วิธีการฝึกอบรมที่สำคัญ

มีวิธีการฝึกอบรมให้ผู้บริหารเลือกหลายวิธี การเลือกควรคำนึงถึงค่าใช้จ่าย เวลา จำนวนคน ความรู้ที่จำเป็น พื้นเพเดิม ของผู้เข้าฝึกอบรม ฯลฯ ต่อไปนี้เป็นวิธีการฝึกอบรมที่สำคัญ

1. การฝึกอบรมพร้อม ๆ กับการทำงาน (On-the-Job)

2. ทดลองทำในห้องทดลอง (Vestibule Training)

3. วิธีการในชั้นเรียน (Classroom Methods)

3.1 การบรรยาย

3.2 การประชุมสัมมนา

3.3 การเล่นบทบาทสมมุติ

3.4 การสอนแบบโปรแกรม

3.5 การสอนโดยอาศัยคอมพิวเตอร์เข้าช่วย

4. วิธีอื่น ๆ

4.1 การสาธิต

4.2 การเรียนจากสถานการณ์จำลองและเกมส์

1. การฝึกอบรมพร้อม ๆ กับการทำงาน

การบกอบรมโดยวิธีดังกล่าวก็คือ การเรียนรู้ไปพร้อม ๆ กับการทำงานในชีวิตประจำวัน เช่น นาย ก. สำเร็จวิชา วิศวกรรมจากมหาวิทยาลัย และได้ทำงานในบริษัทแห่งหนึ่ง การฝึกอบรมของเขาก็คือ เขาได้รับคำแนะนำให้อ่านเอกสารจำนวนหนึ่งเกี่ยวกับลักษณะงานของบริษัทและงานที่เขาต้องทำ หัวหน้าของเขา สรุปว่า เขาจะสามารถเรียนรู้งานของเขาได้โดยการอ่าน เอกสารเหล่านี้

โปรแกรมการฝึกอบรมพร้อม ๆ กับการทำงานควรจะจัดอย่างไร หน้าที่รับผิดชอบเบื้องต้นตกกับหัวหน้าแผนกแต่ละแผนก ถ้าหัวหน้าแผนกเข้าใจหลักการและวิธีการของการฝึกอบรม และถ้าเขามีความสนใจต่อการฝึกอบรมถูกต้องสำหรับพนักงานใหม่ โอกาสที่การฝึกอบรมจะประสบผลสำเร็จก็มีอยู่มาก

การฝึกอบรมพร้อม ๆ กับการทำงานจะมีความเหมาะสมมากที่สุดในการสอนความรู้และทักษะที่จะต้องเรียนในเวลาสั้น ๆ พนักงานคนหนึ่งหรือหลาย คนต้องการเรียนรู้ในงานชนิดเดียวกันในเวลาเดียวกัน ถ้าหากต้องการให้พนักงานรู้ทฤษฎีที่ลึกลงใป ก็จำเป็นต้องไปเรียนกันในชั้นเรียน การฝึกอบรมพร้อม ๆ กับการทำงานจะเป็นประโยชน์ต่อการเรียนรู้งานที่ต้องใช้มือ สำหรับ ผู้ที่ไม่มีทักษะ (Unskilled) และกึ่งทักษะ (Semiskilled) งานธุรการ และงานขาย

ประโยชน์ของการฝึกอบรมพร้อม ๆ กับการทำงานก็คือ ผู้รับการฝึกหัดสามารถเรียนรู้จากเครื่องมือจริง ๆ และในสิ่งแวดล้อมของการทำงาน

ผลเสียของการฝึกอบรมพร้อม ๆ กับการทำงานก็คือ การสอนมักจะไม่มีการจัดรูปแบบ ผู้เรียนต้องทนต่อเสียงรบกวน ในโรงงานหรือสำนักงาน

2. ทดลองทำในห้องทดลอง

การทดลองในห้องทดลองจัดขึ้นสำหรับพนักงานฝ่ายผลิตและฝ่ายธุรการ เป็นประเภทที่มีทักษะบ้างแล้ว วิธีนี้เหมาะสำหรับการฝึกอบรมคนจำนวนมากในเวลาเดียวกันในงานชนิดเดียวกัน การฝึกอบรมจะเน้นการเรียนรู้มากกว่าการผลิต

