ท่านจะทำอะไรกับสิ่งที่ท่านได้เรียนรู้

เราได้ดำเนินมาด้วยกันเป็นระยะทางยาวพอสมควร ตั้งแต่เราได้เริ่มด้วยการจัดขั้นตอนตามปรัชญาในการบริหารงานเชิงประสานสัมพันธ์ และแล้วก็ได้แนะนำท่านให้ทราบถึงวิธีการต่าง ๆ ในการวิเคราะห์ การทำความเข้าใจ และนำมาสัมพันธ์กับวิถีของบุคลิกภาพที่แตกต่างกัน เราได้พิจารณาอย่างใกล้ชิดในวิถีทางต่าง ๆ กันที่มนุษย์เลือกที่จะเรียนรู้ และเราได้ให้ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับสิ่งที่ท่านสามารถกระทำได้ เพื่อทำให้ง่ายต่อการดำเนินกระบวนการนั้น เราได้เรียนรู้วิธีกำหนดวิถีแสดงพฤติกรรมที่ต่าง ๆ กัน และจะทำอย่างไรจึงจะข้องเกี่ยวกับแต่ละวิถีได้อย่างมีประสิทธิภาพ และได้ผลผลิต นอกจากนี้เราได้ค้นพบทฤษฎีที่จะใช้ประเมินวิถีการตัดสินใจของแต่ละบุคคล และวิธีใช้ความรู้เกี่ยวกับเรื่องนี้ในกระบวนการแก้ปัญหาที่สุด ได้มีการแนะนำให้รู้จักวิธีวิเคราะห์จัดการ (Transactional Analysis) เพื่อให้กลวิธีนี้มีประสิทธิภาพ และง่ายในการแก้ไขปรับปรุงความเข้าใจ ของท่านให้ทราบ ทำไม และอย่างไร ที่มนุษย์มีการติดต่อสัมพันธ์กันและกัน ด้วยวิธีที่ใช้อยู่

หลังจากได้ครอบคลุมสาระต่าง ๆ ที่กล่าวมาแล้ว เราได้เคลื่อนเข้าสู่ ทักษะของการสื่อสารเชิงประสานสัมพันธ์ ได้กล่าวถึงยุทธศาสตร์และเทคนิคการตั้งคำถามที่หลากหลาย เพื่อให้ท่านมีสมรรถภาพที่กว้างลึกยิ่งขึ้น ในการเปิดเผยปัญหา และความต้องการของพนักงาน ได้มีการเน้นยํ้าวิธีฟังไว้ เพื่อให้ทานสามารถในการรับรู้ไวขึ้นในเชิงความรู้สึก มีการตั้งใจฟังเพิ่มขึ้น และสามารถโต้ตอบกับบุคคลอื่นได้ดีขึ้นเมื่ออยู่ในกระบวนการสื่อสาร ได้มีการกล่าวถึงการสื่อสารด้วยอวาจาทุกรูปแบบ เพื่อให้ท่านเกิดความรู้สึกไวและลึกซึ้งต่อสิ่งที่บุคคลอื่นกำลังสื่อสารด้วยจริง ๆ และให้รู้ซึ้งถึงความรู้สึกจริง ๆ ของบุคคลเหล่านั้นในด้านนี้ เราได้ครอบคลุมถึง หัวข้อของภาพพจน์ ระดับเสียง ภาษาร่างกาย การสื่อสารด้วยเวลา และการลื่อสารจากสถานที่ และสุดท้ายที่อยู่ในภาคการสื่อสารได้กล่าวถึง เรื่องสำคัญของการป้อนกลับ (Feed Back) เรื่องการป้อนกลับนี้ได้มีการเน้นย้ำมาก เพื่อให้ท่านใช้พิสูจน์ว่าตัวท่านเองเข้าใจตรงกับที่บุคคลอื่นต้องการสื่อสารกับท่าน และเพื่อให้บุคคลเหล่านั้นเข้าใจตรงประเด็นกับสิ่งที่ท่านกำลังสื่อสารให้เขารับทราบ

สุดท้าย ได้กล่าวถึงกระบวนการสำคัญ ๆ ของการบริหารเชิงประสานสัมพันธ์ และกล่าวถึงกระบวนการเหล่านั้น ในส่วนที่สัมพันธ์กับกระบวนการแก้ปัญหา ในแต่ละขั้นของการบริหาร เชิงประสานสัมพันธ์ได้กล่าวไว้อย่างละเอียด และหลาย ๆ แนวความคิด ได้นำมาอภิปรายอย่างเอาจริงเอาจัง ในแง่ของการใช้ ให้ได้ประสิทธิผลในช่วงที่ดำเนินการไปตามกระบวนการต่าง ๆ ทั้ง ๔ กระบวนการ

