การโต้กลับประเภทต่างๆ

จงมั่นใจในการโต้กลับ การรีบจดสิ่งที่เป็นความรู้สึกของท่านจะมีความหมาย ถ้าได้มีบางคนกล่าวประโยคต่อไปนี้กับท่าน “อีกสักครู่” “ฉันจะถึงที่นั่นใน ๑ นาที” “ไม่ไกลมากนัก” “เราคงต้องพบปะสังสรรค์กันในบางเวลา” “ฉันต้องการอย่างเร็ว” “ฉันอยากให้คุณทำงานให้ดีที่สุด” “เราจะจัดหาสิ่งเหล่านี้ให้ท่านจำนวนหนึ่งไม่มากนัก โดยไม่คิดค่าตอบแทน” “เราจำเป็นต้องสื่อความกันให้ดีกว่านี้” “ฉันหวังให้ชายทุกคนไว้ทรงผมยาว” “นั่นจะเป็นการสิ้นเปลืองเงินมาก” “โปรดโทรฯ หลังจากนี้ และเราจะอภิปรายเรื่องนี้” ท่านคงจะได้ตระหนักดีแล้วว่า คำกล่าวข้างต้นเกือบทั้งหมด ถ้าไม่ใช่ทุกถ้อยความ มักมีความหมายกำกวมสูงมาก ถ้าใช้ในการสนทนาปรกติ มีความเป็นไปได้สูงมากที่ข้อความเหล่านี้จะถูกแปลความหมายผิด นอกเสียจากว่า จะได้รับการกระจ่างความอย่างครบถ้วน ตัวอย่างเช่น เมื่อมีผู้ใดกล่าวว่า “โทรฯ มาหลังจากนี้และเราจะอภิปรายเรื่องนี้’’ ผู้พูดมีความหมายว่า อีก ๑๕ นาทีจากนี้ไป หรืออีก ๑ ชั่วโมงต่อจากขณะนี้ หรือพรุ่งนี้ หรือสัปดาห์หน้า? ยิ่งกว่านั้นถ้ามีบุคคลใดกล่าวว่า “ฉันหวังให้ชายทุกคนไว้ทรงผมยาว” ผู้พูดหมายความว่า ยาวปิดหู ยาวถึงคอเสื้อ ยาวกว่าคอเสื้อ หรือยาวถึงหลัง? คำกล่าวต่าง ๆ เหล่านี้ รวมถึงข้อความอีกเป็นล้าน ๆ ข้อความ ที่มิได้ยกมากล่าวไวในที่นี้ ย่อมมีความหมายที่ไม่มีขอบเขตจำกัด […]

วิธีใช้เวลาของท่านในการพูดคุย

ท่านรู้สึกอย่างไร เมื่อต้องเสียเวลาคอยการนัดพบกับผู้บังคับบัญชา เพื่ออภิปรายงานบางอย่าง ท่านรู้สึกอย่างไร เมื่อผู้ร่วมงานหรือผู้ใต้บังคับบัญชามักมาสายเป็นประจำในการเข้าร่วมประชุม ท่านรู้สึกอย่างไร เมื่อมีบางคนมาเร็วกว่าผู้อื่นเพื่อเข้าประชุมกับท่าน ท่านรู้สึกอย่างไร เมื่อถูกสั่งให้ทำงานล่วงเวลาในวันสุดสัปดาห์ ท่านรู้สึกอย่างไร เมื่อผู้บังคับบัญชาของท่านหยุดการสนทนากับท่านบ่อยครั้ง จนเกือบจะเป็นปกติวิสัย และหันไปให้เวลามากขึ้นกับผู้ร่วมงานอีกคนหนึ่ง คำถามทั้งหมดที่กล่าวมาข้างบน เป็นตัวอย่างสาธิตให้เห็นว่า การใช้เวลาของเราอย่างไรนั้น ย่อมสื่อความหมายให้บุคคลทราบว่า เรารู้สึกอย่างไรต่อบุคคลเหล่านั้น – โดยเฉพาะความรู้สึกที่เกี่ยวกับความชอบพอ เกี่ยวกับความสำคัญ และเกี่ยวกับตำแหน่งฐานะ เวลาคือทรัพยากรที่ต่อเนื่อง หายาก และไม่สามารถย้อนกลับมาใหม่ได้ ดังนั้นการที่ท่านจะให้เวลากับใครมากน้อยเพียงไร ในเวลาใด ย่อมเป็นตัวแปรที่สำคัญในการสื่อความรู้สึกของท่านต่อบุคคลอื่น ศาสตราจารย์แอนโทนี อะโทส (Anthony athos) ได้ระบุคำ ๓ คำ ที่เป็นตัวแปรสำคัญที่เราใช้บอกความหมายของเวลา ได้แก่ ความเที่ยงตรง ความจำกัด และความซ้ำซ้อน และแม้ว่ากฎที่เกี่ยวกับการใช้เวลา โดยคำนึงถึงตัวแปรทั้ง ๓ ตัวดังกล่าวจะแตกต่างกันบ้าง จากสถานการณ์หนึ่งไปสู่อีกสถานการณ์หนึ่ง การใช้เวลาของเราเพื่อสื่อความหมาย ก็ยังบอกได้ด้วยเสียงต่าง ๆ กันมากมาย ถ้า “การพูด” เรื่องเวลาสามารถส่งเสียงให้ได้ยินได้ ความเที่ยงตรง ปัญหาของเราเกี่ยวกับความเที่ยงตรงของเวลาเป็นปัญหาใหญ่ นาฬิกาบอกเวลามักได้รับการโฆษณา […]