ในการฝึกอบรมประเภทนี้ จะใช้วิธีจำลองจากของจริงให้มากที่สุดเท่าที่จะมากได้ การสอนทฤษฎีโดยวิธีการฝึกอบรมแบบดังกล่าวจะทำได้ง่ายกว่าการฝึกอบรมพร้อม ๆ กับการทำงาน สภาพของการเรียนรู้จะถูกควบคุมอย่างระมัดระวัง

3. วิธีสอนในชั้นเรียน

การสอนในชั้นเรียนจะเป็นประโยชน์มากที่สุดเมื่อ เราต้องการให้ผู้เรียนมีความรู้ในด้านปรัชญา แนวความคิด เจตคติ ทฤษฎี และความสามารถในการแก้ปัญหา มีลักษณะของงานหลายชนิดที่สามารถเรียนรู้ได้อย่างดีในชั้นเรียนมากกว่าวิธีเรียนโดยการฝึกอบรมไปพร้อม ๆ กับการทำงาน วิธีที่สำคัญ ๆ ของการเรียนในชั้นเรียนมีดังนี้คือ

3.1 การบรรยาย วิธีสอนที่ใช้กันมากในวิทยาลัย และมหาวิทยาลัยก็คือ การบรรยายเป็นวิธีที่ผู้บรรยายพูดให้นักศึกษากลุ่มหนึ่งฟัง ปกติผู้บรรยายจะเป็นผู้ที่มีความรู้ในวิชาที่ตนเองบรรยาย เขาจะสื่อความหมายความคิดให้ผู้เรียน มีความสนใจและจดจำในสิ่งที่เขาบอกนักศึกษามักจะจดบันทึกในสิ่งที่ผู้บรรยายได้พูด ข้อดีของการบรรยายก็คือ สามารถใช้สอนผู้เรียนเป็นจำนวนมากได้ ค่าใช้จ่ายต่อตัวของผู้เรียนซึ่งต่ำ แต่ข้อเสียของการบรรยายอาจมีมากกว่าข้อดี กล่าวคือ ผู้เรียนจะเป็นผู้รับฝ่ายเดียว เป็นวิธีที่ฝืนกฎการเรียนโดยการกระทำ เป็นการสื่อความหมายฝ่ายเดียว ไม่มีผลสะท้อนกลับจากผู้เรียน การสอนอาจจะเป็นที่น่าเบื่อหน่ายสำหรับผู้เรียนชั้นสูง และผู้เรียนที่เรียนช้าอาจจะเรียนไม่ทัน การสอนส่วนใหญ่จะเน้นข้อเท็จจริงและตัวเลข ผู้เรียน อาจจะไม่สามารถนำความรู้ไปใช้ได้เพราะผู้เรียนคงไม่มีความสนใจ ตลอดเวลาของการบรรยาย

การบรรยายให้ประโยชน์อีกอย่างหนึ่งคือ การใช้รวมกับเทคนิคอื่น ๆ ผู้บรรยายอาจบอกข้อมูลใหม่ ๆ ให้กับกลุ่มผู้เรียน กำหนดหนังสือให้ผู้เรียนไปอ่าน

3.2 การประชุมสัมมนา การประชุมสัมมนาเป็นการประชุมของกลุ่มคนขนาดเล็ก โดยที่หัวหน้ามีความต้องการพัฒนาความรู้และความเข้าใจโดยการให้มีการพบปะพูดคุยกันจากฝ่ายผู้เรียน การประชุมสัมมนาจะสามารถกำจัดจุดอ่อนบางอย่างของการบรรยาย เพราะผู้เรียนจะมีบทบาทอย่างแข็งขันในการฝึกอบรมแบบนี้ ความสำเร็จของการประชุมสัมมนาขึ้นอยู่กับการแสดงออกของผู้เรียนแต่ละคนจะเรียนรู้จากกันและกัน

