วิธีการฝึกอบรมที่สำคัญ

มีวิธีการฝึกอบรมให้ผู้บริหารเลือกหลายวิธี การเลือกควรคำนึงถึงค่าใช้จ่าย เวลา จำนวนคน ความรู้ที่จำเป็น พื้นเพเดิม ของผู้เข้าฝึกอบรม ฯลฯ ต่อไปนี้เป็นวิธีการฝึกอบรมที่สำคัญ 1. การฝึกอบรมพร้อม ๆ กับการทำงาน (On-the-Job) 2. ทดลองทำในห้องทดลอง (Vestibule Training) 3. วิธีการในชั้นเรียน (Classroom Methods) 3.1 การบรรยาย 3.2 การประชุมสัมมนา 3.3 การเล่นบทบาทสมมุติ 3.4 การสอนแบบโปรแกรม 3.5 การสอนโดยอาศัยคอมพิวเตอร์เข้าช่วย 4. วิธีอื่น ๆ 4.1 การสาธิต 4.2 การเรียนจากสถานการณ์จำลองและเกมส์ 1. การฝึกอบรมพร้อม ๆ กับการทำงาน การบกอบรมโดยวิธีดังกล่าวก็คือ การเรียนรู้ไปพร้อม ๆ กับการทำงานในชีวิตประจำวัน เช่น นาย ก. สำเร็จวิชา วิศวกรรมจากมหาวิทยาลัย และได้ทำงานในบริษัทแห่งหนึ่ง การฝึกอบรมของเขาก็คือ เขาได้รับคำแนะนำให้อ่านเอกสารจำนวนหนึ่งเกี่ยวกับลักษณะงานของบริษัทและงานที่เขาต้องทำ […]

กระบวนการของการฝึกอบรมพนักงาน

ในการดำเนินการเรื่องการฝึกอบรมนั้น ขั้นตอนของการดำเนินการจะมีดังนี้ คือ 1.  การพิจารณาความต้องการและปัญหาที่ต้องมีการฝึกอบรม ในขั้นนี้ก็คือ การตรวจสอบและพิจารณาให้ทราบถึงความจำเป็นและต้องการที่จะต้องมีการจัดการฝึกอบรมขึ้น ซึ่งอาจเป็นทั้งในแง่ที่ต้องทำ เพื่อการเพิ่มประสิทธิภาพ ความสามารถ ความชำนาญต่าง ๆ หรือเพื่อแก้ไขปัญหาบางอย่าง ดังที่ได้กล่าวมาแล้ว ขณะเดียวกัน ในขณะที่ทำการพิจารณาความต้องการนั้น สิ่งที่ต้องคิดพิจารณาและจัดทำควบคู่กันก็คือ การต้องพิจารณากำหนดมาตรฐานผลงานที่ต้องการและที่จะเป็นเครื่องวัดผลงานที่ประสงค์ จะให้ทำได้ตามที่ต้องการ นั่นก็คือ การต้องมีการวินิจฉัยว่าผลงานที่ควรจะทำได้นั้น คืออะไรและเป็น อย่างไร หรือควรจะต้องทำให้ได้ถึงขนาดไหน จากการพิจารณาความจำเป็นและต้องการการฝึกอบรม และการพิจารณากำหนดมาตรฐานผลงานที่ต้องการนี้เอง ก็จะนำไปสู่ขั้นตอนต่อไป คือ การกำหนดเป้าหมายของการฝึกอบรม 2.  เป้าหมายของการฝึกอบรม นั่นคือ การเขียนระบุเป้าหมายที่ต้องการจากการฝึกอบรมเพื่อให้ทราบชัดดังที่ได้กล่าวมาแล้วข้างต้น เพื่อให้มีจุดมุ่งประการต่าง ๆ ที่พึงจะต้องได้จากการฝึกอบรม ซึ่งการดำเนินการจัดการฝึกอบรมต่อไป ไม่ว่าจะเป็นการกำหนดหลักสูตร เนื้อหาวิชา ตลอดจนวิธีที่ใช้อบรม ก็ย่อมจะกระทำโดยยึดถือตามเป้าหมายดังกล่าวนี้ 3.  การกำหนดเนื้อหาและเรื่องที่จะอบรม หมายถึง การพิจารณาว่า เพื่อที่จะเสริมความรู้ความสามารถให้ได้ผลตามที่ต้องการนั้น จะต้องมีการอบรมเรื่องอะไรบ้าง รวมตลอดถึงการพิจารณาส่วนประกอบ ของเนื้อหาและเรื่องที่จะอบรม ซึ่งถ้ากล่าวอย่างง่าย ๆ ก็คือการจัดหลักสูตรและหัวข้อเรื่องที่จะอบรมนั่นเอง 4.  การกำหนดวิธีที่จะใช้อบรม และสื่อหรือเครื่องมือที่เหมาะสม […]

