ปัจจัยที่มีผลกระทบต่ออัตราค่าจ้าง

ปัจจัยที่มีผลกระทบต่ออัตราค่าจ้างนั้นมีหลายประการด้วยกัน ที่ซึ่งมีส่วนเกี่ยวข้องกับการกำหนดอัตราค่าจ้าง ทั้งโดยทางตรงและโดยทางอ้อม ปัจจัยต่าง ๆ เหล่านี้ประกอบขึ้นด้วยสภาพเงื่อนไขของตลาดแรงงาน อัตราค่าจ้างที่ใช้อยู่โดยทั่วไป (Prevailing Rate) ต้นทุนค่าครองชีพ และความสามารถ ในการจ่ายของนายจ้าง ตลอดจนอำนาจการต่อรองของสหภาพแรงงาน และที่โดยตรงและสำคัญที่สุดต่อการเป็นตัวกำหนดอัตราค่าจ้างก็คือ “ค่าของงานเปรียบเทียบกับงานอื่น ๆ” แต่อย่างไรก็ตาม การที่จะพิจารณาและแยกแยะว่าปัจจัยแต่ละตัวนั้นมีผลกระทบโดยตรงต่อค่าจ้างหรืออัตราค่าจ้าง แค่ไหนนั้น ย่อมเป็นการยากที่แยกแยะออกมาได้ หากแต่ว่าทุกปัจจัยล้วนแต่เป็นส่วนหนึ่งที่มีส่วนในการกำหนดอัตราค่าจ้าง ดังนั้นจึงอาจสรุปได้ว่า อัตราค่าจ้างที่กล่าวนี้ จึงมีความหมายเท่ากับเป็นอัตราค่าจ้างที่เป็นผลสืบเนื่องมาจากหลาย ๆ ปัจจัยรวมกัน หรือที่เรียกว่า “Wage Mix” นั่นเอง 1. สภาพตลาดแรงงาน (Condition of Labor Market) ในสมัยก่อนนั้น ก่อนที่จะมีสหภาพแรงงานหรือกฎหมายเกี่ยวกับค่าจ้างแรงงานส่วนมากในทัศนะของนายจ้างมักจะถือว่าเป็นปัจจัยอีกอย่างหนึ่งที่เทียบกับสินค้าที่จะหามาได้ในอัตราต่ำสุดเท่าที่จะทำได้ อัตราค่าจ้างจึงย่อมขึ้นอยู่กับสภาพการณ์ของลักษณะของอุปสงค์และอุปทานของแรงงาน ซึ่งเป็นตัวกำหนดว่าพนักงาน หรือผู้หางานทำนั้นจะจัดหามาได้ยากง่ายเพียงใด วิธีนี้ถึงแม้ว่าจะเป็นวิธีที่ใช้มาเก่าแก่ก็ตาม ในทุกวันนี้ก็ยังคงเป็นปัจจัยหนึ่งที่มีส่วนเป็นตัวกำหนดค่าจ้างลำหรับกลุ่มที่มีคุณสมบัติเฉพาะอยู่ด้วยเช่นเดียวกัน อัตราค่าจ้างจะเป็นไปเช่นไรจึงย่อมขึ้นอยู่กับความยากง่ายขององค์การที่จะหามาได้ และความต้องการของกลุ่มบุคคลากรที่มีคุณสมบัติดังกล่าวเป็นสำคัญ อย่างไรก็ตามเรื่องเช่นนี้ก็ได้เบาบางลงเพราะด้วยเหตุของการมีระเบียบกฎเกณฑ์ทางราชการในการกำหนดอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ ตลอดจนอำนาจต่อรองของสหภาพแรงงาน ซึ่งมีส่วนเป็นกลไกใหม่ในการกำหนดอุปทานและอุปสงค์ให้อยู่ในระดับคงที่ไม่ ปล่อยให้เคลื่อนไหวขึ้นลงอย่างมากมาย ดังจะเห็นได้จากสหภาพซึ่งมักจะใช้มาตรการในการยับยั้ง เพื่อที่จะป้องกันมิให้พนักงานในระดับตํ่าต้องถูกลดอัตราเงินเดือน ถึงแม้จะมีการว่างงานอยู่มากก็ตาม  นอกจากนี้กฎระเบียบทางราชการก็ยังมีส่วนในทางช่วยป้องกันนายจ้างมิให้จ่ายตํ่ากว่าอัตราค่าจ้างขั้นตํ่า หรือมิให้มากกว่าค่าจ้างที่เกินระดับ (ในกรณีที่ตลาดแรงงานบางกลุ่มเป็นที่ขาดแคลน) […]

