หลักจิตวิทยาพื้นฐานสำหรับการสัมภาษณ์

จากการค้นคว้าของนักวิชาการ ได้มีข้อแนะนำเกี่ยวกับหลักจิตวิทยาพื้นฐานที่จะให้การสัมภาษณ์เป็นไปโดยมีประโยชน์ถูกต้องมาก และได้ผลสมบูรณ์มากขึ้น ดังนี้

1.  การที่จะต้องส่งเสริมให้ผู้ถูกสัมภาษณ์ตอบปัญหา จะเห็นได้ว่าการที่ผู้ถูกสัมภาษณ์ จะกล้าตอบปัญหา หรือเปิดเผยข้อเท็จจริงเกี่ยวกับประสบการณ์งาน ตลอดจนเป้าหมายและทัศนคติ ของตนได้มากเพียงใดนั้น ย่อมขึ้นอยู่กับลักษณะบุคลิกและพฤติกรรมของผู้ทำการสัมภาษณ์เป็นสำคัญ ถ้าหากผู้ทำการสัมภาษณ์มีความเข้าใจเกี่ยวกับตัวเขาและยอมให้ผู้สมัครพูดหรือมีโอกาสพูดได้มากแล้ว ผู้สมัครก็จะพูดอย่างตรงไปตรงมาโดยไม่หวั่นกลัว เพราะฉะนั้นผู้ทำการสัมภาษณ์จึง ต้องมีจิตวิทยาในการแสดงความเป็นมิตรและความเป็นกันเองและจะต้องพยายามเข้าใจเกี่ยวกับตั ผู้สมัคร โดยต้องพยายามละเว้นการวิพากษ์วิจารณ์ทั้งโดยทางตรง หรือการแสดงออกในทางอาการ อื่นๆ เกี่ยวกับสิ่งที่ผู้สมัครกำลังพูด โดยปกติแล้วผู้สมัครงานมักจะมีกำลังใจที่จะพูดอย่างเสรีและเต็มที่ ถ้าหากเขามีความพอใจเกี่ยวกับตัวผู้สัมภาษณ์และวิธีการดำเนินการสัมภาษณ์ และโดยเฉพาะอย่างยิ่ง ถ้าหากได้มีการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างกันในเวลาอันสั้นอย่างได้ผลแล้ว การแสดงออกก็ จะเป็นไปโดยไม่มีการสงวนความลับเกี่ยวกับข้อมูลที่เป็นทัศนะจากตัวผู้สมัครเอง ข้อแนะนำประการนี้นับว่ามีความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง เพราะโดยปกติแล้ว เรามักจะเห็นได้ว่าเป็นธรรมชาติของคนทั่วไป ที่จะไม่รู้สึกตนเองในสิ่งที่ตนได้แสดงออกมาในรูปของทัศนะหรือความคิด ถ้าหากว่าผู้ทำการสัมภาษณ์ ได้ใช้ศิลปในการชักนำให้เขาบรรยายความถึงสิ่งต่าง ๆ ตามสภาพความเป็นจริงอย่างถูกต้องแล้ว ข้อ เท็จจริงที่เกี่ยวกับตัวผู้นั้นก็จะถูกเปิดเผยขื้นมาโดยที่ผู้ถูกสัมภาษณ์ไม่รู้ตัว

2.  อุปสรรคในการติดต่อสื่อความ ถ้าหากผู้สมัครที่กำลังถูกสัมภาษณ์มีความรู้สึกว่า ได้มีอะไรบางสิ่งบางอย่างที่ขัดแย้งกันในแง่ทัศนคติและเป้าหมายกับของตัวผู้สัมภาษณ์แล้ว ผู้สมัครก็มักจะสงวนท่าทีไม่แสดงออก ถ้าหากผู้สมัครรู้สึกว่า ผู้ทำการสัมภาษณ์มิได้อยู่ในฐานะเดียวกันกับเขาแล้ว เขาก็จะสงวนที่จะไม่พูดในบางเรื่องที่อาจจะเป็นภัยแก่ตัวเอง และจะเลือกพูดเฉพาะสิ่งที่ เป็นข้อดีเกี่ยวกับตัวเขาเท่านั้น ดังนั้นถ้าหากผู้ทำการสัมภาษณ์ได้แสดงออกมาไม่ถูกต้องก็จะเป็นการขัดขวางทำให้ผู้ถูกสัมภาษณ์ลังเลใจที่จะไม่พูดอย่างตรงไปตรงมา ดังนั้นจึงเป็นเรื่องสำคัญที่ผู้ทำการสัมภาษณ์จะต้องคำนึงถึงการวางตัวให้ถูกต้อง การใช้ภาษาควรคำนึงถึงพื้นฐานทางการศึกษา ซึ่งถ้าหากขัดกันแล้ว การสื่อความระหว่างสองฝ่ายก็จะเป็นไปโดยไม่ราบรื่นและกระท่อนกระแท่น ขาดตอน หรืออาจจะเป็นสภาพซึ่งทั้งสองฝ่ายไม่ได้แสดงข้อมูลที่พึงจะต้องการแสดงต่อกัน

