กระบวนการคัดเลือกพนักงานใหม่

กระบวนการคัดเลือกจะเริ่มต้นเมื่อได้มีตำแหน่งว่างขึ้นในองค์การอันสืบเนื่องมาจากอาจมีการโยกย้าย การเลื่อนชั้น หรือการลาออก หรืออาจจะได้รับการอนุมัติให้มีการเพิ่มพนักงาน ซึ่งตำแหน่งที่ว่างดังกล่าวนั้น ก่อนจะมีการคัดเลือกจริง ๆ อาจจะได้มีการโยกย้ายสับเปลี่ยนหรือมีการทดแทนกันในเบื้องแรกเสียก่อน จากนั้นก็จะมีการรับพนักงานใหม่ 1.  การรับผู้สมัคร (Reception of Applicants) 2.  การสัมภาษณ์เบื้องต้น (Preliminary Interview) 3.  การให้กรอกใบสมัคร (Application Blank) 4.  การทดสอบ (Employment Tests) 5.  การสัมภาษณ์ (Interview) 6.  การตรวจสอบคุณสมบัติพื้นฐาน (Background Investigation) 7.  การคัดเลือกเพื่อบรรจุโดยฝ่ายการพนักงาน (Preliminary Selection in Employment De partment) 8.  การตัดสินใจโดยเจ้าหน้าที่ในจุดของสายงานที่จะรับพนักงาน (Final Selection by Super­visor) 9.  การตรวจร่างกาย (Phisical Examination) ขั้นตอนต่าง ๆ เหล่านี้ มักจะมีใช้โดยทั่วไปในธุรกิจ […]

ข้อมูลที่จำเป็นสำหรับการคัดเลือกพนักงาน

บุคคลที่เป็นผู้รับผิดชอบในการตัดสินใจเกี่ยวกับการคัดเลือก จำเป็นที่จะต้องมีข้อมูลอย่างพร้อม เพรียงที่จะใช้ประกอบในการตัดสินใจในเรื่องนี้ ข้อมูลที่เกี่ยวกับงานที่จะบรรจุ ตลอดจนจำนวนของตำแหน่งงานที่จะเปิดรับ รวมทั้งข้อมูลอื่น ๆ ที่จำเป็นสำหรับการพิจารณาจะต้องมีการจัดเตรียมไว้ พร้อมบ่อยครั้งข้อมูลต่าง ๆ มักจะไม่สมบูรณ์หรือไม่ถูกต้อง ซึ่งจะก่อให้เกิดปัญหาในภายหลัง วิธีที่ถูกต้องจึงจำเป็นต้องได้มีการค้นหาข้อมูลที่จำเป็นและเกี่ยวข้องกับการตัดสินใจให้ครบถ้วนมากที่สุด ข้อมูลที่สำคัญมากที่สุดอย่างหนึ่งที่เป็นพื้นฐานของการคัดเลือกก็คือ คุณสมบัติของคนที่ต้องการตามความจำเป็นของงาน (Job Specification) โดยปกติผู้บริหารในจุดต่าง ๆ ที่เป็นผู้ใช้คนนั้น มักมีความคุ้นเคยกับคุณสมบัติที่จำเป็นของคนที่จะมาทำงาน ทั้งในแง่ของความชำนาญตลอดจนความ เหมาะสมทางร่างกาย คุณลักษณะอุปนิสัยหรือปัจจัยอื่น ๆ อยู่แล้ว ดังนั้น ในการคัดเลือกจึงจำเป็นอย่างยิ่งที่ผู้ที่ดำเนินการสัมภาษณ์หรือเจ้าหน้าที่คนใดคนหนึ่งในฝ่ายการพนักงานก็ตามที่จะต้องเข้าไปฺเกี่ยวข้องกับการคัดเลือก และเป็นผู้ประสานในการคัดเลือกที่จะต้องทำการศึกษารายละเอียดของคุณสมบัติที่จำเป็นและต้องการนั้นให้เป็นที่เข้าใจอย่างแจ้งชัด เพื่อที่จะได้นำมาเป็นพื้นฐานของข้อมูลในการดำเนินการคัดเลือกในขั้นตอนแรก ๆ ได้อย่างสมบูรณ์ โอกาสที่จะมีการคัดเลือกพนักงานจะมีได้มากน้อยเพียงใด ย่อมขึ้นอยู่กับว่าจำนวนของผู้สมัคร ที่เข้ามานั้นส่วนใหญ่มีคุณสมบัติที่เหมาะสมเป็นส่วนมากหรือไม่ ถ้าหากจำนวนของผู้สมัครมีน้อย ก็จะเป็นปัญหาที่การเสาะหาพนักงานที่ต้องการจะทำได้ลำบาก ความสามารถในการคัดเลือกได้ถูกต้อง ก็จะมีโอกาสน้อยลง ในการพิจารณาถึงโอกาสที่จะมีทางเลือกได้มากหรือน้อยนั้น ในทางปฏิบัติมักจะพูดกันในความของ “อัตราส่วนของการคัดเลือก” (Selection Ratio) ซึ่งหมายถึงอัตราส่วนของจำนวนผู้สมัครที่จะทำการคัคเลือกออกมาต่อจำนวนรวมของผู้สมัครทั้งหมด ถ้า Ratio เป็น .10 หมายความว่า จะต้องมีการคัดเลือกพนักงาน 10 เปอร์เซ็นต์ จากจำนวนทั้งหมด ถ้า […]