ประโยชน์การจัดเขตส่วนตัวในการบริหาร

ประโยชน์ของการจัดเขตแดนส่วนตัวในการบริหารเชิงประสานสัมพันธ์ ด้วยการสังเกตพฤติกรรมของตัวท่านเอง และตรวจสอบความรู้สึกของท่านดูว่า ท่านใช้สถานที่ของตัวท่านเองอย่างไร และท่านตอบโต้ผู้อื่นที่ประพฤติปฏิบัติต่างจากท่านอย่างไร เพียงด้วยวิธีดังกล่าวท่านสามารถเรียนรู้ได้มากมายว่า การใช้สถานที่ส่วนตัวมีความหมายอะไรบ้างกับตัวท่าน ท่านย่อมมีทักษะมากขึ้นในการสื่อความหมายของตัวท่านต่อผู้อื่น และชำนาญในการเข้าใจความหมายของสารที่สื่อกลับมาที่ท่านด้วย ถ้านักบริหารบุกรุกอาณาเขตส่วนตัวของผู้ใต้บังคับบัญชา โดยปราศจากการเชื้อเชิญทั้งด้วยวาจาหรืออวาจา ย่อมจะเป็นการเพิ่มระดับความเครียดให้สูงขึ้น และลดระดับความไว้วางใจต่อกัน ความสัมพันธ์ในการนิเทศงานก็จะไม่บรรลุผล มีการร่วมมือกันน้อยมาก หรือแทบจะไม่มีเลย ท่านต้องใช้ความระมัดระวังที่จะไม่สร้างความสะเทือนใจให้แก่ผู้ใต้บังคับบัญชาด้วยการบุกรุกเขตแดนส่วนตัว หรืออาณาเขตส่วนตัวของ ผู้ใต้บังคับบัญชา ถ้าท่านต้องการสร้างความผูกพัน บุคคลทุกคนมีค่านิยม ในความลับเฉพาะส่วนตัว และไม่ชอบการกระทำใดที่ก้าวก่ายลํ้าแดนของตน ผลสะท้อนที่เป็นอันตรายที่สุดสำหรับนักบริหารผู้ซึ่งไม่รู้ซึ้งถึงหลักแบ่งเขตแดนของพฤติกรรม ได้แก่ การเพิ่มความเครียด การลดความไว้วางใจ การลดความน่าเชื่อถือที่มีต่อผู้บริหาร และมีโอกาสได้รับความร่วมมือน้อยมาก ท่านสามารถใช้แนวความคิดเกี่ยวกับแดนใกล้ไกลนี้ ช่วยขยายพันธะ ความไว้วางใจกับผู้ใต้บังคับบัญชาของท่านต่อไปได้ กระบวนการเชิงนิเทศ สามารถมองในลักษณะการเริ่มพบปะกันกับผู้ใต้บังคับบัญชาในลักษณะ เผชิญหน้ากันในเขตแดนสังคม และค่อย ๆ เคลื่อนไปในมุม ๑๘๐ องศา ที่ระยะห่างกันแค่ตัวต่อตัวเท่านั้น ควรจะต้องฝึกตนเองให้ระวังตนที่จะไม่ก้าว เคลื่อนเร็วเกินไป (เพิ่มความเครียด) หรือช้าเกินไป (ปฏิเสธการเชื้อเชิญ ของผู้ใต้บังคับบัญชา) นักบริหารเชิงประสานสัมพันธ์ ให้ความเคารพ ความเข้าใจ และใช้แนวคิดของแดนใกล้ไกลดังกล่าวอย่างมีประสิทธิภาพ ผลสุดท้ายที่ได้รับก็คือ เกิดมีความตั้งใจทำงานสูงขึ้น มีความไว้วางใจเพิ่มขึ้น มีการสื่อสารดีขึ้น […]

