มาตรฐานการจ่ายผลตอบแทนแบบจูงใจทางการผลิต

มาตรฐานต่าง ๆ สำหรับการจ่ายผลตอบแทนแบบจูงใจทางการผลิต (Stan­dard for Production Incentives)

ความสำเร็จของระบบการจ่ายผลตอบแทนแบบจูงใจสำหรับงานผลิตนั้น ส่วนใหญ่มักจะขึ้นอยู่กับความสามารถในการกำหนดหรือพัฒนามาตรฐานของงานว่าสามารถจัดทำได้อย่างถูกต้องเพียงใด มาตรฐานต่าง ๆ เหล่านี้มีความสำคัญมิใช่แต่เพียงเพื่อให้สามารถพิจารณาสัมพันธ์ระหว่างการจ่ายตอบแทนแบบจูงใจกับความพยายามของพนักงานเท่านั้น หากแต่ยังคงมีความสำคัญในอีกแง่หนึ่ง ที่ควรจะเป็นวิธีที่ซึ่งได้รับความเชื่อถือจากพนักงานทั้งหลาย ที่จะมีศรัทธาต่อระบบดังกล่าวด้วย ถ้าหากมาตรฐานที่ได้กำหนดไว้หย่อนเกินไปหรือตํ่าเกินไป ผลที่ปรากฏออกมาก็มักจะกลายเป็นว่า ทำให้ต้นทุนต่าง ๆ สูงขึ้น ซึ่งเป็นภาระต่อฝ่ายจัดการเป็นอย่างยิ่ง ทั้งนี้เพราะพนักงานส่วนมากจะพลอยถือโอกาสไม่ใช้ความพยายามเท่าที่ควรเพื่อให้คุ้มหรือให้สมกับรายได้ที่เขาได้รับ มาตรฐานที่หย่อนเกินไปนี้ ถ้าหากได้เกิดขึ้นแล้วก็เป็นการยากที่จะแก้ไขให้สูงขึ้น หรือหากถ้าจะทำก็มักจะมีผลกระทบต่อ ความร่วมมือของพนักงานเป็นอย่างมาก ขณะเดียวกันในทางตรงข้าม ถ้ามาตรฐานได้กำหนดไว้สูงเกิน หรือตึงเกินไป ก็อาจจะมีข้อเสียที่จะกลายเป็นเครื่องจำกัดโอกาสของพนักงานที่จะได้รับค่าจ้างแบบจูงใจบ้าง และจะไม่เอื้ออำนวยให้พนักงานมีความกระตือรือล้นที่จะทำงานมากขึ้น   ปัญหาของ

มาตรฐานที่เหมาะสมจึงเป็นเรื่องสำคัญ ซึ่งหากมิได้กระทำอย่างถูกต้องก็มักจะก่อให้เกิดข้อเรียกร้อง และข้อร้องเรียนที่ไม่ดีตามมาเสมอ

การพิจารณากำหนดเวลามาตรฐาน (Time Standards) วิธีหนึ่งที่ใช้มากที่สุดก็คือ “การกำหนดเวลามาตรฐาน” หรือการกำหนดเวลาที่แท้จริงสำหรับการทำงานที่สามารถวัดได้ด้วยเวลา ซึ่งกำหนดขึ้นมาจากการวัดเวลา (time measurement) ของการทำงานโดยการใช้นาฬิกาจับเวลา วิธีการติดตามศึกษาเรื่องเวลาที่ใช้ในการทำงานนี้ ส่วนมากจะทำโดยมีการบันทึกและจัดเป็น ลำดับเพื่อที่จะจัดเป็นระดับขั้น (levels) เพื่อที่จะให้เป็นระดับของการใช้ความชำนาญและความพยายามของพนักงานที่ต่างกัน เป็นระดับของการใช้ความชำนาญและความพยายามของพนักงานที่ต่างกันเป็นระดับ ๆ ตัวอย่างเช่น ถ้าหากสามารถพิสูจน์ได้ว่า บุคคลคนหนึ่งสามารถทำงานได้เร็วกว่า และมีสมรรถภาพสูงกว่าเวลาถัวเฉลี่ยที่ต้องการแล้ว ดังนี้เวลาที่ได้จากการสำรวจเพื่อทำงานให้เสร็จ สำหรับแต่ละรอบก็จะได้รับการขยายออกไปด้วยเวลาที่เหมาะสม ในทำนองกลับกัน ถ้าหากเป็นการศึกษาจากอีกคนหนึ่งซึ่งสังเกตได้ว่าทำงานช้ากว่าหรือน้อยกว่าปกติหรือตํ่ากว่ากรณีที่ถือเป็นปกติ ในกรณีเช่นนี้ เวลาที่สำรวจออกมาได้ที่จะทำงานให้เสร็จแต่ละรอบก็จะถูกกำหนดให้ลดลงเป็นสัดส่วนกันให้เป็นเวลาที่เหมาะสม จำนวนตัวเลขที่กำหนดเป็นที่ยุติหลังจากที่มีการสำรวจเวลาที่ใช้ไป ในการทำงานแต่ละรอบเหล่านี้ จะถูกนำมากำหนดเป็นเกณฑ์ซึ่งจะกลายเป็นขนาดของเวลาที่ต้องการ สำหรับพนักงานแต่ละคน ที่ใช้ความชำนาญและกำลังความสามารถความพยายามถัวเฉลี่ยที่จะทำงานนั้น ๆ ให้เสร็จในแต่ละรอบ ด้วยช่วงเวลาที่ถือได้ว่าเป็นเวลาปกติ

