วิธีการสัมภาษณ์งานแบบต่างๆ

ก. การสัมภาษณ์ทางอ้อม (Non-directive Review) วิธีนี้ผู้ทำการสัมภาษณ์จะ

ระมัดระวังเป็นพิเศษที่จะไม่สร้างบรรยากาศให้ผู้ถูกสัมภาษณ์มีความประหม่าโดยเฉพาะการที่จะไม่ทักถึงข้อผิดหรือจะไม่ให้ข้อมูลในสิ่งที่ตัวเองได้ประเมินในใจ และจะส่งเสริมให้ผู้สมัครมีความสบายใจและมีอิสระที่จะพูดหรือเจรจาได้อย่างเสรี วิธีที่ใช้ทำการสัมภาษณ์มักจะดำเนินการโดยพยายามตั้งคำกามที่ง่ายอย่างกว้าง ๆ เช่น ให้เล่าถึงประสพการณ์งานที่เคยทำมาก่อนและอนุญาตให้ผู้ถูกสัมภาษณ์แสดงความเห็นได้เต็มที โดยพยายามไม่ขัดจังหวะ ซึ่งผู้ทำการสัมภาษณ์มักจะทำเพียงการเสริมด้วยคำพูดว่า “แล้วเป็นอย่างไรอีก” หรือถามว่า “สภาพโดยทั่วๆไปในขณะนั้นเป็นอย่างไร” เพื่อที่จะชักนำให้ผู้สมัครเล่าเรื่องต่าง ๆ ต่อกันไปเรื่อย ๆ โดยทั่วไปแล้ววิธีการสัมภาษณ์ที่ไม่ได้มีการชักนำ หรือสัมภาษณ์ทางอ้อมนี้ ความสำคัญจะอยู่ที่ผู้ทำการสัมภาษณ์ที่จะต้องระมัดระวัง และแสดงความตั้งใจที่จะรับฟังโดยไม่พยายามโต้แย้งหรือตั้งคำถามที่แหวกแนวหรือคัดง้าง และจะไม่ขัดจังหวะหรือเปลี่ยนเรื่องกระทันหัน หากแต่จะใช้วิธีการเจรจาอย่างสั้น ๆ และให้มีจังหวะหยุดพักที่เหมาะสมในระหว่างสนทนากัน ซึ่งการปฏิบัติตัวของผู้ทำการสัมภาษณ์ที่จะเสริมสร้างให้ผู้ถูกสัมภาษณ์มีความคล่องตัวและสบายใจดังกล่าวนี้จะมิใช่วิธีที่ง่ายนักที่ผู้ทำการสัมภาษณ์ใหม่ ๆ จะทำได้

ในการใช้วิธีสัมภาษณ์โดยไม่มีการชักนำนี้ ข้อดีก็คือ จะเปิดโอกาสให้มีการสนทนากันได้มาก โดยเฉพาะในบางประเด็นที่ผู้สมัครต้องการจะพูดเป็นพิเศษ ซึ่งนับว่าเป็นคุณค่าที่จะให้ผู้ทำการสัมภาษณ์ได้สังเกตโดยเข้าใจเกี่ยวกับข้อมูลต่าง ๆ ตลอดจนทัศนคติหรือความรู้สึกได้ดีกว่ากรณีซึ่งใช้วิธีรวบรัดแบบให้ผู้ตอบตอบอย่างสั้น ๆ แต่อย่างไรก็ตามถ้าหากผู้ทำการสัมภาษณ์เลือกที่จะใช้วิธีการสัมภาษณ์โดยไม่มีการชักนำนี้ ถ้าหากผู้ทำการสัมภาษณ์มิได้ตั้งเป้าหมายที่ต้องการจะตรวจสอบแล้ว ประโยชน์ก็จะมีได้น้อยเช่นกัน