ความสำคัญของการจ่ายผลตอบแทนในรูปที่เป็นเงิน

นับว่าเป็นเวลานานทีเดียวที่นายจ้างได้มีการทดลองคิดค้นเกี่ยวกับระบบต่าง ๆ จัดทำเป็นแผนงานประเภทต่าง ๆ ที่กี่ยวข้องกับการจ่ายค่าจ้างเงินเดือน ทั้งนี้เพื่อที่จะให้มีระบบการจ่ายที่มีประสิทธิภาพให้สมดุลกับงานที่พนักงานได้ทำให้ ซึ่งการพยายามคิดค้นวิธีการที่จะให้มีการวัดค่างานที่พนักงานได้อุทิศให้โดยมีความยุติธรรมที่จะสามารถวัดได้ชัดแจ้งเป็นตัวเลขขึ้นนี้ ในปัจจุบันนับว่าได้มีวิธีการที่ได้มีการปรับปรุงดีขึ้น แต่ก็ยังคงมีปัญหาอยู่บ้างที่การจัดทำยังคงต้องมีการใช้ดุลยพินิจประกอบด้วยเสมอ ซึ่งมักจะทำให้ต้องมีการผิดเพี้ยนไปบ้าง และก็ยังคงไม่สามารถกำหนดได้ถูกต้องแน่นอนทั้งหมด ซึ่งอิทธิพลต่าง ๆ ที่ทำให้เกิดการผิดเพี้ยนไปหรือทำให้โต้แย้งได้นั้น สาเหตุสืบเนื่องมาจากการสงสัยและซักไซร้ไล่เลียงโดยพนักงานหรือตัวแทนพนักงานที่เกี่ยวข้อง และบางครั้งแม้จะมีการคิดออกมาเป็นหลักเกณฑ์ก็ตาม ก็ยังคงได้รับอิทธิพลกระทบมาจากวิธีการจ่ายต่อพนักงานในที่แห่งอื่น จากตลาดแรงงาน โดยเฉพาะสำหรับกลุ่มที่มีความชำนาญเฉพาะอย่าง หรือบางกรณีอาจเกิดจากการต้องมีการปรับเข้าหาข้อจำกัดบางอย่าง เช่น ในการพยายามลดต้นทุนค่าแรงงาน เพื่อที่จะให้มีข้อได้เปรียบในเชิงแข่งขันกับบริษัทอื่นดังที่จะเห็นได้ไม่ยากนักในเร็ว ๆ นี้ ที่แม้จะได้มีการพยายามตีค่างาน หรือการจ่ายผลตอบแทนให้เหมาะสมกับงานที่ได้ทำในแต่ละหน่วยงานนั้น เมื่อกระทำจริง ๆ กลับต้องถูกอิทธิพลกดดันจากการบังคับด้วยตัวแทนของสหภาพของรัฐวิสาหกิจต่าง ๆ ที่มุ่งเพื่อจะให้พนักงานทุกแห่งที่อยู่ในความหมายของรัฐวิสาหกิจ ให้ได้รับเงินเดือนเป็นแบบเดียวกันและเท่ากัน ทำนองเดียวกันกับระบบค่าจ้างเงินเดือนของข้าราชการพลเรือน ซึ่งด้วยข้อจำกัดของระบบภาษีอากร และความไม่พร้อมในกลไกของจุดต่าง ๆ ในระบบใหญ่ ซึ่งทำให้ไม่สามารถไล่เบี้ยเอาผลงานที่จะวัดให้ชัดแจ้งได้ การจ่ายโดยทั่วไปของกลุ่มข้าราชการพลเรือนก็ตํ่ากว่าเหตุผลอยู่ตลอดเวลา ซึ่งทั้งนี้ย่อมแสดงให้เห็นว่า ระบบการจ่ายค่าจ้างเงินเดือนนั้นยังคงมีขอบเขตของปัญหาของสิ่งต่าง ๆ ที่เป็นอิทธิพลกระทบได้ตลอดเวลา ทั้งๆ ที่ได้มีการคิดค้นหลักเกณฑ์และวิธีที่จะคิดคำนวณให้เหมาะสมกับคุณค่าของงานที่ได้รับและได้พยายามแก้ไขจุดต่าง ๆ ให้มีความเป็นธรรมยิ่งขึ้น โดยมีการพิจารณาและอิงจากปัจจัยที่เกี่ยวข้องโดยตรงแล้วก็ตาม ปัญหาก็ยังคงไม่หมดไป ดังนั้นจึงเป็นปัญหาสำคัญยิ่งที่ฝ่าย จัดการในทุกแห่งจะต้องมุ่งสร้างให้มีระบบการจ่ายค่าจ้างเงินเดือนที่มีคุณภาพเป็นหลักสำคัญเอาไว้ ความสำคัญของการจ่ายตอบแทนที่เป็นตัวเงินนั้นอาจจะสรุปได้เป็นด้าน ต่างๆ ดังนี้คือ […]