3.  ความมีอคติของผู้ทำการสมภาษณ์ จากการวิจัยค้นคว้าได้พบเป็นจำนวนมากว่า ความเห็นหรือความมีอคติของผู้ทำการสัมภาษณ์มีผลอย่างมากต่อการตัดสินใจรับหรือไม่รับ จึงเป็นเรื่องสำคัญอย่างยิ่งที่ผู้ทำการสัมภาษณ์จะต้องระมัดระวังป้องกันมิให้มีทัศนคติเคลือบแฝงในความคิด ในขณะทำการประเมิน เพื่อแก้ไขข้อบกพร่องนี้ ผู้ทำการสัมภาษณ์เองจะต้องพยายามทำความเข้าใจตัวเองให้มากที่สุด ตลอดจนการเข้าใจถึงความมีอคติของตนซึ่งอาจจะทำให้เป็นผลเสีย หรือทำให้ผิดพลาดในการประเมินเกี่ยวกับตัวผู้สมัครในขณะทำการสัมภาษณ์ก็ได้

4.  การสามารถใช้เรื่องราวในอดีต เพื่อที่จะคาดการณ์เรื่องอนาคต หนทางที่

ดีที่สุดประการหนึ่งของการติดตามเรื่องราวของคนก็คือ เรื่องราวชีวิตของแต่ละคนที่ได้ทำมาในอดีต มักจะมีผลเกี่ยวเนื่องไปถึงอนาคตเสมอ ด้วยข้อเท็จจริงดังนี้ ย่อมชี้ให้เห็นถึงความสำคัญที่ผู้สัมภาษณ์จะต้องพยายามใช้จิตวิทยาในการที่จะทำให้ผู้สมัครทบทวนเรื่องราวของตนที่ผ่านมาในอดีตให้ละเอียด ทั้งนี้เพราะพื้นฐานของแต่ละคนไม่ว่าจะเป็นทางด้านบุคลิกภาพ ทัศนคติ ตลอดจนวิธีปฏิบัติที่ได้พัฒนาหรือสร้างสมมานั้น ย่อมมีผลอย่างสำคัญในการที่จะให้ผู้ทำการสัมภาษณ์มีโอกาสคาดการณ์ หรือทายเกี่ยวกับพฤติกรรมในอนาคตในหน้าที่งาน การสอบถามในเรื่องของชีวิต สภาพแวดล้อมในวัยเด็ก ตลอดจนประสพการณ์ในด้านการศึกษาและงานที่ได้เคยทำมาก่อน รวมถึงการใช้ชีวิตทางสังคม การพักผ่อน และสภาพของครอบครัวในปัจจุบัน รวมไปกึงสุขภาพพลานามัยและเรื่องราวที่ เกี่ยวกับการใช้เงินต่าง ๆ เหล่านี้ ล้วนแต่จะเป็นประโยชน์ที่ช่วยให้สามารถประเมินผู้สมัครได้อย่างกว้างขวางและถูกต้องมากยิ่งขึ้น แต่อย่างไรก็ตาม การพิจารณาในแง่นี้จำเป็นต้องมีการพิจารณาเรื่องราวทั้งหมดอย่างต่อเนื่องรวมกัน ทั้งนี้เพราะการที่คนบางคนล้มเหลวในงานหนึ่งก็มิได้หมายความว่า จะล้มเหลวในงานตำแหน่งใหม่ ทำนองเดียวกับผู้ที่เรียน เก่งในมหาวิทยาลัยก็มิใช่จะเป็นผู้ซึ่งประสบความสำเร็จอย่างดีในทางการทำงาน หรือสามัญสำนึกอาจจะไม่ดีเท่ากับบางคนซึ่งมีความสมบูรณ์ดีในปัจจัยอื่นซึ่งนอกเหนือไปจากการศึกษา ดังนั้น จึงจำเป็นต้องมีการประเมินให้ครบถ้วนทุกแง่ทุกมุม โดยมีการชั่งนํ้าหนักและผู้ทำการสัมภาษณ์จะต้องพยายามทายสิ่งซึ่งเป็นสิ่งภายในที่ได้เปิดเผยออกมาและตรวจสอบดูจุดเด่นต่าง ๆ ให้ครบถ้วน โดยเฉพาะการเช็คสอบจากหลักฐานทางอื่นด้วย