ท่านจะไปที่ใด ย่อมขึ้นอยู่กับตัวท่านเองทั้งหมด ท่านได้รับการเสนอแนะให้ทราบถึงประสบการณ์ใหม่ ๆ และได้มองเห็นทางใหม่ที่จะมองที่จะวิเคราะห์ และจัดการกับกระบวนการบริหาร คนเรานั้นโดยทั่วไป มักมีวิธีสนองตอบต่อประสบการณ์ใหม่ ด้วยวิธีหนึ่งวิธีใดใน ๕ วิธีด้วยกันวิธีแรก บุคคลอาจจะใช้วิธีบูรณาการประสบการณ์ใหม่และประสบการณ์เก่า เข้าด้วยกัน เพราะประสบการณ์ใหม่ถูกมองในลักษณะชื่นชมและเข้ากันได้ วิธีที่สอง ประสบการณ์ใหม่อาจจะถูกปฏิเสธทั้งหมด เพราะถูกมองว่า บีบคั้นกันมากเกินไป วิธีที่สาม ท่านสามารถแยกประสบการณ์ใหม่ออกจากสิ่งที่ท่านเคยชินในปัจจุบันและสามารถมองว่าประสบการณ์นี้ เป็นสิ่งที่ยกเว้นอยู่นอกกฎ การคิดเช่นนี้ช่วยให้บุคคลย้งคงดำเนินการปฏิบัติตามและมีความคิดเหมือนกับที่ตนเคยคิดอยู่เดิม ๆ วิธีที่สี่ บุคคลอาจจะบิดเบือนประสบการณ์ใหม่เพื่อทำให้ “เหมาะสม” กับประสบการณ์ ในอดีตของตน วิธีที่ห้า บุคคลอาจจะมองประสบการณ์ว่าเป็นความจริงใหม่ และเปลี่ยนวิธีการคิดและวิธีปฏิบัติแบบเก่า ๆ ของตน เพื่อจัดตนเองให้เข้ากับสภาพของความเป็นจริงที่ขยายใหม่และที่ตนมองเห็นใหม่ ๆ

สิ่งที่สร้างสรรค์และได้ประสิทธิผลที่สุด คือ คำตอบที่อยู่ในวิธีสุดท้าย จากที่ระบุไว้ทั้ง ๕ คำตอบ โดยอาศัยการแสดงปฏิกิริยาที่เป็นไปในทาง เดียวกันกับที่ระบุไว้ในคำตอบที่ ๕ นี้ ท่านย่อมสามารถเปลี่ยนพฤติกรรมไปในทางบวกได้ ท่านมิได้เพียงแต่ให้การยอมรับทุกอย่างในสิ่งที่ท่านได้อ่านมาทั้งหมดแน่นอน แทนที่จะเป็นเช่นนี้ ท่านจะเลือกเอาสิ่งที่มีความหมาย เฉพาะต่อตัวท่าน และนำมาตัดแต่งใหม่ให้เข้ากับ ‘‘สภาพความจริง” ที่เป็นปัจจุบันในขณะนั้น ๆ ของท่าน ไม่มีอะไรที่ท่านได้อ่านพบ มีลักษณะหล่อหลอมในเชิงรูปธรรม สิ่งที่เสนอไว้ย่อมใช้การได้ อาจจะเป็นบางส่วน หรือทั้งหมด ส่วนที่ท่านเลือกใช้และวิธีที่ใช้ย่อมแสดง ถึงประสิทธิภาพส่วนตัวของท่านในการบริหารงาน ทั้งที่เป็นอยู่ปัจจุบัน และตลอดจนถึงในอนาคต

