การสรรหาบุคคลเข้าปฏิบัติงานจากภายนอกและภายในองค์การ

การสรรหาบุคคลเข้าปฏิบัติงาน ในการสรรหาบุคคลเข้าปฏิบัติงานนั้น ประการแรกจะต้องทราบถึงความต้องการของกำลังคนที่จะใช้ในการปฏิบัติงาน ซึ่งในการนี้จำเป็นต้องมีแผนเกี่ยวกับการบริหารงานบุคคลของแต่ละองค์การ  ทั้งนี้เพื่อให้การสรรหาบุคคลสอดคล้องกับแผนการบริหารงานบุคคลที่กำหนดไว้ อย่างไรก็ดี  ในการสรรหาบุคคลนั้น อาจนำแนกถึงแหล่งที่จะสรรหาบุคคได้เป็น 2 แหล่งใหญ่ ๆ คือ 1.  สรรหาบุคคลจากภายในองค์การ การสรรหาโดยวิธีนี้นับว่าเป็นผลดีในด้านที่จะทำนุบำรุง และส่งเสริมกำลังใจในการทำงานของผู้ปฏิบัติงานในองค์การ  เพราะจะทำให้มีกำลังใจในการปฏิบัติงาน และมีความจงรักภักดีต่อองค์การมากขึ้น  ตามวิธีการนี้คือ  เลือกสรรด้วยวิธีคัดเลือกหรือเลื่อนชั้นบุคคลในองค์การ  โดยพิจารณาจากบุคคลที่มีความรู้ความสามารถและเหมาะสม  วิธีการเช่นนี้มีกระทำอยู่ทั่วไปในวงราชการ เช่น การสอบเลื่อนชั้น จากชั้นจัตวาเป็นชั้นตรีหรือจากชั้นตรีเป็นชั้นโท และ/หรือจากชั้นโทเป็นชั้นเอก เป็นต้น 2.  สรรหาบุคคลจากภายนอกองค์การ วิธีการนี้เป็นการสรรหาบุคคลจากที่อื่นเข้ามาปฏิบัติงานในองค์การ  และวิธีนี้อาจจะทำได้อย่างกว้างขวาง  เช่น การรับโอนข้าราชการจากหน่วยสังกัดอื่นที่มีความรู้ความสามารถดี  เข้ามาปฏิบัติงานในองค์การของเราเอง  วิธีการเช่นนี้ เจ้าสังกัดเดิมมักไม่เต็มใจที่จะให้โอนบุคคลที่มีความรู้ความสามารถดีไปปฏิบัติงาน  อย่างไรก็ดี  วิธีการนี้หากผู้ที่จะโอนสามารถได้เลื่อนตำแหน่งให้สูงขึ้น ผู้บังคับบัญชาก็มักจะยินยอมให้โอน  เพราะเป็นความก้าวหน้าของผู้นั้น

การสรรหาและการเลือกสรรบุคคลเข้าปฏิบัติงานในองค์การ

3.  การสรรหาบุคคลและการเลือกสรร ในการสรรหาบุคคลเข้าปฏิบัติงานและการเลือกสรร  จำต้องอาศัยการวางแผนเป็นเครื่องมือในการจัดเตรียมและประกาศการสอบแข่งขันและคัดเลือก  แต่ในทางปฏิบัติโดยเฉพาะในวงราชการมักจะกระทำซ้ำๆ ซาก ๆทุกปี  ไม่พยายามที่จะเปลี่ยนแผลงหรือปรับปรุงให้ดีขึ้น  ความพยายามที่จะทำให้การสอบแข่งขันเป็นอุปกรณ์ที่ทรงประสิทธิภาพ  เช่นใช้เป็นการเปรียบเทียบผลปฏิบัติงานของบุคคลที่ได้รับการคัดเลือกเข้าปฏิบัติงานกับคะแนนที่สอบเข้ามาได้  เพื่อใช้ในการปรับปรุงวิธีการสอบให้ได้ผล  มีความรู้ ความสามารถ ยิ่งขึ้นนั้นไม่ค่อยมีผู้คิดปฏิบัติกันเหตุการณ์ที่เป็นอยู่จึงมีลักษณะเสมือนการผูกขาดตลาดแรงงาน  ซึ่งมีผลเป็นการดึงผู้สำเร็จการศึกษาจากโรงเรียนและมหาวิทยาลัยไปไว้ในวงราชการเสียหมด  อันทำให้การวางแผนตัวบุคคลไร้ความหมาย ปรากฎการณ์นี้จะหมดไปเมื่อรัฐบาลต้องแข่งขันกับธุรกิจของเอกชนในเรื่องการสรรหาบุคคลเข้าทำงาน  และเมื่อนั้นรัฐบาลก็จำเป็นต้องวางแผนการบริหารบุคคลให้เข้มแข็งยิ่งขึ้น  เช่น  ต้องแสวงหาแหล่งสนองความต้องการกำลังคนใหม่ ๆ  ต้องจัดการพัฒนาข้าราชการให้มีคุณวุฒิสูงขึ้น  และต้องพยายามจูงใจบุคคลต่าง ๆ เป็นพิเศษ  เพื่อให้มีคนสนใจและรักการรับราชการ เป็นต้น