การจัดคนให้สอดคล้องตรงกับงาน

การคัดเลือกพนักงานขององค์การโดยปกติมักจะเป็นกระบวนการที่เกี่ยวข้องกับการพยายามหาวิธีที่จะจัดให้ตรงกันระหว่างคุณสมบัติของพนักงานทั้งในเชิงของความสามารถ ทัศนคติ ความสนใจ ตลอดจนบุคลิกท่าทาง อุปนิสัย ที่จะให้ตรงกับรายละเอียดที่เกี่ยวกับงานนั้นๆ ดังนั้นผู้ปฏิบัติงาน ด้านการบริหารบุคคลในเรื่องนี้จึงจำเป็นที่จะต้องมีข้อมูลที่พอเพียงเกี่ยวกับผู้สมัคร และจะต้องมีข้อมูลที่พร้อมเกี่ยวกับงานด้วย รวมไปจึงการต้องมีนโยบายที่ดีสำหรับการดำเนินงานด้านนี้ ข้อความที่เกี่ยวกับนโยบายที่เกี่ยวกับเรื่องการคัดเลือกนี้ จะช่วยให้แน่ใจได้ว่าการปฏิบัติงานด้านการคัดเลือกเป็นไปโดยถูกต้องสอดคล้องกับแผนงานด้านการบริหารงานบุคคลอื่น ๆ ตลอดจนช่วยให้สามารถสนองความต้องการของสังคม ที่จะได้เข้าใจถึงนโยบายที่เป็นธรรมที่เกี่ยวข้องกับชื่อเสียงขององค์การ ด้วย ดังนั้น การตัดสินใจที่จะจ้างหรือจะปฏิเสธผู้สมัคร จึงถือได้ว่าเป็นเรื่องสำคัญที่สุดของการตัดสินใจเรื่องหนึ่งในองค์การ ด้วยเหตุดังกล่าวเพื่อที่จะให้มีโอกาสที่จะสามารถจ้างคนได้ตรงตามความสามารถ และเข้ากันได้กับผู้บริหารในสายงานต่าง ๆ หรือกลุ่มทำงานในจุดต่าง ๆ ทั่วไป จึงเป็นวิธีปฏิบัติที่นิยม ที่จะต้องให้ผู้บริหารในสายงานที่จะเป็นผู้ใช้พนักงานนั้น ได้เป็นผู้ตัดสินใจขั้นสุดท้ายเกี่ยวกับการคัดเลือก หลังจากที่ฝ่ายการพนักงานได้ดำเนินการตามขั้นตอนการคัดเลือกต่าง ๆ มาเป็นเบื้องต้นแล้ว และสมบูรณ์ด้วยข้อมูลเบื้องต้นที่ได้จากการคัดเลือกต่าง ๆ ดังกล่าวที่ซึ่งจะเป็นรายละเอียดให้ผู้บริหาร ในจุดของผู้ใช้ได้มีโอกาสพิจารณาประกอบในการตัดสินใจนั้นด้วย