ลักษณะและความสำคัญของการพัฒนาการจัดการ

การพัฒนาการจัดการ (Management Development) หมายถึง กระบวนการซึ่งจะช่วยให้ผู้บริหารได้มีโอกาสได้รับประสบการณ์ ความชำนาญ ตลอดจนทัศนคติใหม่ ๆ ที่ถูกต้อง ที่จะเป็นผู้นำที่สมบูรณ์แบบและสามารถประสพความสำเร็จในฐานะของหัวหน้างานที่ดี

ในบทที่ผ่านมาที่เกี่ยวกับการฝึกอบรมนั้น วิธีการและเทคนิคที่ใช้ในการปรับปรุงประสิทธิภาพ ผลงานและความพอใจต่าง ๆ นั้น ส่วนใหญ่แล้วเป็นเรื่องที่กระทำกับเจ้าหน้าที่ระดับปฏิบัติการที่เป็นเสมียนพนักงาน ตลอดจนพนักงานบริการและพนักงานดำเนินการต่าง ๆ แต่สำหรับกรณีของโครงการ พัฒนาระดับนักบริหารหรือการฝึกอบรมนักบริหารนั้น จะแตกต่างในแง่ที่หมายถึง กระบวนการ วิธีการ และเทคนิคที่เกี่ยวกับการเสริมสร้างความสามารถของความเป็นนักบริหารให้แก่ผู้บริหารงานในระดับ ต่าง ๆ ตลอดจนผู้บริหารในกลุ่มวิชาชีพด้วย

เจ้าหน้าที่ชั้นบริหารและเจ้าหน้าที่ผู้ชำนาญการในสาขาวิชาชีพต่าง ๆ กลุ่มนี้นับเป็นกลุ่มที่สำคัญยิ่งต่อความสำเร็จขององค์การโดยเฉพาะอย่างยิ่งในแง่ของการตัดสินใจได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อหน่วยงาน ด้วยเหตุนี้องค์การทุกแห่งจึงตระหนักถึงปัญหาและเห็นถึงความจำเป็นที่จะต้องให้บุคคลากรกลุ่มนี้ของตนทันสมัยและก้าวหน้าอยู่เสมอ รวมทั้งต้องให้อยู่ในภาวะที่พร้อมจะมุ่งมั่นทำประโยชน์ให้สำเร็จในภาระกิจที่สำคัญ ในที่นี่จึงจะได้พิจารณาถึงเรื่องราวของการพัฒนานักบริหารหรือการพัฒนาการจัดการโดยละเอียด

ทำนองเดียวกันกับงานด้านการฝึกอบรม แผนงานทางด้านการพัฒนาการจัดการและการพัฒนาพนักงานวิชาชีพ ถือได้ว่าเป็นกิจกรรมที่มีความสัมพันธ์โดยตรงต่องานทางด้านการบริหารงานบุคคล แผนงานทางด้านการพัฒนานักบริหารหรือพัฒนาการจัดการนี้ มักจะโยงต่อเนื่องมาจากผลของการจัดทำแผนงานที่เกี่ยวกับการพนักงาน ซึ่งมีจุดมุ่งหมายหรือเน้นที่จะชี้ให้เห็นถึงความจำเป็น หรือความต้องการเกี่ยวกับพนักงานระดับบริหารของหน่วยงาน ซึ่งมักจะมีความต่อเนื่องกับการวางแผนเพื่อความก้าวหน้าในสายงานด้วย และโดยเฉพาะอย่างยิ่ง มักจะต้องเกี่ยวข้องต่อเนื่องจากขั้นตอนของการประเมินผลการปฎิบัติ และมักจะทำควบคู่กันกับเรื่องของการเลื่ยนขั้นลำดับ ซึ่งในที่นี้ก่อนที่จะมาถึงการกำหนดเป็นแผนงานด้านการพัฒนาการจัดการได้นั้น การประเมินเกี่ยวกับตัวพนักงาน (Employee Evaluation)