การปฏิบัติตามปรัชญา การบริหารเชิงประสานสัมพันธ์ และปฏิบัติในกระบวนการทั้งหมดในทันที แม้กระนั้นก็คงจะไม่ใช่เรื่องง่ายนัก เพราะจะต้องใช้การทดลองปฏิบัติวิธีแรก บุคคลอาจจะใช้วิธีบูรณาการประสบการณ์ใหม่และประสบการณ์เก่า เข้าด้วยกัน เพราะประสบการณ์ใหม่ถูกมองในลักษณะชื่นชมและเข้ากันได้ วิธีที่สองประสบการณ์ใหม่อาจจะถูกปฏิเสธทั้งหมด เพราะถูกมอง ว่าบีบคั้นกันมากเกินไป วิธีที่สาม ท่านสามารถแยกประสบการณ์ใหม่ ออกจากสิ่งที่ท่านเคยชินในปัจจุบันและสามารถมองว่าประสบการณ์นี้ เป็นสิ่งที่ยกเว้นอยู่นอกกฎ การคิดเช่นนี้ช่วยให้บุคคลยังคงดำเนินการปฏิบัติตามและมีความคิดเหมือนกับที่ตนเคยคิดอยู่เดิม ๆ วิธีที่สี่ บุคคลอาจ จะบิดเบือนประสบการณ์ใหม่เพื่อทำให้ “เหมาะสม” กับประสบการณ์ ในอดีตของตน วิธีที่ห้า บุคคลอาจจะมองประสบการณ์ว่าเป็นความจริงใหม่ และเปลี่ยนวิธีการคิดและวิธีปฏิบัติแบบเก่า ๆ ของตน เพื่อจัดตนเองให้เข้ากับสภาพของความเป็นจริงที่ขยายใหม่และที่ตนมองเห็นใหม่ ๆ

สิ่งที่สร้างสรรค์และได้ประสิทธิผลที่สุด คือ คำตอบที่อยู่ในวิธีสุดท้าย จากที่ระบุไว้ทั้ง ๕ คำตอบ โดยอาศัยการแสดงปฏิกิริยาที่เป็นไปในทาง เดียวกันกับที่ระบุไว้ในคำตอบที่ ๕ นี้ ท่านย่อมสามารถเปลี่ยนพฤติกรรม ไปในทางบวกได้ ท่านมิได้เพียงแต่ให้การยอมรับทุกอย่างในสิ่งที่ท่านได้อ่านมาทั้งหมดแน่นอน แทนที่จะเป็นเช่นนี้ ท่านจะเลือกเอาสิ่งที่มีความหมาย เฉพาะต่อตัวท่าน และนำมาตัดแต่งใหม่ให้เข้ากับ ‘‘สภาพความจริง” ที่เป็นปัจจุบันในขณะนั้น ๆ ของท่าน สิ่งที่เสนอไว้ย่อมใช้การได้ อาจจะเป็นบางส่วน หรือทั้งหมด ส่วนที่ท่านเลือกใช้และวิธีที่ใช้ย่อมแสดงถึงประสิทธิภาพส่วนตัวของท่านในการบริหารงาน ทั้งที่เป็นอยู่ปัจจุบัน และตลอดจนถึงในอนาคต

เราจะได้รับความพอใจเป็นอย่างยิ่ง ถ้าทราบว่าหลังจากที่ท่านได้อ่านแล้ว ท่านเดินออกไปแล้วเริ่มปฏิบัติตามปรัชญา การบริหารเชิงประสานสัมพันธ์ และปฏิบัติในกระบวนการทั้งหมดในทันที แม้กระนั้น ก็คงจะไม่ใช่เรื่องง่ายนัก เพราะจะต้องใช้การทดลองปฏิบัติได้ข้อผิดพลาดบางอย่างและปฏิบัติเพิ่มขึ้นอีก เพื่อจะได้นำไปจนถึงขั้นการดำเนินการบริหารงานตามลักษณะวิธีประสานสัมพันธ์ด้วยความสำเร็จในที่สุด ท่านยังจำเหตุการณ์ย้อนหลังไปถึงวันแรก ๆ ที่ท่านเริ่มเรียนหัดขับรถหรือไม่ ก่อนที่ท่านจะเรียนรู้ว่าจะขับได้อย่างไร ท่านตกอยู่ในสภาพ ที่เราเรียกว่า รู้ตัวว่าทำไม่ได้ นั่นก็คือท่านไม่ได้รู้มาก่อนว่าจะขับรถอย่างไร และท่านก็ยังไม่รู้เสียด้วยว่า ทำไมท่านจึงไม่รู้ว่าจะขับรถอย่างไร เมื่อท่านได้ออกไปนอกบ้านเป็นครั้งแรกกับพ่อแม่ของท่าน กับเพื่อนหรือกับครู เพื่อเรียนรู้ว่าจะขับรถได้อย่างไรจริง ๆ นั่นแหละ ท่านจึงจะรู้ตัวเองดีว่า ท่านไม่มีความสามารถ ท่านจะยังคงขับรถไม่ได้ แต่เพราะท่านเพิ่งได้สำนึกใหม่เกี่ยวกับเครื่องยนต์และชิ้นส่วนต่าง ๆ ของรถ ท่านเริ่มรู้ตนเองดีว่า ทำไมท่านจึงขับมันไม่ได้ จากจุดนี้ อย่างน้อยท่านก็รู้สำนึกเกี่ยวกับสิ่งที่ท่านต้องกระทำ เพื่อให้ได้มาซึ่งความสามารถในการขับรถ