ข้อควรพิจารณาพิเศษในการจัดที่ว่างระหว่างกัน

มีปัจจัยมากมายเข้ามาเกี่ยวข้อง ในการพิจารณาการจัดที่นั่งให้เป็นพิเศษ โดยเฉพาะบุคคลที่เป็นคู่ หรือเป็นกลุ่ม ปัจจัยต่าง ๆ เหล่านี้ได้แก่ มุมของการประชิดตัว บุคลิกภาพ สัมพันธภาพในอดีต เชื้อชาติและเพศ มุมของการประชิดตัว หญิงมีแนวโน้มที่จะยอมให้มีการนั่งใกล้ชิดตนจากด้านข้างทั้ง ๒ ด้าน ซึ่งเป็นลักษณะที่ตรงข้ามกับผู้ชาย ซึ่งยอมให้ผู้อื่นเข้าใกล้ตนทางด้านหน้ามากกว่าทางด้านข้าง ก่อนที่จะทำให้เกิดความไม่พอใจ หญิงมักชอบใช้วิธีนั่งด้านข้างมากกว่าชาย เวลาพูดกับอีกฝ่ายหนึ่ง และหญิงแสดงทีท่ามากกว่าชายในขณะที่พูดกับบุคคลที่นั่งถัดไป เมื่อกำลังอยู่ในกลุ่มอภิปราย นอกจากนี้ในฐานะที่จะต้องเป็นผู้ผ่านข้อความหญิงโดยทั่ว ๆ ไปมีทีท่าว่าสบายใจมากกว่าชาย จากการที่ผู้อื่นเอาตัวเข้าใกล้ชิด บุคลิกภาพ ดังได้กล่าวแต่แรกแล้วว่า บุคคลที่มีลักษณะผูกมิตร และแสดงตน ชอบเข้าใกลชิดกันมากกว่าบุคคลประเภทจัดการและวิเคราะห์ ผลการวิจัยพบเช่นเดียวกันในบุคคลแบบเปิดตัว ซึ่งเป็นผู้ชอบนั่งใกล้ชิดกัน มากกว่าบุคคลประเภทเก็บตัว และบุคคลที่รู้สึกว่าตนสามารถครองชีวิตของ ตนได้ ชอบอยู่ใกลชิดกับคนอื่นมากกว่าบุคคลที่รู้สึกว่าชีวิตของตนถูกผู้อื่นครอง ในด้านของวิถีเรียนรู้ บุคคลผู้ผ่อนปรน (Accommodator) และผู้ลู่ออก(Divergers) ชอบทำงานใกล้ชิดกับผู้อื่น ขณะที่บุคคลผู้ลู่เข้า (Converger) และผู้สมานลักษณ์ (Assimlator) ชอบอยู่ห่างและมีการติดต่อกับผูอื่นน้อยที่สุด ประการสุดท้ายในสถานการณ์ที่ต้องตัดสินใจ บุคคลประเภทยืดหยุ่น และบูรณาการ (Flexible & Integratives) สามารถทำงานใกล้ชิดกับผู้อื่นได้ดีมาก ซึ่งตรงข้ามกับบุคคลประเภทเฉียบขาดและประเภทลำดับขั้น […]

