การแก้ปัญหาร่วมกันในการบริหารงาน

เมื่อนักบริหารถูกถามว่า เขามีวิธีตัดสินและแก้ปัญหาอย่างไร คำตอบ ทั่วๆ ไปที่ได้รับมักจะอยู่ในประเภท “ผมไม่ทราบผมเพียงแต่ทำในสิ่งที่ต้องทำ” แม้ว่านักบริหารเหล่านั้นอาจจะไม่สามารถระบุเฉพาะเจาะจงว่า เขาดำเนินขั้นตอนอะไรบ้าง หรือเขาใช้สูตรอะไร แต่ทุกคนก็คงจะเห็นพ้องต้องกันว่า การตัดสิน “ที่ดี” และการแก้ปัญหาอย่างมีประสิทธิผล ย่อมเป็นหัวใจสำคัญของการบริหารงานที่ดี แม้ว่านักบริหารเหล่านั้นจะไม่สังวร ในเรื่องนี้ก็ตามแต่นักบริหารส่วนใหญ่ก็มักจะทำการตัดสินใจและแก้ปัญหาด้วยกระบวนการที่ง่ายมาก ๆ กระบวนการนี้ อย่างน้อยก็มีขั้นต่าง ๆ เหล่านี้ รวมอยู่ด้วยตามลำดับ ๑) การรับรู้ปัญหา ๒) การกำหนดปัญหา ๓) การหาทางแก้ปัญหา ๔) การลงมือปฏิบัติตามทางแก้ปัญหา นักบริหารจะดำเนินตามกระบวนการนี้ได้อย่างรวดเร็วและทั่วถึง เพียงใดนั้น ย่อมแตกต่างกันตามวิถีการตัดสินใจของแต่ละบุคคล ประสิทธิ- ภาพของการใช้ทักษะสื่อสาร ตลอดจนคุณภาพของการสร้างสัมันธภาพ ระหว่างผู้บริหารและพนักงานของตน บุคคลที่มีลักษณะเด็ดขาดย่อมตัดสินใจ เร็ว แต่มักให้ความคิดเพียงเล็กน้อยในการวิเคราะห์ข้อเท็จจริง ในการพิจารณาความรู้สึกของบุคคลอื่น ตลอดจนในการพินิจพิเคราะห์ผลกระทบต่อการตัดสินใจในจุดอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง บุคคลที่มีลักษณะยืดหยุ่น มักกระโดดข้ามจากทางแก้ปัญหาหนึ่งไปสู่อีกทางหนึ่งอย่างรวดเร็ว และไม่มีข้อตกลงที่มั่นคงและยั่งยืน ส่วนบุคคลที่มีลักษณะตรงข้าม ได้แก่ ประเภทยึดลำดับขั้นตอน ก็มักจะใช้เวลาเป็นสัปดาห์ในการตัดสินใจ บุคคลประเภทนี้ต้องการพิจารณาทุกขั้นตอนของปัญหา และต้องการข้อเท็จจริงทั้งหมด ก่อนตัดสินใจ อย่างไรก็ตาม […]