ด้วยการฝึกปฏิบัติและคำแนะนำเพิ่มเติมบ้าง ท่านย่อมสามารถกลายเป็นคนเก่งในการขับรถได้ อย่างไรก็ตามท่านต้องรู้ตัวดีก่อนเกี่ยวกับสิ่งที่ท่านกำลังปฏิบัติเกี่ยวกับเครื่องยนต์กลไกของรถทุกส่วนเท่า ๆ กับต้องรู้กลไกในร่างกายท่านด้วย ท่านจะต้องรู้ตัวได้อย่างดีที่จะเปิดสัญญาณไฟกะพริบได้ดีก่อนที่ท่านจะเลี้ยวรถ ท่านต้องจำที่จะดูสัญญาณจราจรที่อยู่ข้างหลังของท่านในกระจกที่มองย้อนดูข้างหลังรถ ท่านเอามือทั้งสองวางอยู่บนพวงมาลัย และจัดให้รถของท่านอยู่ในท่าที่ตรงตามเส้นแบ่งเขต ทางเดินรถบนถนน ท่านย่อมรู้ตนดีในเรื่องต่าง ๆ เหล่านี้ ในขณะที่ท่าน ขับรถได้ “อย่างมีความสามารถ’’

จงคิดถึงครั้งสุดท้ายที่ท่านขับรถ ท่านได้สำนึกอยู่ตลอดเวลาในเรื่องต่าง ๆ ที่เพิ่งได้อภิปรายมาแล้วหรือไม่ คงไม่แน่ ๆ พวกเราส่วนใหญ่ หลังจากที่ได้ขับรถมาบ้างแล้ว ก็จะเจริญก้าวหน้าขึ้นสู่ระดับที่มีสมรรถภาพ โดยไม่รู้ตัวเอง นี่เป็นระดับที่เราสามารถทำอะไรบางอย่างได้และอาจจะไม่ได้คิดถึงมันเสียด้วย มันเป็นไปโดยธรรมชาติ

ตัวอย่างที่ได้กล่าวมาแล้ว เป็นความจริงสำหรับเรื่องการใช้การบริหารเชิงประสานสัมพันธ์ด้วย ท่านจะต้องดำเนินผ่านกระบวนการทดสอบ สมรรถภาพ เพื่อจะได้ขึ้นถึงระดับที่สูงสุด คือระดับของสมรรถภาพที่ไม่รู้ตัว ตรงจุดนี้คือจุดที่ท่านสามารถบริหารผู้อื่นด้วยวิธีประสานสัมพันธ์ และบริหารแบบธรรมชาติและมีประสิทธิภาพ ถ้าท่านสามารถดำเนิน เข้าถึงระดับนั้น ท่านจะได้เห็นการเพิ่มผลผลิตในเชิงบริหารของท่าน และเพิ่มผลผลิตในด้านของพนักงานของท่าน เพิ่มความไว้วางใจและความนับถือจากพนักงาน และเพิ่มความเคารพในตนเองของแต่ละบุคคลด้วย อย่างไรก็ตามท่านต้องชดใช้ด้วยอะไรบางอย่าง ในการที่จะก้าวให้ถึงระดับสมรรถภาพที่ไม่ต้องคอยระวังตนในด้านการบริหารเชิงประสานสัมพันธ์ ซึ่งได้แก่ การฝึกปฏิบัติ ฝึกปฏิบัติ และฝึกปฏิบัติ