ยุทธศาสตร์การจัดช่องว่างระหว่างบุคคล

ด้วยเหตุนี้ที่เรามักจะมีความไม่สบายใจ เมื่อมีบุคคลรุกลํ้าอธิปไตย ส่วนตัวของเรา เราจึงสร้างพฤติกรรมเฉพาะพิเศษขึ้น เพื่อลดความเครียด และป้องกันตัวเราเองจากการรุกลํ้าต่อ ๆ ไป ชาร์ลส์และมารี ดัลตัน (Charle & Marie Dalton) ได้สรุปยุทธศาสตร์เกี่ยวกับการจัดช่องว่างระหว่างบุคคลไว้หลายประการ ยุทธศาสตร์ที่ใช้กันทั่ว ๆ ไปมากที่สุด คือ การลุกหนีง่าย ๆ และสร้างช่องว่างให้ห่างมากขึ้นจนกว่าผู้บุกรุกจะอยู่ในเขตแดนที่สบายมากขึ้น ยุทธศาสตร์อื่น ๆ ก็มีอีกเช่น การหลบสายตา หรือวางวัตถุกั้นระหว่างตัวท่านและบุคคลอื่น เช่น ที่วางเท้า ขาของท่าน หรือข้อศอก ท่าที่สะดวกสบายที่สุดเมื่อมีการสนทนากัน ย่อมขึ้นอยู่กับธรรมชาติของบุคคลอื่นและสถานการณ์นั้น ๆ การจัดเข้าคู่  เมื่อคน ๒ คน หรือคนคู่หนึ่งกำลังปฏิสัมพันธ์ด้วยการ สนทนาที่เป็นแบบกันเอง ซึ่งทั้ง ๒ ฝ่ายต่างก็รู้สึกสบายๆ กับเรื่องที่พูด และพอใจซึ่งกันและกัน การนั่งในตำแหน่งที่อยู่ในมุมเยื้องกันดูเหมือนจะดีที่สุด ตำแหน่งนั่งดังในภาพ ๑๑-๒ ย่อมทำให้ทั้ง ๒ ฝ่าย สามารถสื่อประสานสายตากันได้อย่างไม่มีขอบเขต และใช้สัญญาณที่แสดงความรู้สึกทางร่างกาย เช่น สีหน้าและท่าทางอย่างอื่นได้อย่างเต็มที่ […]

อาณาเขตที่สะดวกเพื่อการสื่อสาร

การใช้อาณาเขตและสภาพแวดล้อมเพื่ออำนวยความสะดวกด้านสื่อสาร มีวิธีการอีกมากมายที่สามารถใช้ความรู้สึกเกี่ยวกับอาณาเขตและสภาพแวดล้อม เพื่อช่วยให้การสื่อสารแบบสัมพันธภาพสะดวกขึ้น ตัวอย่างเช่น การจัดการประชุมในสถานที่ ๆ จูงใจให้สมาชิกผู้เข้าร่วมประชุมรู้สึกสบายและมีความสำคัญ ย่อมเป็นวิธีที่ดีที่สุดเสมอ ถ้าสมาชิกทั้งหลายมีความสุขกับสภาพแวดล้อม เขาย่อมจะมีความตั้งใจสูงขึ้น ที่จะดำเนินกิจกรรมและทำงานได้ดีสมค่าของสภาพที่จัดตั้งสถานที่ประชุมควรจะจัดในสถานที่ ๆ เป็นกลาง เพื่อจะได้ไม่มีปัญหาของอาณาเขตไปคุกคามบุคคลที่กำลังประชุมอยู่ในอีกที่หนึ่ง สุดท้ายที่นั่งประชุมซึ่งเคลื่อนที่ได้ จะมีส่วนจูงใจให้สมาชิกสร้างอาณาเขตส่วนตัว ที่ไม่เกาะติดอยู่กับที่เดิม และจัดสถานที่ให้เหมาะสม ถ้าผู้บังคับบัญชาต้องการสร้างความสนิทชิดเชื้อเชิง ๆ สัมพันธ์กับผู้ใต้บังคับบัญชาเพิ่มมากขึ้น ถ้าจัดการพบปะกันตัวต่อตัวในสำนักงานของผู้ใต้บังคับบัญชา หรือในสถานที่กลาง ๆ จะเป็นการช่วยเหลือได้มาก นอกจากนี้ผู้บังคับบัญชาควรจะใช้ภาษาร่างกายที่เหมาะสมในระหว่างการสนทนาอีกด้วย การยืนคํ้าหรือชะโงกเหนือบางคนที่นั่งอยู่อาจจะเป็นการแสดงอำนาจและการคุกคามซึ่งจะสร้างความไม่สบายใจให้บุคคลที่นั่งอยู่ได้อีกประการหนึ่ง การยืนพิงไปข้างหลังและทำตนในลักษณะเป็นกันเองเกินไป สามารถสื่อให้ทราบถึงความรู้สึกของการทำตนเหนือผู้อื่น และย่อมก่อให้เกิดปฏิกิริยาโต้ตอบทางลบ ในฝ่ายของผู้ใต้บังคับบัญชา วิธีที่ท่านจัดเครื่องเรือนในสำนักงานของท่าน สื่อให้ทราบถึงระคับ ความเป็นทางการที่ท่านปรารถนาที่จะรักษาไว้ในการปฏิสัมพันธ์กับแขกผู้มาเยี่ยม ถ้าเก้าอี้ตั้งอยู่หลังโต๊ะท่าน ก็เป็นเครื่องกั้นระหว่างท่าน และแขกของท่าน ก็ทำให้เกิดการปฏิสัมพันธ์ที่เป็นทางการและสัมพันธ์ ระยะสั้น ๆ ไปด้วย เก้าอี้ที่ตั้งใกล้กับแขกโดยไม่มีโต๊ะเป็นเครื่องกีดขวาง ย่อมสร้างบรรยากาศที่สบาย ๆ และเป็นกันเองได้มากกว่าเดิม ย่อมจะส่งเสริมให้มีการปฏิสัมพันธ์ที่เปิดเผยมาก และเป็นการสนทนาที่ยาวนานขึ้น สถานที่ส่วนตัว อีกแง่มุมหนึ่งของสถานที่ซึ่งเราใช้สื่อความหมายกับบุคคลอื่น ๆ คือ บริเวณอากาศรอบ ๆ ตัวเราเป็นส่วนตัว เรามักสรุปเอาว่า […]