การประชุมสัมมนามีอยู่ 3 แบบคือ (l) การประชุม สัมมนาแบบชี้แนะ (The directed conference) (2) การประชุมสัมมนาแบบให้คำปรึกษา (The consultative conference) (3) การประชุมสัมมนาแบบแก้ปัญหา (The problem solving con­ference) การฝึกอบรมส่วนใหญ่แล้วจะนิยมวิธีการประชุมสัมมนาแบบชี้แนะ เพราะผู้สอนต้องการให้ผู้เรียนได้รับแนวความคิดบางอย่างของผู้สอนเป็นผู้ชี้แนะให้ผู้เรียนได้อภิปรายและรับแนวความคิดของเขาดังกล่าวแล้ว

ความสำเร็จของการประชุมสัมมนาแบบชี้แนะจะขึ้นอยู่กับการเข้ามีส่วนร่วมอย่างแข็งขันจากฝ่ายผู้เรียนจำนวนของผู้เข้าร่วม ควรอยู่ระหว่าง 15 ถึง 20 คน ผู้เรียนควรหันหน้าเข้าหากันรอบๆ โต๊ะประชุมสัมมนา ผู้เรียนจะต้องมีความรู้บ้างในหัวข้อที่จะอภิปรายกันในการประชุม ผู้สอนจะเสนอหัวข้อแล้วให้ผู้เรียนช่วยกันอภิปรายถึงความคิดเห็นที่สัมพันธ์กับหัวข้อ ผู้สอนจะต้องแน่ใจว่าผู้เรียนได้อภิปรายกันเกี่ยวกับหัวข้ออย่างทะลุปรุโปร่ง ปกติผู้สอนจะบันทึกความคิดเห็นของผู้เรียนลงบนกระดาน แล้วจะสรุปเป็นตอน ๆ ในระหว่างการอภิปราย

ส่วนการแก้ปัญหา วิธีที่เหมาะสมก็คือ วิธีการประชุมสัมมนาแบบให้คำปรึกษาและวิธีประชุมแบบการแก้ปัญหา

3.3 การเล่นบทบาทสมมุติ การเล่นบทบาท สมบุติเป็นเทคนิคอย่างหนึ่งที่ควรใช้รวมกับวิธีสอนวิธีอื่น ๆ เช่นวิธีบรรยาย หรือวิธีประชุมสัมมนา เดิมทีวิธีนี้ได้รับการพัฒนาจาก J.L.Moreno เพื่อใช้รักษาคนไข้โรคจิต แต่ต่อมาได้นำมาใช้ กับการฝึกอบรมด้านมนุษยสัมพันธ์และภาวะผู้นำเป็นการเปิดโอกาส ให้ผู้เรียนไดฝึกทักษะด้านมนุษยสัมพันธ์ โดยการปฏิบัติจริง ๆ และโดยการพัฒนาความหยั่งเห็น (Insight) ในพฤติกรรมของตัวเองและพฤติกรรมที่กระทบกระเทือนบุคคลอื่น ๆ

ในวิธีเล่นบทบาทสมมุติ ผู้เรียนสองคนหรือมากกว่า จะถูกกำหนดให้แสดงบทบาทสมมุติต่อหน้าชั้นเรียน ไม่มีการจดจำหรือซ้อมกันมาก่อน ผู้เรียนจะถูกกำหนดสถานการณ์ให้และจะได้รับการบอกกล่าวว่าเขาจะต้องพูดอะไรบ้าง ตลอดจนบทบาทของเขา หลังจากที่ได้ให้เวลาแก่ผู้แสดงบทบาทไปเตรียมการแสดงแล้ว ผู้แสดงบทบาทก็จะมาแสดงบทบาท ดังกล่าวต่อหน้า กลุ่มผู้เรียน

3.4 การสอนแบบโปรแกรม วิธีการฝึกอบรมแบบนี้ได้รับการพัฒนาในตอนช่วงปลายระหว่างปี 1950-1959 ทั้งในวงการศึกษาและวงการอุตสาหกรรม

ลักษณะสำคัญของการสอนแบบโปรแกรมคือ ( l) ผู้เรียนจะเรียนตามความสามารถของตน ( 2) ผู้สอนไม่ใช่ส่วนสำคัญของการเรียน (3) อุปกรณ์ที่จะใช้เรียนจะแตกต่างออกเป็นหน่วย (Unit) หรือขั้นตอนย่อย ๆ (4) แต่ละขั้นตอนจะจัดลำดับอย่างมีเหตุผล(5) ผู้เรียนจะได้รับทราบคำตอบในทันทีทันใดและ (6)ในแต่ละขั้นตอนของโปรแกรมผู้เรียนจะมีส่วนร่วมอย่างแข็งขัน

