เทคนิคที่ใช้พัฒนาความสามารถทางการจัดการ

เทคนิคที่ใช้ในการพัฒนาการจัดการนั้น วิธีการส่วนใหญ่มักจะใช้วิธีจำลองสถานการณ์จากที่เป็นจริง ซึ่งวิธีที่ใช้และที่เป็นที่นิยมใช้มากที่สุดมีดังต่อไปนี้ คือ 1.  วิธีการใช้กรณีศึกษา (The case Method) วิธีที่ใช้มากที่สุดวิธีหนึ่ง ก็คือ เทคนิคการใช้ Case Method หรือกรณีศึกษา แต่ละกรณีนั้นก็คือ การเขียนเรื่องราวของสิ่งที่ได้มีการตัดสินใจในสภาพที่ได้เกิดขึ้นจริงเพื่อให้ผู้อบรมได้ทราบ จากนั้นพนักงานผู้บริหารที่เป็นพนักงานฝึกหัดก็จะถูกสั่งให้ศึกษาเพื่อพิจารณาปัญหาของเรื่องราวและทำการวิเคราะห์เรื่องต่าง ๆ ของกรณีนั้นตามทัศนะของตัวและให้เสนอแนะคำตอบ ตลอดจนค้นหาทางเลือกในการแก้ปัญหา จนได้คำตอบหรือสามารถทำการตัดสินใจว่า ควรจะทำวิธีใดจึงจะเป็นวิธีที่ดีที่สุด รวมทั้งการให้ทดลองแก้ไขการปฏิบัติงานด้วยตนเอง วิธีนี้การเรียนรู้จะเกิดขึ้นได้อย่างมากถ้าหากได้มีการร่วมสนใจศึกษาอย่างจริงจังจากทั้งสองฝ่าย และมีการร่วมถกปัญหาอย่างครบถ้วน โดยศึกษาพร้อมกันทั้งกลุ่มด้วย วิธี Case Method หรือ กรณีศึกษานี้ ส่วนมากมักจะต้องเกี่ยวข้องกับเอกสารจำนวนมาก เช่น นโยบายของบริษัท ซึ่งถ้าหากจะโต้แย้งก็อาจจะพูดได้เช่นกันว่า วิธีนี้อาจจะไม่ใช่วิธีที่มีประสิทธิภาพสูงสุดในแง่ที่จะมีข้อที่ด้อยกว่าในแง่ของการจัดโครงเรื่องที่จะให้สามารถอ่านอย่างมีระเบียบและครบถ้วนสมบูรณ์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในแง่ของข้อมูลสถิติต่าง ๆ เมื่อเป็นเช่นนั้น ในบางครั้งการนั่งฟัง lecture ที่เข้าใจโดยมีผู้บรรยายที่บรรยายได้ดีและลึกซึ้ง และมีการอธิบายอย่างเป็นระบบและเป็นระเบียบลำดับ ก็อาจจะเป็นวิธีที่ดีกว่า และสมบูรณ์กว่าการค่อย ๆ แกะ ค่อย ๆ ติดตามจากกรณีศึกษา ที่มีแต่ข้อมูลล้วน ๆ ความมีประสิทธิภาพของการใช้กรณีศึกษาจึงขึ้นอยู่กับความสามารถของการอบรม และขึ้นอยู่กับโอกาสที่จะมีกรณีศึกษาที่เขียนขึ้นอย่างดีและมากพอ […]

วัตถุประสงค์ของการพัฒนาการจัดการ

วัตถุประสงค์โดยทั่วไปของการพัฒนาการจัดการนั้น มีจุดมุ่งทำนองเดียวกันกับการอบรมพนักงานธรรมดาโดยทั่วไป กล่าวคือ มีวัตถุประสงค์ดังนี้ ก. เพื่อที่จะหาทางช่วยให้มีการเพิ่มประสิทธิภาพในตัวของผู้บริหารทั่วไปและผู้บริหารของกลุ่มอาชีพต่าง ๆ ข. เพื่อที่จะช่วยสร้างความพอใจแก่พนักงาน ค. เพื่อที่จะให้ถูกต้องกับบรรทัดฐานของประเพณีปฏิบัติที่ต้องมีการดูแลและให้ความเจริญ เติบโตแก่พนักงานของตน ง. เพื่อให้เป็นเครื่องมือช่วยลดหรือป้องกันการล้าสมัยในทางการบริหาร