ที่จะได้รู้ถึงขอบเขตความสามารถที่จะมีโอกาสพัฒนาเป็นนักบริหารที่สูงขึ้นต่อไปได้มากน้อยเพียงใด จะเป็นสิ่งที่จำเป็นที่สุดที่ต้องทำโดยละเอียดก่อน

สาระสำคัญที่จำเป็นจะต้องทราบประการหนึ่งก็คือ แผนการพัฒนาการจัดการที่ได้ผลดีนั้น จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องได้รับการสนับสนุนและได้รับความร่วมมือจากผู้บริหารระดับสูงสุด ปัญหานี้ นับว่าเป็นเรื่องจริงที่มีความสำคัญยิ่ง เพราะตามปกติแล้วหัวหน้างานและผู้บริหารระดับกลางทั้งสาม ตลอดเวลามักจะคอยสังเกตดูว่า ฝ่ายจัดการระดับสูงมีความสนใจต่อกิจกรรมเหล่านี้เพียงใด หรือเห็นความสำคัญของการพัฒนาการจัดการนี้ที่จะเป็นประโยชน์สำหรับเขาเพียงใด ถ้าหากได้เห็นหรือตระหนักถึงความสำคัญแล้ว ความเชื่อและความตั้งใจที่จะได้มีโอกาสเติบโตจากแผนงานดังกล่าวเพื่อไปรับผิดชอบงานที่สูงขึ้น ก็ย่อมจะช่วยให้พนักงานที่เป็นผู้บริหารระดับกลางเหล่านั้นสนใจ และเข้าร่วม ซึ่งจะมีส่วนทำให้โครงการพัฒนาการจัดการสำเร็จผลได้อย่างสมบูรณ์ดียิ่งขึ้น

โดยปกติแล้วการพัฒนาการจัดการนี้ผู้บริหารในสายงานต่าง ๆ มักจะมีส่วนอย่างสำคัญในการช่วยพัฒนานักบริหารใหม่ ๆ จากการพยายามการถ่ายทอดประสบการณ์ในขณะปฏิบัติหน้าที่งานนั่นเอง แต่ขณะเดียวกันผู้ชำนาญการด้านการบริหารงานบุคคล ตลอดจนบริษัทที่ปรึกษาด้านการจัดการในภายนอก นับว่าเป็นกลุ่มที่สำคัญยิ่งที่จะช่วยประคับประคองให้กระบวนการของการฝึกฝนและพัฒนาความสามารถด้านนี้ให้เป็นไปโดยถูกต้อง ด้วยเครื่องมือและแผนการพัฒนาเพิ่มความสามารถตามวิธีการต่าง ๆ ที่กระทำเสริมนอกหน้าที่งาน และอีกทั้งยังจะเป็นผู้ชำนาญที่เป็นผู้รู้ดีที่จะคอยประสาน ให้เกิดความสมบูรณ์ของการพัฒนาความสามารถจากทั้งสองทิศทางด้วย คือจากในหน้าที่งานที่ผู้บริหารที่ทำงานอยู่ได้ฝึกฝนให้และจากแผนการพัฒนาด้วยโครงการศึกษานอกหน้าที่งานควบคู่กัน

 

การที่จะดำเนินการจัดให้มีแผนการพัฒนานักบริหาร หรือแผนพัฒนาการจัดการหรือไม่อย่างไรนั้นปกติการตัดสินใจย่อมอยู่ที่ผู้บริหารระดับสูง Diana pheysey (1) และนักวิชาการอีกหลายคนได้ ชี้ให้เห็นว่า แผนการพัฒนาการจัดการส่วนใหญ่แล้วมักจะมีพื้นฐานมาจากการพิจารณาคุณค่าของโครงการนี้ในแง่ต่าง ๆ กัน กล่าวคือบางคนเชื่อว่าจำเป็นต้องมีก็เพื่อที่จะส่งเสริมให้เป็นคนที่มีเหตุผล และมีจิตใจมั่นคงยิ่งขึ้น หรือให้เป็นคนสามารถตัดสินใจด้วยหลักเหตุผล และปราศจากการเอาอารมณ์ส่วนตัวเข้ามาปะปน แต่บางคนกลับพิจารณาปัญหาเรื่องราวที่เกี่ยวกับบุคคลหรืออารมณ์ประกอบอยู่ด้วย ซึ่งเป็นสถานการณ์ที่เป็นจริงในจุดของการทำงานต่าง ๆ

