ความสำคัญของการบริหารงานบุคคลในอนาคต

การบริหารงานบุคคลนับได้ว่าเป็นเรื่องสำคัญดังที่ได้กล่าวมาแล้วในตอนแรก และเป็นเรื่องราว ที่มีเทคนิควิธีการที่จำเป็นต้องศึกษาให้เข้าใจเพื่อประโยชน์ในการดำเนินการให้ได้ผลในแง่ของประสิทธิภาพของการใช้พนักงานในทางการผลิตความสำคัญของงานด้านการบริหารงานบุคคลในองค์การ ในปัจจุบันนับว่าได้มีขอบเขตที่กว้างขวางและมีความหมายที่มีคุณค่ามากกว่าแต่ก่อน จนกระทั่งได้มีการใช้ชื่อใหม่ที่มีความหมายกว้างและลึกซึ้งกว่าว่าเป็นเรื่องราวทางด้านการจัดการที่เกี่ยวกับทรัพยากร มนุษย์ (Human Resource Management) ๆซึ่งมีความพยายามที่จะให้ตระหนักถึงความสำคัญและ ความจำเป็นที่จะสนใจปัจจัยทางด้านทรัพยากรมนุษย์ ซึ่งเป็นปัจจัยที่มีคุณค่าที่สุดทางการผลิตและ ในการดำเนินงานของค์การ ซึ่งมีผลต่อสังคมและมนุษย์ในสังคมที่จะอยู่ดีกินดียิ่งขึ้น การจัดการทรัพยากรมนุษย์นับว่าเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับทุกฝ่าย ซึ่งนอกจากจะมุ่งเน้นว่าองค์การจำเป็นจะต้องมีผู้บริหารงาน บุคคลที่เป็นผู้ชำนาญการทางด้านเทคนิคเข้ามาดำเนินการแล้ว ความสำคัญที่ยิ่งยวดกว่าและมีผลเท่าทวีกว่านั้นก็คือความรู้จักและรับผิดชอบของหัวหน้างานหรือผู้บริหารในฝ่ายปฏิบัติทุกคนที่นอกเหนือ ไปกว่าผู้ชำนาญการด้านบุคคลที่จะต้องเข้าใจวิธีการจัดการทรัพยากรมนุษย์ให้ถูกต้อง ผลรวมที่จะได้ จากการจัดการทรัพยากรมนุษย์ในความหมายของการบริหารงานบุคคลที่ถูกต้อง จึงจะปรากฏเห็นได้ อย่างแท้จริง ดังนั้นการบริหารงานบุคคลในสมัยปัจจุบัน จึงมิได้หมายความถึงการเป็นหน้าที่ของการเป็นผู้ชำนาญการด้านการบริหารงานบุคคลหรือฝ่ายการพนักงานเท่านั้น หากแต่เป็นเรื่องเกี่ยวพันกัน ที่ผลลัพธ์ที่ได้จากการปฏิบัติย่อมอยู่ที่นํ้าหนักความสำคัญของ Line Manager หรือผู้บริหารในทางปฏิบัติทุกคนที่ต้องมุ่งปฏิบัติเรื่องนี้ให้ได้ผลมากที่สุดเท่าที่พึงจะทำได้   แนวโน้มของวิวัฒนาการการเปลี่ยนแปลงในเรื่องนี้นับว่าปรากฎชัดแจ้งขึ้นในสังคมปัจจุบัน ทั้งนี้เพราะปัญหาอันสืบเนื่องมาจากกรณีต่าง ๆ ที่ได้เกิดขึ้นในภาวะแวดล้อมซึ่งมีการเปลี่ยนแปลงอย่างมากมาย ดังจะสรุปเป็นปัจจัยสำคัญเป็นข้อ ๆ ดังนี้ คือ 1.  ประเภทแรงงานที่เปลี่ยนแปลงไป นั่นคือแรงงานในปัจจุบันถ้าหากพิจารณาให้ถ่องแท้จะเห็นว่าประกอบด้วยแรงงานสตรีเป็นจำนวนมาก รวมตลอดจนถึงปัญหาแรงงานที่เป็นวัยเด็กต่าง ๆ ซึ่งนั่นย่อมหมายถึงการมีลักษณะประเภทของพนักงานที่จะต้องบริหารให้ถูกต้องเพื่อให้เกิดผลดีในการทำงาน ตลอดจนคุณภาพของผลผลิตพร้อม ๆ กับชีวิตความเป็นอยู่และคุณภาพของคนงานด้วย ปัญหาส่วนใหญ่ที่มุ่งเน้นและแก้ไขก็คือการพยายามจัดให้มีการพัฒนาองค์การเพื่อที่จะเปลี่ยนแปลงทัศนคติทั้งหญิงและชายเพื่อจะให้มีโอกาสในการก้าวหน้า ในทางปฏิบัติในบางครั้งการจัดสถานที่ดูแลบุตร หรือการให้สวัสดิการด้านโรงเรียน ก็เป็นสิ่งช่วยลดความตึงเครียดของทั้งสามีและภรรยาที่เกี่ยวกับการดูแลเด็กอ่อนก่อนวัยเรียน 2.  คุณภาพของชีวิตของผู้ใช้แรงงานที่เปลี่ยนแปลงไป จะเห็นได้ว่า […]