ลักษณะและความสำคัญของการพัฒนาการจัดการ

การพัฒนาการจัดการ (Management Development) หมายถึง กระบวนการซึ่งจะช่วยให้ผู้บริหารได้มีโอกาสได้รับประสบการณ์ ความชำนาญ ตลอดจนทัศนคติใหม่ ๆ ที่ถูกต้อง ที่จะเป็นผู้นำที่สมบูรณ์แบบและสามารถประสพความสำเร็จในฐานะของหัวหน้างานที่ดี ในบทที่ผ่านมาที่เกี่ยวกับการฝึกอบรมนั้น วิธีการและเทคนิคที่ใช้ในการปรับปรุงประสิทธิภาพ ผลงานและความพอใจต่าง ๆ นั้น ส่วนใหญ่แล้วเป็นเรื่องที่กระทำกับเจ้าหน้าที่ระดับปฏิบัติการที่เป็นเสมียนพนักงาน ตลอดจนพนักงานบริการและพนักงานดำเนินการต่าง ๆ แต่สำหรับกรณีของโครงการ พัฒนาระดับนักบริหารหรือการฝึกอบรมนักบริหารนั้น จะแตกต่างในแง่ที่หมายถึง กระบวนการ วิธีการ และเทคนิคที่เกี่ยวกับการเสริมสร้างความสามารถของความเป็นนักบริหารให้แก่ผู้บริหารงานในระดับ ต่าง ๆ ตลอดจนผู้บริหารในกลุ่มวิชาชีพด้วย เจ้าหน้าที่ชั้นบริหารและเจ้าหน้าที่ผู้ชำนาญการในสาขาวิชาชีพต่าง ๆ กลุ่มนี้นับเป็นกลุ่มที่สำคัญยิ่งต่อความสำเร็จขององค์การโดยเฉพาะอย่างยิ่งในแง่ของการตัดสินใจได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อหน่วยงาน ด้วยเหตุนี้องค์การทุกแห่งจึงตระหนักถึงปัญหาและเห็นถึงความจำเป็นที่จะต้องให้บุคคลากรกลุ่มนี้ของตนทันสมัยและก้าวหน้าอยู่เสมอ รวมทั้งต้องให้อยู่ในภาวะที่พร้อมจะมุ่งมั่นทำประโยชน์ให้สำเร็จในภาระกิจที่สำคัญ ในที่นี่จึงจะได้พิจารณาถึงเรื่องราวของการพัฒนานักบริหารหรือการพัฒนาการจัดการโดยละเอียด ทำนองเดียวกันกับงานด้านการฝึกอบรม แผนงานทางด้านการพัฒนาการจัดการและการพัฒนาพนักงานวิชาชีพ ถือได้ว่าเป็นกิจกรรมที่มีความสัมพันธ์โดยตรงต่องานทางด้านการบริหารงานบุคคล แผนงานทางด้านการพัฒนานักบริหารหรือพัฒนาการจัดการนี้ มักจะโยงต่อเนื่องมาจากผลของการจัดทำแผนงานที่เกี่ยวกับการพนักงาน ซึ่งมีจุดมุ่งหมายหรือเน้นที่จะชี้ให้เห็นถึงความจำเป็น หรือความต้องการเกี่ยวกับพนักงานระดับบริหารของหน่วยงาน ซึ่งมักจะมีความต่อเนื่องกับการวางแผนเพื่อความก้าวหน้าในสายงานด้วย และโดยเฉพาะอย่างยิ่ง มักจะต้องเกี่ยวข้องต่อเนื่องจากขั้นตอนของการประเมินผลการปฎิบัติ และมักจะทำควบคู่กันกับเรื่องของการเลื่ยนขั้นลำดับ ซึ่งในที่นี้ก่อนที่จะมาถึงการกำหนดเป็นแผนงานด้านการพัฒนาการจัดการได้นั้น การประเมินเกี่ยวกับตัวพนักงาน (Employee Evaluation) ที่จะได้รู้ถึงขอบเขตความสามารถที่จะมีโอกาสพัฒนาเป็นนักบริหารที่สูงขึ้นต่อไปได้มากน้อยเพียงใด จะเป็นสิ่งที่จำเป็นที่สุดที่ต้องทำโดยละเอียดก่อน สาระสำคัญที่จำเป็นจะต้องทราบประการหนึ่งก็คือ แผนการพัฒนาการจัดการที่ได้ผลดีนั้น จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องได้รับการสนับสนุนและได้รับความร่วมมือจากผู้บริหารระดับสูงสุด ปัญหานี้ […]