เมื่อท่านกำลังเรียนรู้วิธีขับรถยนต์ ท่านย่อมได้รับสมรรถภาพโดย ผ่านการฝึกปฏิบัติซึ่งเป็นเรื่องจริงด้วยสำหรับทักษะการบริหารเชิงประสาน สัมพันธ์ สำหรับพวกท่านบางคน การบริหารเชิงประสานสัมพันธ์ อาจจะ จำเป็นต้องมีความเปลี่ยนแปลงในพฤติกรรมจากทฤษฎีการบริหารงานเดิมที่ใช้อยู่ปัจจุบัน ถ้าเป็นกรณีเช่นนี้ก็จงหวังไว้ได้เลยว่า ในระยะแรกท่านจะพบกับความลดลงของผลผลิตในการบริหารงานของท่าน ซึ่งเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นได้อย่างปกติจากการเปลี่ยนในเชิงพฤติกรรม อย่างไรก็ตามหลังจากการยืนหยัดสู้และฝึกปฏิบัติ และในขณะที่ท่านใช้วิธีการดำเนินงานบริหาร เชิงประสานสัมพันธให้ได้ถึงระดับเป็นสมรรถภาพ ที่ไม่ต้องระวังตน ผลผลิตในเชิงบริหารงานของท่านย่อมจะเพิ่มขึ้นต่อจากระดับเดิม และจะเข้าสู่ช่วงใหม่และเป็นช่วงที่ได้ผลผลิตสูงจนเกิดการชะงักงันได้

การใช้กระบวนการแก้ปัญหาในระบบการบริหารเชิงประสานสัมพันธ์ เพื่อแก้ไขทักษะการบริหารเชิงประสานสัมพันธ์

ขณะนี้ ท่านคงตกลงใจที่จะยอมรับการท้าทายให้เป็นผู้บริหารเชิงประสานสัมพันธ์แล้ว ผลที่ได้แน่นอนย่อมจะมีค่าคุ้มแก่ความพยายามของท่าน ท่านคงต้องเผชิญกับการท้าทายนี้ตั้งแต่บัดนี้ ด้วยเรื่องมากมาย ที่ท่านต้องเรียนรู้เกี่ยวกับลักษณะบุคคลที่หลากหลายทักษะการสื่อสาร เชิงประสานสัมพันธ์ และขั้นต่าง ๆ ของกระบวนการแก้ปัญหาเชิงประสานสัมพันธ์ ท่านย่อมอยู่ในบทบาทที่น่าจะสับสน ไม่รู้ว่าจะเริ่มจากจุดใด ท่านจะสร้างแผนปฏิบัติการที่ได้ประสิทธิผลได้อย่างไร จึงจะสนองความต้องการของท่าน

เราขอแนะนำว่า ในขั้นแรกนี้ ท่านจงเริ่มใช้กระบวนการแก้ปัญหาเชิงประสานสัมพันธ์บางอย่าง กับสถานการณ์ของท่านเอง จงแน่ใจว่า ท่านได้ทำความเข้าใจอย่างชัดเจนในวัตถุประสงค์ของท่านที่จะเป็นผู้บริหารเชิงประสานสัมพันธ์ และต่อจากนั้นก็ประเมินสถานการณ์ปัจจุบันของท่าน ท่านสามารถปฏิบัติบทบาทของความยืดหยุ่นได้มากน้อยเพียงไร ท่านตั้ง คำถามได้ดีเพียงใด การฟัง การอ่านภาษาร่างกาย การให้และรับการป้อนกลับข้อมูล การสื่อความหมายของเวลาและสถานที่ได้ประสิทธิผล หรือไม่ ในขณะที่ท่านพิจารณาสถานการณ์ปัจจุบันของท่าน และเปรียบเทียบ กับวัตถุประสงค์ใหม่ของท่าน ที่จะเป็นผู้บริหารเชิงประสานสัมพันธ์ ท่านจะต้องกำหนดแหล่งของปัญหา ซึ่งจำเป็นต้องปฏิบัติการ อาจจะมีหลายแหล่งปัญหาที่ต้องดำเนินการ แต่จงใช้ความระมัดระวังที่จะเรียงลำดับความสำคัญของปัญหาตามความจำเป็นที่ปัญหานั้นต้องได้รับการเอาใจใส่ก่อนหลัง จงดำเนินการกับแหล่งปัญหาที่จำเป็นต้องได้รับความช่วยเหลือมากที่สุดก่อน และเมื่อท่านเกิดความชำนาญในปัญหาเหล่านี้แล้ว จงค่อยดำเนินต่อไปในปัญหาที่มีความสำคัญระดับตํ่าลงเรื่อย ๆ จงสร้างแผนปฏิบัติการที่เฉพาะเจาะจง เพื่อพิจารณาแก้ไขในแหล่งปัญหา ซึ่งจะช่วยท่านให้เป็นผู้บริหารเชิงประสานสัมพันธ์ตามที่ตนตั้งใจ จงเจาะจงกำหนด ในสิ่งที่ต้องกระทำเพื่อให้แผนปฏิบัติการสัมฤทธิผล จงจัดตารางลงมือ ปฏิบัติการ และสร้างภาวะผูกพันที่จะติดตามงานตามเวลาที่กำหนดไว้ จงตั้งเป้าหมายและสร้างเกณฑ์เพื่อความสำเร็จ จงพิจารณาตัดสินว่า จะวัดผลงานอย่างไร และเมื่อไร เพื่อแก้ไขปรับปรุงทักษะการบริหารงานเชิงประสานสัมพันธ์ จงรับฟังผลอย่างสมํ่าเสมอ และปฏิบัติการแก้ไข ในแหล่งที่จำเป็น ด้วยการใช้รูปแบบการแก้ปัญหาเชิงประสานสัมพันธ์ อย่างมีประสิทธิภาพ ท่านสามารถแก้ไขปรับปรุงทักษะได้แน่นอนและถูกต้องตามยุทธศาสตร์ในฐานะนักบริหารเชิงประสานสัมพันธ์