(1)

Diana Pheysey, “Manpower Skills Training & Company Structure and Climate”,

“Management Education and Development” (1971) pp. 137-50

และโดยวิธีการจัดแผนพัฒนาการจัดการนี้เอง แผนการฝึกอบรมและพัฒนาการจัดการก็จะเป็น เครื่องมือที่จะเข้ามาช่วยเสริมให้พฤติกรรมที่แสดงออกในปัจจุบันมีความสมบูรณ์ถูกต้องยิ่งขึ้น หรือเพื่อที่จะเปลี่ยนแบบของพฤติกรรมให้เป็นไปตามที่ต้องการได้มากที่สุด นักวิชาการในด้านนี้ได้พยายาม สรุปให้เห็นถึงขอบเขตและวัตถุประสงค์ของการเสริมสร้างไว้ดังภาพที่ 13.1 ซึ่งชี้ให้เห็นถึงสภาพแวด ล้อมในเชิงรวมของงานทั้งหมด ที่ผู้บริหารมักจะต้องทำการตัดสินใจและครอบคลุมในขอบเขตที่กว้าง ดังกล่าว

Pheysey ได้ทำการวิจัยและค้นถึงสาเหตุว่า ทำไมผู้บริหารระดับสูงจึงจำเป็นต้องเข้ามาเกี่ยวข้องกับโครงการนี้ด้วยตนเองเหตุผลก็คือว่า ก็เพื่อที่จะให้ผู้บริหารนั้นเองได้เข้าใจและค้นพบถึงสาเหตุ ของข้อขัดแย้งบางประการ ที่อาจจะเกิดขึ้นจากตัวของผู้บริหารนั้นเอง หรืออาจจะช่วยให้เขาได้พบว่าใน แต่ละสายงานหรือหน่วยงานที่แยกกันนั้นต่างก็มีบรรยากาศและค่านิยมที่แตกต่างกันอย่างมาก ซึ่งนับได้ว่าเป็นปัญหาใหญ่ที่ก่อให้เกิดความขัดแย้งระหว่างกลุ่มที่เป็นปัญหาสำคัญยิ่งการเข้าใจในแง่นี้มิได้ หมายความว่าจะเปิดช่องทางหรือชี้ช่องทางให้ผู้บริหารระดับสูงมีโอกาสที่จะเล่นกลทางการเมืองในบรรยากาศขององค์การโดยมองข้ามถึงความสำคัญของพนักงาน หากแต่สิ่งที่หวังนั้นกลับเป็นอีกเรื่องหนึ่งก็คือ เพื่อจะชี้ให้ผู้บริหารระดับสูงได้มีโอกาสเข้ามาเกี่ยวข้องโดยตรงกับการพัฒนาการจัดการ ซึ่งจะช่วยให้เขามีความตระหนักเป็นอย่างยิ่งถึงผลของความเป็นไปดังกล่าว และเพื่อให้ทราบว่ามีผลอย่าง สำคัญต่อความสำเร็จขององค์การ และให้มีความสำนึกที่จะยอมรับด้วยตัวเองว่า สิ่งนี้หรือเรื่องนี้เป็นเรื่องที่สำคัญยิ่งที่ตัวเองต้องมารับผิดชอบและจะต้องพิจารณาวางกลยุทธที่จะแก้ไขและทำให้ถูกต้องมากที่สุด และสมบูรณ์ที่สุดด้วย