คนและหน้าที่งานทางการบริหารงานบุคคล

เป็นที่ยอมรับในทุกองค์การว่า คนนับเป็นบัจจัยที่สำคัญที่สุดสำหรับความสำเร็จของการปฏิบัติงานด้านต่าง ๆ และเป็นบัจจัยที่สำคัญที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติหน้าที่งานทางการบริหารงานบุคคลของผู้บริหาร ดังนั้น ในที่นี้เราจึงควรจะเข้าใจเกี่ยวกับเรื่องราวของคน ซึ่งลักษณะเนื้อแท้ของคนอาจ จะสรุปได้ดังข้อความต่อไปนื้ 1. มนุษย์ทุกคนจะมีทั้งเหตุผลและอารมณ์เป็นส่วนประกอบของพฤติกรรมเสมอ ดังนั้นการกระทำต่าง ๆ ของมนุษย์และพฤติกรรมที่แสดงออก จึงมักเป็นผลที่สืบเนื่องมาจากลักษณะทั้งสอง คือ การกระทำที่มีเหตุผลและควบคู่กับอีกส่วนหนึ่งที่มีผลสืบเนื่องมาจากอิทธิพลของอารมณ์ 2.  คนทุกคนมักจะปฏิบัติตอบหรือกระทำอันสืบเนื่องมาจากอิทธิพลจากภายในและเป็นผลประ กอบกับอิทธิพลจากสภาพสิ่งแวดล้อมภายนอกทั้งสองทาง Kurt Lewin ได้อธิบายไว้ว่าพฤติกรรมเท่ากับ Function ของ Pและ E (Behavior = f(P,E) หรือนั่นก็คือพฤติกรรมที่แสดงออกแต่ละครั้งจะเป็นไปอย่างไรนั้นย่อมขึ้นอยู่กับตัวบุคคล (people) และสภาพแวดล้อม (environment) ทั้งสองกรณี อาจจะเป็นไปได้ที่ในบางครั้งอาจจะมีนํ้าหนักหนักไปในทางใดทางหนึ่ง กล่าวคืออาจจะเป็นการแสดงพฤติกรรมเพราะสาเหตุจากภายในหรืออาจจะแสดงพฤติกรรม เพราะอิทธิพลจากสาเหตุภายนอก แต่พฤติกรรมส่วนใหญ่ก็มักจะเกิดผลมาจากอิทธิพลทั้งสองกรณีคือ ภายในตัวเขาและจากสภาพสิ่งแวดล้อมที่กระทบถึงเขาควบคู่กันเสมอ 3.  บุคคลแต่ละคนมักจะมีลักษณะพิเศษเป็นแบบเฉพาะของตัวแต่ละคนมักจะมีการกระทำ และความคิดต่าง ๆ ที่แตกต่างกันไปของตนเอง ทั้งนี้เพราะสืบเนื่องมาจาก ก. การมีลักษณะนิสัยท่าทางที่พัฒนามาแตกต่างกัน ข. การมีเชาว์ปัญญาและความสามารถของแต่ละคนที่แตกต่างกันหรือที่ได้มีการเรียนรู้มา แตกต่างกัน ค. การมีทัคนคติและความชอบพอของแต่ละคนที่พัฒนามาไม่เหมือนกัน ง. การมีสิ่งจูงใจของแต่ละคนที่พัฒนามาแตกต่างกัน ตามสภาพย่อมชี้ให้เห็นถึงอิทธิพลของปัจจัยต่าง […]