การบริหารค่าจ้างและเงินเดือน

การบริหารค่าจ้างและเงินเดือน (Wage and Salary Administration) คำว่าการบริหารค่าจ้างและเงินเดือนนั้น ได้เป็นที่ยอมรับกันมาช้านานว่าเป็นงานด้านหนึ่งที่มีขอบเขตและเนื้อหาที่ต้องดำเนินการโดยมีการศึกษาและจัดทำให้ถูกต้องเป็นนโยบายเฉพาะเรื่อง และมีวิธีคิดคำนวณที่แน่นอนในการพิจารณาจ่ายตอบแทนแก่คนงาน ซึ่งวิธีต่าง ๆ เหล่านั้นครอบคลุมไปถึงเรื่องสำคัญเรื่องหนึ่ง คือ การประเมินค่างาน (Job Evaluation) ตลอดจนการพัฒนาและการปรับปรุงโครงสร้างของค่าจ้าง รวมถึงการทำการสำรวจค่าจ้าง การจ่ายค่าจ้างแบบจูงใจ ตลอดจนการเปลี่ยนแปลงค่าจ้างและการปรับค่าจ้าง รวมทั้งการจ่ายผลประโยชน์เพิ่มเติมอื่น ๆ เช่น โบนัส และการแบ่งกำไร รวมตลอดถึงวิธีการควบคุมต้นทุนการจ่ายตอบแทนและการจ่ายในกรณีอื่นใดที่เกี่ยวข้องกับความหมายนี้ คำว่า ค่าจ้าง (Wage) เป็นคำที่ใช้โดยทั่วไปสำหรับพนักงานซึ่งวิธีการจ่ายสามารถคำนวณได้จากจำนวนชั่วโมงของการทำงาน ดังนั้นค่าจ้างที่จ่ายให้เป็นระยะเวลา เช่น เป็นรายสัปดาห์ จึงมักจะผันแปรไปตามชั่วโมงที่ได้ทำงานจริง ๆ ที่มากน้อยแตกต่างกัน ส่วนคำว่า เงินเดือน (Salary) นั้น เป็นวิธีการจ่ายตอบแทนที่มีรูปแบบที่แน่นอน (Uni­form) ที่จะเหมือนกันหรือเท่ากันสำหรับช่วงระยะเวลาของการจ่ายต่อครั้ง และไม่ขึ้นหรือสัมพันธ์ โดยตรงกับจำนวนชั่วโมงของการทำงาน ความหมายของการจ่ายประเภทที่เป็นเงินเดือนนี้ ในตัวของมันมีความหมายที่แตกต่างจากค่าจ้างในแง่ที่ เงินเดือนเป็นเครื่องชี้ให้เห็นถึงฐานะที่ดีกว่า คือเงินเดือน เป็นสิ่งที่จ่ายให้กับพนักงานประจำโดยเฉพาะพวกเสมียนพนักงาน นักบริหาร หรือกลุ่มงานอาชีพ และหัวหน้าคนงาน ซึ่งต่างจากคำว่าค่าจ้าง ซึ่งมีความหมายแต่เพียงการให้เป็นค่าจ้างกับผู้ใช้แรงงาน เป็นรายชั่วโมง […]

