ขั้นตอนการประเมินผลการปฏิบัติงาน

การประเมินผลการปฏิบัติงาน (Performance Evaluation) การประเมินผลการปฏิบัติงาน หมายถึง กิจกรรมทางด้านการบริหารงานบุคคลที่เกี่ยวข้องกับวิธีการที่ซึ่งหน่วยงานพยายามที่จะกำหนดให้ทราบแน่ชัดได้ว่า พนักงานของตนสามารถปฏิบัติงานได้ ประสิทธิภาพดีมากน้อยเพียงใด การประเมินผลการปฏิบัติงานนี้ได้มีชื่อเรียกต่าง ๆ กันว่า Performance Review, Personnel Rating., Performance Evaluation, Performance Appraisal, Employee Appraisal, Em­ployee Evaluation ซึ่งในที่นี้จะเรียกว่าการประเมินผลการปฏิบัติงานหรือที่มาจากคำว่า “Per formance Appraisal.” กระบวนการของการประเมินผลการปฎิบัติงาน กระบวนการของการประเมินผลการปฏิบัติงานเป็นงานที่กระทำหลังจากที่ได้มีการคัดเลือกพนักงานเข้ามาทำงาน และได้มีการให้ทำงานไประยะเวลาหนึ่งตามที่กำหนดแล้ว ซึ่งผู้บริหารจะต้องติดตามประเมินผลดูเป็นระยะ ๆ ว่า ผลงานที่ปรากฏจากการกระทำของบุคคลดังกล่าวเป็นไปอย่างไร ซึ่งหากได้ทราบถึงผลงานที่ปฏิบัติออก มาและประเมินคุณค่าได้แล้ว ก็จะมีการเสริมหรือแก้ปัญหาให้คนงานมีประสิทธิภาพต่อไป คืออาจจะเลื่อนชั้นให้พร้อมผลตอบแทนที่ให้เพิ่มเติมในความดีความชอบ หรืออาจโยกย้ายสับเปลี่ยนหรือ แก้ไขด้วยวิธีการอื่น ๆ ซึ่งหากกระทำถูกต้อง นอกจากจะช่วยให้การผลิตการทำงานมีประสิทธิภาพตลอดไปแล้ว ยังช่วยสร้างเสริมขวัญและกำลังใจให้แก่พนักงานอีกด้วย ขั้นตอนการประเมินผลการปฏิบัติงาน ขั้นตอนต่าง ๆ ของการประเมินผลการปฏิบัติงาน มีดังนี้ คือ 1.  การกำหนดนโยบายเกี่ยวกับการประเมินผลการปฏิบัติงานให้เป็นแนวทางที่มีแบบแผนไว้ว่า จะกระทำเมื่อใด บ่อยครั้งเพียงใด ใครจะเป็นผู้รับผิดชอบในการประเมิน […]

การพัฒนานอกหน้าที่งาน

การพัฒนานอกหน้าที่งาน (Development Off-The-Job) อีกแนวทางหนึ่งของการพัฒนาการจัดการที่สำคัญมากก็คือ แผนงานที่เกี่ยวกับนอกหน้าที่งานตามลักษณะของแผนงานที่จัดขึ้นเช่นนี้ พนักงานจะได้มีโอกาสมีส่วนร่วมในเหตุการณ์ต่าง ๆ หลาย ๆ อย่าง ซึ่งจะกระทำภายใต้สภาพแวดล้อมที่ไม่ใช่อยู่ในหน้าที่การปฏิบัติงาน การจัดทำแผนการพัฒนา นอกหน้าที่งานนี้ มักจะจัดขึ้นโดยหวังผลที่จะให้มีการพัฒนาหรือเพิ่มความสามารถหรือเพิ่มความชำนาญในเชิงติดต่อและเพื่อการปรับทัศนคติในการบริหารการพัฒนาการจัดการสำหรับกลุ่มวิชาชีพต่าง ๆ เช่น นักวิทยาศาสตร์ นักวิศวกร หรืออื่น ๆ จะกระทำในอีกลักษณะหนึ่งคือส่วนมากมักจะมีการให้โอกาสกลับไปยังมหาวิทยาลัยหรือศูนย์การวิจัย เพื่อไปแลกเปลี่ยนสัมมนาความคิดเห็นหรือให้โอกาสลาไปทำงานชั่วระยะเวลาหนึ่ง ซึ่งอาจจะมีการไปศึกษาต่อต่าง ๆ ด้วย นอกจากนี้แผนการพัฒนาการจัดการตามวิธีนี้ยังอาจจะกระทำได้ จากแหล่งที่สำคัญที่สุดก็คือ มหาวิทยาลัยหรือการศึกษาทางการบริหารธรกิจต่าง ๆ ซึ่งส่วนมากมักจะมีโครงการให้การอบรมศึกษาต่อ หรือโครงการพัฒนานักบริหาร ซึ่งอาจจะจัดเป็นรายอาทิตย์ในช่วงการพักร้อนในฤดูร้อน หรือระยะ เวลาอื่น เช่น ในเวลาตอนเย็น ซึ่งจากการศึกษาพบว่าผู้บริหารส่วนมากมักจะชอบพอและมีความสนใจ และพอใจที่จะเข้าเลือกใช้วิธีนี้ ถึงขนาดบางหน่วยงานที่มีความเห็นด้วยกับวิธีนี้ ได้มีการส่งเสริมและออกค่าเล่าเรียนให้ผู้จัดการไปเป็นนักศึกษาในโครงการปริญญาโททางการบริหารธุรกิจด้วย