การพัฒนาความก้าวหน้าในสายงานอาชีพที่กระทำโดยองค์การ

ในปัจจุบันได้มีองค์การจำนวนมากที่ได้ให้ความสนใจเป็นพิเศษในการที่จะช่วยเหลือพนักงานของตนให้สามารถสร้างหนทางก้าวหน้าสำหรับอาชีพของเขาเหล่านั้นได้  แต่อย่างไรก็ตาม  กิจกรรมด้านนี้ที่ทำขึ้นจากฝ่ายองค์การก็ยังมีไม่มากนักเช่นกัน  ถ้าหากองค์การได้มีแนวนโยบายที่จะส่งเสริมและช่วยเหลือพนักงานในเรื่องนี้  ก็จำเป็นที่จะต้องมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับตัวคนงาน  เพื่อที่จะสามารถชี้แนวทางตลอดจนแนะนำหรือวางแผนความก้าวหน้าให้ได้ วิธีการที่จะได้ข้อเท็จจริงดังกล่าวนั้น Ddgar Schein ได้เคยวิเคราะห์สำรวจอาชีพของผู้สำเร็จปริญญาโททางด้านการบริหารธุรกิจจาก M.I.T.  จำนวน 44 คน  ซึ่งสำเร็จการศึกษาไปแล้ว 15 ปี  ผลการสำรวจได้ให้ข้อเท็จจริงที่สำคัญยิ่งสำหรับการเป็นแนวทางในการพัฒนาความก้าวหน้าในสายงานอาชีพเป็นอย่างมาก  ความก้าวหน้าในข้อเท็จจริงที่พบก็คือ ความก้าวหน้าในสายงานอาชีพของคนส่วนใหญ่จะอยู่ที่อาชีพของแต่ละคนที่ปักหลักอยู่นาน (Individual’s career “anchor”) หรืออาชีพที่สำคัญที่สุดที่ต้องการ (Major career need) Schein ได้ค้นพบแบบของอาชีพที่โน้มเอียงไปในทางต่าง ๆ 5 ประเภทด้วยกัน คือ 1.  พวกที่มีความสามารถในทางการบริหาร(Managerial Competence) เป้าหมายของอาชีพเบื้องต้นของกลุ่มนี้ก็คือ  จะพยายามพัฒนาความรู้ความสามารถในทางการบริหาร เช่น ความสามารถในเชิงเข้ากับคน  ตลอดจนความสามารถในการคิดวิเคราะห์และการฝึกให้มีความมั่นคงทางอารมณ์ ตำแหน่งต่าง ๆ ของบุคคลเหล่านี้ที่ดำรงอยู่หรือที่พยายามจะได้ก็คือ การเป็นผู้อำนวยการทางด้านการบริหารแผนงานของหน่วยงานหรือการเป็นผู้อำนวยการด้านการบริหารทั่ว ๆ ไป หรือเป็นประธานของบริษัท 2. กลุ่มที่มีความสามารถทางด้านเทคนิคและการปฏิบัติหน้าที่ต่าง ๆ (Technical/Funtional Competence) จุดโน้มเอียงของกลุ่มนี้ที่สนใจเป็นพิเศษก็คืองานที่ปฏิบัติอยู่จริง ๆ […]

การพัฒนาความก้าวหน้าในสายงานอาชีพของแต่ละบุคคล

การพัฒนาความก้าวหน้าของสายงานอาชีพของแต่ละคนนั้น มักจะประกอบไปด้วยขั้นตอนของกิจกรรมด้านต่าง ๆ ดังนี้ คือ ก.  การประเมินตนเอง (Self-Appraisal) ก่อนอื่นที่สุดทุก ๆ คนควรจะได้มีโอกาสรู้จักตัวเองเสียให้ดีก่อน  ซึ่งอาจจะทำได้โดยการให้คำปรึกษาหรือแนะแนว หรืออาจจะกระทำด้วยการทดสอบเพื่อที่จะให้แต่ละคนได้รู้จักและประเมินถึงความสามารถ  ตลอดจนจุดอ่อนจุดแข็งของตัวเองออกมาให้เห็นได้ตามสมควร  ซึ่งจะช่วยให้บุคคลนั้นได้มีการตระหนักถึงตนเองในแง่ที่เป็นจริงมากขึ้นก่อนที่จะกำหนดแผนงานพัฒนาความก้าวหน้าในอาชีพของตนต่อไป ข. การเสาะแสวงหาข้อมูลที่เกี่ยวกับอาชีพต่าง ๆ (Information gathering) ในขั้นนี้ก็คือ  การต้องรู้จักสนใจค้นคว้าเสาะหาข้อมูลต่าง ๆ ที่มีอยู่  และที่เป็นโอกาสในปัจจุบัน ซึ่งจะช่วยให้สามารถมองเป็นจากจุดของตัวเอง  ที่จะมีทิศทางเติบโตไปในทางใดบ้างของอาชีพงานต่าง ๆ ค.  การกำหนดเป้าหมาย (Goal Selection) ภายหลังจากที่ได้เก็บข้อมูลแล้ว และได้ประเมินถึงโอกาสในความก้าวหน้าต่าง ๆ ในอาชีพแล้วผู้ต้องการความก้าวหน้าในอาชีพก็ควรจะได้มีการกำหนดเป้าหมายที่พึงประสงค์ในทางอาชีพของตนเอาไว้  ซึ่งเป้าหมายในที่นี้อาจจะมีการกำหนดในเชิงของปริมาณ เช่น ตั้งเป้าที่จะรับงานไปถึงอายุระดับหนึ่ง  ซึ่งควรจะได้เงินเดือนขนาดหนึ่งที่ต้องการ  หรือการกำหนดจำนวนผู้ใต้บังคับบัญชา ณ ระดับหนึ่งของอายุของการทำงาน  หรืออาจจะระบุถึงตำแหน่งที่ต้องการตามอายุที่กำหนดไว้  หรือจะกำหนดจุดเริ่มต้นของการที่จะแยกออกไปประกอบธุรกิจของตนเองด้วย เนื่องจากแต่ละคนมีลักษณะที่แตกต่างกัน  ดังนั้นเป้าหมายของแต่ละคนจึงมักจะไม่เหมือนกันแต่อย่างไรก็ตาม  เป้าหมายที่กำหนดไว้นี้ของแต่ละคน  ในความหมายที่ถูกต้องแล้ว  ไม่ควรที่จะยึดถือเป้าหมายจนขาดความคล่องตัวและไม่ควรเป็นเป้าหมายที่สูงจนเกินไปที่ยากที่จะมีโอกาสทำได้สำเร็จ หลักของการวางแผ่นความก้าวหน้าในสายงานอาชีพจะดีเพียงใดนั้น  ย่อมขึ้นอยู่กับความรู้ความสามารถของแต่ละคนที่มีอยู่  เมื่อเปรียบเทียบกับคนอื่น ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการที่ได้รู้ถึงความเป็นไปของอุตสาหกรรมหรือธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับงานที่ต้องทำอยู่ […]