โปรแกรมบางประเภทจะถือเอาความแตกต่างระหว่าง พื้นเพเดิมของบุคคลเข้าพิจารณาด้วย ถ้าผู้เรียนไม่สามารถให้คำตอบที่ถูกต้องของคำถาม หรือชุดของคำถาม เขาจะได้รับบทเรียนใหม่ของโปรแกรมที่เน้นพื้นฐานที่เขาขาดไป

ทุกวันนี้ การสอนแบบโปรแกรมจะใช้สอนความรู้ในข้อเท็จจริง เช่น ในวิชาคณิตศาสตร์ ภาษาต่างประเทศ และงานประจำวัน แต่ไม่ใช้ในการพัฒนาแนวคิดทางปรัชญา เจตคติ หรือทักษะการแก้ปัญหาทางคลีนิค ค่าใช้จ่ายในการสร้างโปรแกรม แต่ละโปรแกรมจะสูงมาก

3.5 การสอนโดยอาศัยคอมพิวเฅอร์เข้าช่วย

การสอนโดยอาศัยคอมพิวเตอร์เข้าช่วยจะยึดพื้นฐานของการเรียนรู้ที่ใช้การสอนแบบโปรแกรมเป็นหลัก วิธีนี้จะใช้เพื่อให้ผู้เรียน ทำแบบฝึกหัดจากอุปกรณ์ที่ได้จัดโครงสร้างเป็นอย่างดีแล้ว เช่น วิชาหลักภาษา คณิตศาสตร์เบื้องต้น และการอ่าน อาจจะใช้รวมกับวิธีทางการศึกษาอื่น ๆ ในการพัฒนาทักษะการแก้ปัญหา การสอน โดยอาศัยคอมพิวเตอร์เข้าช่วยจะต้องเสียค่าใช้จ่ายสูงมาก ส่วนมากจะใช้สอนทักษะเบื้องต้นในโรงเรียนในวงการอุตสาหกรรม

4. วิธีอื่น ๆ

4.1 การสาธิต การสาธิดเปีนวิธีที่ผู้สอนจะลงมือทำให้ผู้เรียนเห็น เป็นขั้นตอนหนึ่งของการฝึกอบรม พร้อม ๆ กับการทำงาน ผู้สอนอาจจะสาธิตการทดลองเครื่องยนต์ให้ผู้เรียนดู อาจจะสอนวิธีขายสินค้าให้กับลูกค้า เป็นต้น

การสาธิตมักจะใช้รวมกับเทคนิคอื่น ๆ เช่น การบรรยาย การใช้รูปภาพ การใช้ตำรา และการอภิปราย การสาธิตจะมีประสิทธิผลมากในการใช้ฝึกอบรมทักษะ แต่จะมีประโยชน์น้อยในการฝึกอบรมบุคลากรระดับบริหาร เพราะการสาธิตจะเป็นวิธีทำให้เห็น ส่วนการสอนทฤษฎีและหลักการต้องใช้วิธีอื่น

4.2 การเรียนจากของจำลองและเกมส์ ของจำลอง หมายถึง เครื่องมือหรือเทคนิคใด ๆ ที่เลียนแบบใกล้เคียงของจริงที่สุด นักบินจะฝึกบินจากเครื่องบินจำลองก่อนที่จะเริ่มขับเครื่องบินจริงๆ ส่วนในด้านเกมส์เช่นเกมส์ทางธุรกิจ(Business games) ผู้เรียนจะเข้าร่วมเล่นเกมส์โดยฝึกการตัดสินใจทางธุรกิจ ในสถานการณ์ที่มีการแข่งขันกันในตลาด

ความสนใจและแรงจูงใจของผู้เรียนจะสูงโดยการเรียนจากวิธีดังกล่าว เพราะว่าการฝึกอบรมแบบนี้ใกล้เคียงกับของจริงมาก การจำลองจากของจริงมีประโยชน์มากในการฝึกอบรมพนักงาน