ข. การสมภาษณ์แบบลึก (Depth Interview) การสัมภาษณ์แบบลึกนี้เป็นการสัมภาษณ์ที่ยากกว่าวิธีการสัมภาษณ์แบบไม่ได้มีการชักนำ ซึ่งการดำเนินการสัมภาษณ์ตามแบบวิธีนี้จะต้องมีการจัดเตรียมโครงเรื่องในรูปของคำถาม ที่จะให้ครอบคลุมกึงประเด็นต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับเรื่องราวของผู้สมัครโดยเฉพาะในแง่ของการว่าจ้าง ตัวอย่างของคำถามมักจะต้องครอบคลุมเกี่ยวกับเรื่องงาน, การศึกษา, การสัมพันธ์กับสังคม, พื้นฐานทางเศรษฐกิจ ตลอดจนลักษณะบุคลิกภาพต่าง ๆ ที่จะถามลึก ให้ผู้สมัครตอบอย่างเฉพาะเจาะจง  ซึ่งจะเอื้ออำนวยให้ผู้สมัครงานตอบเป็นลำดับอย่างครบถ้วนทุกเรื่อง กรณีของการใช้วิธีการสัมภาษณ์แบบนี้ สิ่งจำเป็นอย่างหนึ่งก็คือ การสร้างบรรยากาศส่งเสริมให้มีการตอบแต่ละคำถามละเอียดลึกลงไปเพื่อที่จะให้ผู้ทำการสัมภาษณ์มีโอกาสที่จะได้ข้อมูลพอเพียงที่จะนำมาใช้ประเมิน โดยทั่วไปแล้วการสัมภาษณ์ โดยถามแบบลึกนี้ มักจะมีการเตรียมแบบฟอร์มที่จะใช้ในการประเมินเพื่อเป็นแนวทางสำหรับผู้ทำการสัมภาษณ์ที่จะประเมินในด้านต่าง ๆ 6 ด้านด้วยกันดังตัวอย่าง

–        ช่วยอธิบายให้ทราบประวัติการทำงานของคุณว่า ได้เข้าไปทำงานนั้นได้อย่างไร? ด้วยวิธีไหน? และได้เข้าไปทำงานชนิดไหน และเหตุใดท่านจึงลาออก?

–        ท่านถือว่าในการทำงานนั้น อะไรเป็นเรื่องสำคัญที่สุด? และอะไรบ้างที่ท่านถือว่าไม่สำคัญ?

–        ในสมัยที่ศึกษาอยู่นั้น มีอะไรบ้างที่ท่านถือว่าเป็นประสพการณ์ที่สำคัญ และมีความหมายต่อท่านมากที่สุด

–        ท่านคิดว่าท่านมีจุดเด่นในแง่ใดบ้าง?

–        ในอีก 10 ปีข้างหน้าจากนี้ไป ถ้าหากให้ท่านเลือก ท่านจะเลือกไปอยู่ตำแหน่งไหน?

–        ท่านคิดว่าเราควรจะจ้างคุณหรือไม่?

ภาพที่ 9.1 ตัวอย่างคำถามแบบ Depth Interview,Source: Dept Interview Pattern,by Martin M. Bruce Copyright 1956, Judd-Safian Associates, New York.

ค. การสัมภาษณ์อย่างมีแบบแผน (Patterned Interview) การสัมภาษณ์ที่มีการ

จัดเตรียมเค้าโครงเรื่องสมบูรณ์ที่สุด ก็คือการสัมภาษณ์โดยมีระเบียบแบบแผน ซึ่งวิธีการจะกระทำ โดยพยายามที่จะดำเนินการสอบสัมภาษณ์อย่างใกล้ชิด ตามรายละเอียดของคำถามซึ่งได้มีการออกแบบ หรือจัดเตรียมเป็นพิเศษ  ซึ่งหัวข้อสำคัญจะมีการถามเป็นลำดับ คือ ถามเป็นข้อ ๆ เพื่อให้ผู้สัมภาษณ์ตอบชัดแต่ละข้อจนสิ้นสุดและจะมีช่องว่างส่วนที่เหลือที่เป็นข้อความ หรือคำถามที่มิได้มีไว้ใช้เพื่อถามผู้สมัครงาน หากแต่จะมีการออกแบบเพื่อจะช่วยผู้ทำการสัมภาษณ์ ที่จะให้ได้ข้อมูลครบถ้วนมากที่สุด หรือเพื่อที่จะช่วยให้มีการตีความความสำคัญพร้อมกันไป และให้ มีการระมัดระวังที่สามารถตรวจสอบความไม่ถูกต้องได้ด้วย หลังจากนั้นด้วยแบบฟอร์มดังกล่าวนี้ก็ จะมีการประมวลหรือนำไปพิจารณาโดยจะสรุปผลใน “ใบสรุปผลการสัมภาษณ์” ในรูปที่จะให้ได้ ข้อมูลที่จำเป็นที่ได้มาจากผู้สอบสัมภาษณ์จากการทำการสัมภาษณ์ดังกล่าว และนำมารวมประกอบพิจารณาควบคู่กันกับแบบฟอร์มใบสมัคร, ผลการทดสอบหรือกฺารตรวจสอบทางโทรศัพท์ รวมทั้ง แหล่งข้อมูลที่เกี่ยวกับตัวผู้สมัครเพื่อที่จะได้มีการพิจารณาร่วมกัน แบบฟอร์มสรุปผลมีวัตถุประสงค์ เพื่อที่จะนำมาใช้ในการวัดค่าเกี่ยวกับตัวผู้สมัครว่า มีความสามารถพร้อมเพียงใด และเพื่อที่จะเอามาประมวลค่าคะแนนเพื่อที่จะดูคะแนนรวมทั้งหมด วิธีการสัมภาษณ์แบบนี้ให้ผลดีค่อนข้างมาก แต่จำเป็นต้องมีการฝึกฝนอบรมผู้สัมภาษณ์เพื่อให้เกิดความเข้าใจ และรวมตลอดถึงต้องมีการกำหนดบรรทัดฐานของระเบียบวิธีปฏิบัติต่าง ๆ ด้วย ทั้งนี้ก็เพื่อที่จะให้รายงานที่ออกมามีความเชื่อถือได้มาก ที่สุด