ชนิดของประสิทธิภาพการปฎิบัติงานของพนักงาน

จากการวิเคราะห์งานเป็นจำนวนมากโดย Gagne ได้ค้นพบข้อแตกต่างของประสิทธิภาพการปฏิบัติงาน (Performance) ไว้ 8 ชนิด ซึ่ง Mager and Beach ได้มาสรุปรวมให้ง่ายเข้าเป็น 5 ชนิด ของประสิทธิภาพของการปฏิบัติงาน ซึ่งมีดังนี้คือ 1.  ความสามารถในการแยกแยะเรื่องราว (Discrimination) นั่นคือการที่จะสามารถมองเห็นความแตกต่างระหว่าง 2 สิ่ง หรือมากกว่า หรือความสามารถในการที่จะบอกได้ถูกต้องว่างานสำคัญได้เสร็จสิ้นลุล่วงไปแล้ว หรือสามารถเห็นถึงความแตกต่างว่าอันใดถูกต้องและอันใดไม่ถูกต้อง ตัวอย่างเช่น ผู้ตรวจสอบคุณภาพในอุตสาหกรรมที่จะชี้ หรือวิเคราะห์ให้เห็นได้ว่าผลิตภัณฑ์อันใดบ้าง ที่ไม่ถูกต้องครบถ้วนตามมาตรฐาน 2.  ความสามารถในการวิเคราะห์ปัญหา (Problem Solving) นั่นคือกระบวนการของการสามารถหาคำตอบเพื่อแก้ปัญหาต่าง ๆ ความสามารถในการแก้ปัญหานี้จะกระทำได้โดยการสอนพนักงานให้เห็นความสัมพันธ์ระหว่างอาการและสาเหตุที่จะเกิดขึ้น ตลอดจนแนวทางแก้ไข ตัวอย่างเช่น พนักงานซ่อมโทรทัศน์มักจะได้รับการสอนให้เข้าใจข้อแตกต่างของอาการหรือความผิดปกติ และให้สามารถที่จะมีจุดเริ่มต้นในการวิเคราะห์สาเหตุที่โทรทัศน์ขัดข้องต่อไปได้ 3.  การสามารถจำเรื่องที่ผ่านมา (Recall) นั่นคือ การสามารถรู้ได้ว่าจะต้องทำอะไร หรือจะต้องใช้อะไร ตลอดจนสามารถทราบลำดับหรือระเบียบของการปฏิบัติงานของงานใดงานหนึ่ง สิ่งเหล่านี้ล้วนแต่เป็นประสิทธิภาพและความสามารถเชิงสติปัญญา ตัวอย่างเช่น พนักงานที่มีความ ชำนาญงานมาก ๆ ที่สามารถจำได้ว่าจะต้องทำอะไร ทำอย่างไร เมื่อได้มีการค้นพบปัญหาแล้ว […]

การฝึกอบรมพนักงาน

การฝึกอบรม (Training) หมายถึง  กระบวนการที่จัดขึ้นอย่างเป็นระบบ เพื่อที่จะหาทางให้มีการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม และ/หรือทัศนคติของพนักงาน เพื่อที่จะให้สามารถปฏิบัติงานได้ดีขึ้น ๆ ซึ่งจะนำไปสู่การเพิ่มผลผลิตและให้เกิดผลสำเร็จต่อเป้าหมายขององค์การ แผนการจัดอบรมที่เป็นทางการ นับได้ว่าเป็นความพยายามของผู้บังคับบัญชา หรือของเจ้าของกิจการที่ให้โอกาสต่อพนักงาน ในการที่จะให้เกิดความชำนาญในงานที่ทำนั้น ตลอดจนให้มีทัศนคติที่ดีและมีความรู้ความเข้าใจเพิ่มมากขึ้น ส่วนการเรียนรู้ (Learning) หมายถึง การกระทำ ๆ ซึ่งบุคคลใดบุคคลหนึ่งได้รับความชำนาญเพิ่มขึ้น หรือมีความรู้เพิ่มขึ้น และมีความสามารถมากยิ่งขึ้น ๆ ซึ่งเป็นผลทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในพฤติกรรมอย่างถาวร การจัดแผนฝึกอบรม นอกเหนือจากการจัดให้มีการปฐมนิเทศแล้ว เมื่อพนักงานได้ดำเนินงานมาระยะหนึ่ง และต่อเนื่องกันไปแล้ว อีกเรื่องหนึ่งที่เป็นเรื่องสำคัญของผู้บริหาร ตลอดจนหัวหน้างานทุกคนคือ เรื่องความจำเป็นในการที่จะต้องให้มีการฝึกอบรม การฝึกอบรมนับว่าเป็นงานสำคัญที่ผู้บริหารส่วนใหญ่ต้องให้ความสนใจเป็นอย่างยิ่ง ทั้งนี้ก็เพื่อที่จะให้เป็นหนทางที่องค์การสามารถสำเร็จ วัตถุประสงค์ได้ดีขึ้นด้วยกิจกรรมทางด้านการฝึกอบรมนี้ พนักงานเก่าก็จะมีโอกาสได้รับความรู้ความสามารถที่ดีตลอดเวลา ตามทันกับความเปลี่ยนแปลงและความก้าวหน้าใหม่ ๆ ทำนองเดียวกันกับพนักงานใหม่ก็จะมีโอกาสได้รับการฝึกฝนและพัฒนายิ่งขึ้น โดยเฉพาะในสังคมยุคปัจจุบันที่มีความก้าวหน้า ทางวิทยาการเกี่ยวกับการผลิตเป็นอันมากก็ยิ่งทำให้ความจำเป็นเรื่องการฝึกอบรม มีความสำคัญยิ่งกว่าแต่ก่อน ทั้งนี้เพราะเหตุประการต่าง ๆ คือ ก. งานบางอย่างได้มีขอบเขตขยายกว้างขึ้น ซึ่งทำให้คนงานจำเป็นต้องมีความรู้ความชำนาญมากขึ้นกว่าเดิม ข. ตรงข้ามในทางกลับกัน งานบางอย่างตามลักษณะงานที่เปลี่ยนไป อาจทำให้ต้องการใช้บุคคลที่มีความชำนาญที่แคบลง เฉพาะเรื่องเฉพาะอย่างมากขึ้น ค. นอกจากนี้งานหลาย ๆ […]