ทัศนะต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับค่าจ้าง

ค่าจ้างเงินเดือนหรือการจ่ายตอบแทน (Compensation) นั้น หมายถึงรางวัลผลตอบแทนที่เป็น เงิน ที่หน่วยงานจ่ายให้กับคนงานของตนเพื่อสำหรับงานที่คนงานเหล่านั้นได้ทำให้ ในเรื่องของค่าจ้างที่มีการจ่ายเป็นเงิน ซึ่งจ่ายให้พนักงานและที่ธุรกิจถือว่าเป็นต้นทุนอย่างหนึ่ง ของการดำเนินธุรกิจของนายจ้างนั้น นับว่ามีฐานะความสำคัญเป็นอย่างยิ่งที่เกี่ยวข้องกับงานทางด้านการบริหารงานบุคคลขององค์การ เงินค่าจ้างที่ได้ให้แก่คนงานสำหรับค่าบริการต่าง ๆ นี้ โดยแท้จริง แล้วมีความหมายที่สำคัญยิ่งกว่าที่เข้าใจกัน มิใช่มีความหมายเพียงเป็นเงินทองที่จ่ายให้กับคนงานที่จะไปจับจ่ายใช้สอยได้เท่านั้น หากแต่ยังมีความสำคัญเป็นอย่างยิ่งที่มีความสำคัญในทางจิตวิทยาที่เกี่ยวข้องกับการจ่ายว่าได้กระทำได้ถูกต้องเพียงใด ทั้งนี้เพราะค่าจ้างของระบบการจ่ายตอบแทนที่ให้แก่ คนงานนั้น ความหมายที่นอกเหนือจากการเป็นเงินสำหรับการจับจ่ายใช้สอยของคนงานแล้ว ยังเป็นเครื่องแสดงถึงฐานะและการเป็นที่ยอมรับทั้งภายในและภายนอกหน่วยงานด้วย โดยที่เงินค่าจ้างที่จ่ายให้นี้เป็นจำนวนที่สามารถวัดได้เป็นคุณค่าที่แน่นอน ดังนั้นพนักงานส่วนใหญ่จึงมีความรู้สึกโดยตรงต่อขนาดมากน้อยของการจ่ายที่แต่ละคนได้รับมา โดยพยายามเปรียบเทียบกับสิ่งที่ตัวได้อุทิศให้กับงานอยู่เสมอ และนอกจากนั้นยังจะมีการพยายามเปรียบเทียบไปยังพนักงาน คนอื่น ๆ ที่ได้รับจากการทำงานในจุดต่าง ๆ เหล่านั้นด้วย ดังนั้นจึงเป็นเรื่องที่แน่นอนว่าพนักงานส่วนมากมักจะมีความต้องการให้ค่าจ้างที่ได้รับมีความเป็นธรรม ทั้งในแง่ของความคุ้มค่า เหมาะสมต่อสิ่งที่ตัวได้ทำให้กับงาน และเป็นธรรมเมื่อเปรียบเทียบกับพนักงานอื่น ๆ ในการที่จะให้ระบบการจ่ายค่าจ้างมีความยุติธรรมนั้น จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีระบบและวิธีการในการกำหนดเพื่อให้มีความถูกต้องทั้งในแง่ของการกำหนดค่าของงานเป็นงาน ๆ ไป และควรจะต้องสัมพันธ์โดยตรงกับคุณสมบัติและผลงานที่พนักงานทำได้จากงานนั้น ๆ ขณะเดียวกันระบบของ การจ่ายค่าจ้างเงินเดือนนั้น ยังจะต้องเป็นระบบที่ดีพอที่เอื้ออำนวยฝ่ายจัดการให้สามารถควบคุมได้ ภายในกรอบที่เหมาะสมและสมเหตุสมผลด้วย และในประการสุดท้ายของการจ่ายค่าจ้างเงินเดือนยัง จะต้องทัดหน้าเทียมตากับการจ่ายของงานเดียวกันในที่อื่น ๆ ในชุมชนเดียวกัน หรือเด่นกว่า ตลอดจน จะต้องสอดคล้องกันกับสภาพของตลาดแรงงาน ค่าครองชีพ และถูกต้องตามกฎหมายที่เกี่ยวกับการ จ้างแรงงานต่าง […]