหนดของกฎหมายที่จะพยายามให้ธุรกิจมีส่วนในการอุ้มชูระดับความเป็นอยู่ของสังคม ก็นับได้ว่ามีส่วนกระทบต่อการจัดแผนการจ่ายผลประโยชน์ตอบแทนให้แก่คนงานด้วยเช่นกัน ในเรื่องของผลประโยชน์ต่าง ๆ ที่จะมีแนวโน้มให้มากขึ้น หรือจะเปลี่ยนแปลงไปในทางใด นั้นเป็นเรื่องที่อาจคาดการณ์ได้ยาก และมีนักวิชาการคนหนึ่งได้พยายามและมีข้อเสนอแนะไว้คือ Folt- man ซึ่งได้ให้ข้อคาดการณ์ไว้ว่าการเปลี่ยนแปลงจะดีขึ้นอย่างมาก และเน้นหนักไปในทางการตอบสนองด้วยผลประโยชน์ต่าง ๆ เพื่อเสริมความพอใจทางจิตวิทยาและทางเศรษฐกิจ ตามหัวข้อต่อไปนี้ คือ

□การจัดให้มีบริการทางการแพทย์แก่ครอบครัวของพนักงานและเพิ่มรายการขึ้นจนกึงการให้การดูแลด้านทันตกรรม และการปรึกษาทางจิต ตลอดจนการดูแลสุขภาพรวมทั้งภาวะจิตใจ

□การจ่ายสำหรับกรณีการเจ็บป่วย เนื่องจากการเคร่งเครียดเกินไป

□การให้โอกาสเกษียณอายุก่อนจะถึงเวลา เช่น ในช่วงอายุ 55 ปี

□การให้มีการหยุดพักผ่อนมากขึ้น และการให้มีการลาไปเลือกทำหน้าที่หรือทำงานด้านอื่น

□การให้มีบำเหน็จเป็นก้อน

□การเพิ่มจำนวนวันหยุดจาก 12 เป็น 15 วัน

□การให้ลาหยุดเจ็บป่วยโดยมีการจ่ายเงินเดือน

□การประกันทุพพลภาพ

□ให้มีเวลาลากิจมากขึ้น โดยได้เงินเดือน

□การลดจำนวนวันทำงานต่อสัปดาห์ให้น้อยลง

□การให้ประกันการจ้างงานตลอดชีพ

□การให้จัดโครงการให้ประโยชน์แบบต่าง ๆ หลาย ๆ แบบที่ให้พนักงานเลือก ซึ่งสุดแต่พนักงานจะเลือกประเภทใด

□การให้ผลประโยชน์ตอบแทนในรูปของการศึกษาแก่พนักงาน และครอบครัว

□การประกันค่าจ้างขั้นตํ่าของทั้งปี

□การได้ประโยชน์ตอบแทนอื่น ๆ ที่ได้เพิ่มจากนี้อีก