จัดสถานที่เพื่อสื่อความหมาย

การจัดที่ให้ว่างบอกความหมายได้ ท่านเคยมีใครบางคนยืนชิดกับท่านมากจนท่านถามได้ทันทีว่า ‘‘คุณ รับประทานแซนวิชปลาทูน่ามื้อกลางวันอร่อยไหม” ท่านรู้สึกอย่างไร เมื่อกลับเข้าห้องทำงานและพบว่า เพื่อนร่วมงานคนหนึ่งกำลังรื้อค้นตู้เก็บเอกสารในห้องทำงานของท่าน ท่านมีปฏิกิริยาอย่างไร เมื่อท่านกลับเข้าไปที่ห้องประชุมหลังจากพักดื่มน้ำชา และพบว่ามีใครบางคนนั่งในที่นั่งของท่าน ความรู้สึกไม่สบายใจต่าง ๆ ที่คนเราส่วนใหญ่ต้องเผชิญในสถานการณ์ต่าง ๆ ดังกล่าว ล้วนเป็นผลจากการล่วงลํ้าอาณาเขตส่วนตัว คำตอบต่อคำถามเหล่านี้ สามารถเป็นการบอกใบ้ให้ท่านใช้ศาสตร์ หรือความรู้เกี่ยวกับระยะใกล้ไกล ซึ่งได้แก่ ที่ว่าง และการเคลื่อนไหวของคนภายในที่ว่างนั่นๆ เพื่อสื่อความหมายกับบุคคลอื่นๆ ศาสตร์ดังกล่าว ประกอบด้วย ๖ สภาพการด้วยกัน ซึ่งเราสามารถศึกษา เพื่อช่วยให้เราเกิดความเข้าใจในวิธีการที่เราควรใช้ที่ว่างให้เป็นประโยชน์ต่อการสื่อความหมายกับบุคคลอื่น ซึ่งได้แก่ อาณาเขต สภาพแวดล้อม สิ่งของ การจัดคู่ และการจัดกลุ่ม เป็นต้น อาณาเขต ปฏิกิริยาโต้ตอบของท่านต่อคำถามที่ระบุไว้เหล่านี้ อาจเป็นหลักฐาน ยืนยันสำหรับข้อสรุปของนักมานุษยวิทยาที่ว่า มนุษย์เรานั้นเป็นสัตว์ที่มีอาณาเขตด้วยเหตุที่มีแรงผลักดันที่ต้องการครอบครองและปกป้องสิ่งที่เป็นส่วนตัว เสมือนว่าตนเป็นเจ้าของในทรัพย์สมบัตินั้น ๆ แต่เพียงผู้เดียว สำนักงานของท่านเป็นอาณาเขตที่จัดไว้ในลักษณะถาวรพร้อมด้วยเส้นกั้นพรมแดนที่เคลื่อนไหวไม่ได้ เช่น กำแพงและประตู เมื่อใดท่านเข้าไปที่ประชุมใด ท่านกำลังสร้างอาณาเขตกึ่งถาวรขึ้น ซึ่งถูกแวดล้อมด้วยวัสดุที่สามารถเคลื่อนที่ได้ ซึ่งได้แก่ สมุดโน้ต ถ้วยกาแฟ และเสื้อนอกแขวนอยู่บนเก้าอี้ของท่าน แม้ว่าท่านไม่มีสิทธิตามกฎหมาย […]