แผนปฏิบัติการใหม่ของท่าน อาจจะรวมถึงการให้ความช่วยเหลือในเชิงวิชาชีพต่อไป ในรูปของการจัดสัมมนา หนังสือ หรือเทป จงรับรู้ รายละเอียดเกี่ยวกับเครื่องมือการเรียนรู้อื่น ๆ ซึ่งจะช่วยท่านให้แก้ไข ปรับปรุงทักษะใดทักษะหนึ่งหรือทั้งหมด แผนปฏิบัติการของท่านอาจจะรวมถึงการทบทวนในรายละเอียดมากขึ้น ในส่วนที่เกี่ยวข้องกัน หากเหมาะสม

ไม่ว่าท่านจะมีเป้าหมาย และวัตถุประลงค์ใดก็ตาม จงแน่ใจที่จะต้องมีแผนปฏิบัติการพร้อมกับตารางกำหนดการลงมือปฏิบัติที่เฉพาะเจาะจง และมีวิธีในการติดตามผลที่ได้รับ หรือมิฉะนั้น ท่านอาจจะสาระวนอยู่กับความพยายามที่จะทำอะไรมากเกินไปในเวลาเดียวกัน และไม่ได้เจริญด้วยการเป็นที่ยอมรับในทักษะใดเฉพาะเลย ผลเช่นนี้จะนำไปสู่ความผิดหวัง ในตัวเองอย่างแน่นอน และอาจจะถึงขั้นตัดสินใจที่สำคัญที่จะตีจาก โปรแกรมการปรับปรุงตนเองตลอดไป

ทักษะการบริหารเชิงประสานสัมพันธ์ ถ้าใช้อย่างถูกต้องย่อมจะให้ โอกาสท่านได้ปฏิสัมพันธ์กับพนักงานผู้ใต้บังคับบัญชาของท่าน และแก้ไข ปัญหาอย่างเปิดเผยด้วยบรรยากาศที่ไว้วางใจกัน และช่วยเหลือกันอย่างสุจริตใจ พนักงานของท่านจะได้รับทางแก้ปัญหาที่ตรงต่อปัญหาที่ระบุไว้ ท่านจะได้รับการสนับสนุนจากพนักงาน ซึ่งจะเป็นบุคคลที่ยอมรับภาวะ ผูกพันอย่างเต็มใจ ในการแก้ไขปัญหาส่วนตัว ปัญหาเชิงวิชาชีพ และปัญหาขององค์กรทั้งหมด ผลผลิตสำหรับทุก ๆ คนที่เกี่ยวข้องในกระบวนการบริหารเชิงประสานสัมพันธ์ จะเพิ่มพูนขึ้นในจำนวนที่เหลือเชื่อจริง ๆ ท่านสมควรจะได้รับความรู้สึกเพิ่มเติมในด้านความภาคภูมิใจในลักษณะการบริหารงานแนวใหม่ที่ประสบความสำเร็จ ซึ่งได้แก่ ลักษณะการบริหารเชิงประสานสัมพันธ์

ท่านไม่จำเป็นต้องรอคอยอะไรอีก ท่านสามารถเริ่มต้นใช้ทักษะการ บริหารงานเชิงประลานสัมพันธ์ได้ทันทีในการทำงานประจำ ได้มีการปูทางไว้หมดแล้ว จากที่นี่ท่านจะดำเนินไปที่ใด