3. ความหมายของการบริหารงานบุคคล – ระบบการบริหารงานบุคคล

การบริหารงานบุคคลนี้แปลมาจากคำว่า Personnel Administration บ้าง  จากคำว่า  Management of Human Resources บ้าง จาก Personnel management บ้าง  และจาก  Modern Personnel Management บ้างก็มี  ส่วนคำในภาษาไทยนั้นนอกจากจะใช้คำว่า การบริหารงานบุคคลแล้ว บางทีก็เรียกว่า การบริหารงานเกี่ยวกับเจ้าหน้าที่บ้าง  การจัดการบุคคลบ้าง  ฝ่ายบุคลาการบ้าง  และฝ่ายจัดการบุคคลบ้าง อย่างไรก็ดี  ผู้เขียนรักในคำที่ใช้ว่า “การบริหารงานบุคคล” เพราะเป็นคำที่มีความหมายกว้างขวางดี  เหตุว่ามนุษย์นั้น  ถ้าพิจารณากันให้ถ่องแท้แล้วก็จะเห็นว่าเป็นขุมกำลังอันใหญ่หลวง และสำคัญยิ่งต่อการบริหารงานทั้งหลายทั้งปวง  ไม่ว่าจะเป็นองค์การขนาดเล็ก หรือองค์การขนาดใหญ่ที่มีลักษณะซับซ้อนเพียงใดก็ตาม  ปัจจัยบุคคล ยังคงความสำคัญเป็นเอก และเป็นเสมือนหัวใจและรากแก้วของการบริหารอยู่เสมอ สำหรับความหมายของการบริหารงานบุคคลนั้น  อาจให้ความหมายเชิงนิยามได้ดังนี้คือ  “การบริหารงานบุคคลเป็นกระบวนการวางนโยบาย  ระเบียบและกรรมวิธี ในการดำเนินการเกี่ยวกับตัวบุคคลที่ปฏิบัติงานในองค์การ  โดยให้ได้บุคคลที่เหมาะสม และบำรุงรักษาไว้ซึ่งทรัพยากรด้านมนุษย์ที่มีประสิทธิภาพ ให้มีปริมาณเพียงพอ  เพื่อให้การปฏิบัติงานบรรลุผลสำเร็จตามเป้าหมาย”

การบริหารงานบุคคลเป็นกระบวนการในการบริหาร

การบริหารงานบุคคลเป็นกระบวนการในการบริหาร  –  ตอนที่ 1 ระบบการบริหารงานบุคคล การจัดหาบุคคลและเจ้าหน้าที่มาปฏิบัติงานนั้น  เป็นลำดับขั้นที่สำคัญประการหนึ่งในกระบวนการบริหาร  และเป็นลำดับขั้นที่มีความสำคัญผูกพันต่อเนื่องกันดุจลูกโซ่ ดังจะเห็นได้ว่าในการบริหารนั้นเมื่อได้ทราบนโยบาย (Policy) เกี่ยวกับการดำเนินงานแล้ว  ก็จะต้องจัดวางแผน (Planning) ให้ถูกต้องเหมาะสมและสอดคล้องกับนโยบาย  เมื่อวางแผนงานแล้วก็จะต้องจัดองค์การ (Organizing) จัดแบ่งงานและแบ่งส่วนปฏิบัติงานให้ถูกต้องตรงกับนโยบายและแผนงาน จากนั้นก็ต้อง จัดหาบุคคลและเจ้าหน้าที่ (Staffing) ให้พอเหมาะพอดีกับความต้องการของลักษณะงานที่แบ่งไว้คือ  หาคนที่เหมาะสมกับงาน  จากนั้นก็เป็นลำดับขั้นของการอำนวยการ (Directing) เพื่อให้บุคคลและงานต่าง ๆ ดำเนินไปได้ด้วยดี  จึงจำต้องจัดให้มีการประสานงาน (Coordination) ขึ้น เพราะหากปล่อยให้งานในส่วนต่างๆ ดำเนินไปโดยลำพัง  งานไม่ประสานสอดคล้องกัน งานขององค์การก็จะไม่อาจบรรลุเป้าหมายได้โดยราบรื่น และการที่จะทราบว่างานดำเนินไปอย่างไร เพียงไร  ก็อาจอาศัยระบบควบคุม (Control) และการรายงาน (Reporting) เป็นเครื่องมือ การรายงานทำให้นักบริหารสามารถทราบถึงความก้าวหน้าและอุปสรรคข้อขัดข้องต่าง ๆ  เพื่อสามารถให้คำแนะนำข้อปรึกษาหารือและแก้ไขเหตุการณ์ต่าง ๆที่เป็นปัญหาได้ และในการดำเนินงานจำต้องอาศัยการเงินและระบบงบประมาณ (Budget) เป็นเครื่องมือช่วยเหลือ  เหตุว่าวิธีการงบประมาณนั้นนอกจากจะใช้ประโยชน์ในลักษณะแผนงานแล้ว  งบประมาณยังใช้เป็นเครื่องมือในการควบคุมงาน  การประสานงานและการรายงานได้อีกด้วย มีข้อน่าสังเกตอีกประการหนึ่งเกี่ยวกับความสำคัญของเรื่องบุคคลก็คือ  ไม่ว่าจะเป็นในลักษณะกระบวนการบริหาร (Process of […]