ง. การใช้วิธีการสัมภาษณ์แบบพิเศษ ส่วนใหญ่แล้วการสัมภาษณ์มักจะเป็นวิธีตามที่ได้กล่าวมา แต่อย่างไรก็ตามก็ยังมีวิธีอื่นอีก เช่น ที่สำคัญก็คือ การทำการสัมภาษณ์ผู้สมัคร เป็นกลุ่ม (group interview) โดยให้ผู้สมัครเข้ามาสัมภาษณ์พร้อมกันหลาย คน วิธีนี้เป็นที่นิยมใช้เช่นเดียวกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การใช้เพื่อการสัมภาษณ์รับพนักงานระดับผู้บริหาร วิธีการมักจะกระทำโดยนำเอาผู้สมัครเข้ามาพร้อม ๆ กันหลาย ๆ คน และสนทนากันเป็นกลุ่มพร้อมกัน วิธีการสัมภาษณ์ดังกล่าวนี้ ผู้บริหารของบริษัทก็จะดำเนินการสังเกตการณ์และประเมินผู้สมัครโดยพยายาม นั่งฟังอยู่นอกวง และดำเนินการประเมินผลความเป็นไปของการสนทนาซึ่งในกลุ่มดังกล่าว การสนทนาจะไม่มีใครเป็นเจ้าของเรื่องหรือเป็นผู้นำในการสนทนา วิธีนี้ได้มีการทดลองในที่หลายแห่งพบว่า มีความสำเร็จเป็นอย่างมากที่จะช่วยประหยัดเวลา โดยปกติวิธีนี้มักจะเป็นวิธีที่ให้ประโยชน์เพิ่มเติมที่จะสามารถช่วยในการค้นหาปัจจัยสำคัญ เช่น ความคิดริเริ่ม หรือลักษณะที่เอางานเอาการ หรือความสามารถในการปรับตัวกับสภาพแวดล้อมใหม่ ๆ ตลอดจนความมีศิลปะในการแก้ปัญหา (Tact) รวม ตลอดถึงการสามารถเข้าได้กับคนอื่น ๆ เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีอีกวิธีหนึ่งที่เรียกว่า วิธีการสัมภาษณ์โดยคณะกรรมการ (board interview) ซึ่งหมายถึงการดำเนินการสัมภาษณ์โดยมีผู้ทำการสัมภาษณ์หลาย ๆ คน ซึ่งจะนั่งกันเป็นกลุ่มกรรมการ และดำเนินการสัมภาษณ์ผู้สมัครทีละคน

อีกวิธีหนึ่งที่เคยนำมาใช้ในทางทหารก็คือ การสัมภาษณ์โดยมีความกดดัน (Stress Inter­view) โดยพยายามทำการสัมภาษณ์โดยให้ผู้สมัครต้องอยู่ในภาวะที่มีแรงกดดัน และมักจะมีการตั้งคำถามอย่างรวดเร็วโดยผู้สัมภาษณ์หลาย ๆ คน และมักจะมีการดีหน้ายักษ์ที่จะไม่แสดงความเป็นมิตร ซึ่งนับว่าเป็นวิธีที่ดีสำหรับการคัดเลือกบุคคลที่จำเป็นจะต้องมีความเข้มแข็งอดทน วิธีนี้ข้อมูลที่ได้มา อาจจะไม่สามารถตรวจสอบเรื่องประสิทธิภาพและความสามารถอื่น ๆ ก็ได้

การใช้เทคนิควิธีการสัมภาษณ์นี้ ในขณะที่สามารถนำมาใช้เป็นเครื่องมือที่เป็นประโยชน์ในการคัดเลือกก็ตาม แต่ก็ได้มีข้อโต้แย้งเป็นอย่างมาก เมื่อเทียบกับวิการคัดเลือกอื่น ๆ เช่น วิธีการทดสอบทางจิตวิทยา ซึ่งสามารถพิสูจน์และหาวิธีวัดได้ถูกต้องมากกว่า