หลังจากที่ได้มีการสำรวจเวลาและได้มีการกำหนดเป็นระดับต่าง ๆ เรียบร้อยแล้ว เป็นการสมควรอย่างยิ่งที่จะต้องมีการกำหนดเวลาเผื่อสำหรับการหยุดในระหว่างทำงาน ซึ่งอาจจะเป็นสิ่งจำเป็นที่จะต้องพิจารณาเผื่อให้สำหรับพนักงาน ทั้งนี้เพื่อให้คนงานมีเวลาสำหรับกิจธุระที่จำเป็น ที่อาจมีขึ้นตามเหตุผลที่พอเหมาะสม หรืออาจจะเผื่อสำหรับการซ่อมบำรุงอุปกรณ์ หรือการเผื่อสำหรับงานชิ้นใหม่ที่จะต้องใช้เวลารอก่อนที่จะเข้ามาถึงตัวเลขของเวลาที่ได้รับหลังจากที่ได้มีการปรับสิ่งต่าง ๆ เหล่านี้ ก็จะเป็นมาตรฐานเวลาที่ต้องการสำหรับการทำงานให้เสร็จตามที่ได้มีการสำรวจอย่างรอบคอบแล้ว

วิธีคำนวณอัตราการจ่ายค่าจ้างจูงใจ ถึงแม้ว่าการกำหนดเวลามาตรฐานจะได้มีการ กำหนดเป็นเวลาที่ต้องการเพื่อการทำงานหนึ่งให้เสร็จก็ตาม เวลามาตรฐานดังกล่าวก็ยังหาใช่เป็นตัวกำหนดอัตราการจ่ายแบบจูงใจโดยตรงไม่ อัตราการจ่ายตอบแทนแบบจูงใจที่ถูกต้องนั้น ควรจะยึดถือตามอัตราค่าจ้างรายชั่วโมง ซึ่งในที่สุดก็จะกลายเป็นเกณฑ์การจ่ายสำหรับการทำงานนั้น และที่ได้ นำเอาระบบการจ่ายแบบจูงใจมาใช้ควบคู่อยู่ด้วย ตัวอย่างเช่น ถ้าเวลามาตรฐานของการผลิตงานชิ้นหนึ่ง ในงานหนึ่งที่มีการจ่ายค่าจ้างในอัตรา 4.50 บาทต่อชั่วโมง ซึ่งเวลามาตรฐานนั้นคำนวณออกมาได้เป็น 10 นาที อัตรารายชั่วโมงก็จะเป็น 75 สตางค์ต่อ 1 หน่วย ซึ่งการคำนวณอัตรารายชิ้นจะคำนวณ ด้วยวิธีนี้คือ

60 (นาทีต่อชั่วโมง) = 6 หน่วยต่อชั่วโมง

10 (นาทีซึ่งเป็นอัตรามาตรฐานต่อหน่วย)

4.50 บาทเป็นอัตรารายชั่วโมง = 75 สตางค์ต่อหน่วย

จำนวน 6 หน่วยต่อ 1 ชั่วโมง