การพัฒนานอกหน้าที่งาน

การพัฒนานอกหน้าที่งาน (Development Off-The-Job) อีกแนวทางหนึ่งของการพัฒนาการจัดการที่สำคัญมากก็คือ แผนงานที่เกี่ยวกับนอกหน้าที่งานตามลักษณะของแผนงานที่จัดขึ้นเช่นนี้ พนักงานจะได้มีโอกาสมีส่วนร่วมในเหตุการณ์ต่าง ๆ หลาย ๆ อย่าง ซึ่งจะกระทำภายใต้สภาพแวดล้อมที่ไม่ใช่อยู่ในหน้าที่การปฏิบัติงาน การจัดทำแผนการพัฒนา นอกหน้าที่งานนี้ มักจะจัดขึ้นโดยหวังผลที่จะให้มีการพัฒนาหรือเพิ่มความสามารถหรือเพิ่มความชำนาญในเชิงติดต่อและเพื่อการปรับทัศนคติในการบริหารการพัฒนาการจัดการสำหรับกลุ่มวิชาชีพต่าง ๆ เช่น นักวิทยาศาสตร์ นักวิศวกร หรืออื่น ๆ จะกระทำในอีกลักษณะหนึ่งคือส่วนมากมักจะมีการให้โอกาสกลับไปยังมหาวิทยาลัยหรือศูนย์การวิจัย เพื่อไปแลกเปลี่ยนสัมมนาความคิดเห็นหรือให้โอกาสลาไปทำงานชั่วระยะเวลาหนึ่ง ซึ่งอาจจะมีการไปศึกษาต่อต่าง ๆ ด้วย นอกจากนี้แผนการพัฒนาการจัดการตามวิธีนี้ยังอาจจะกระทำได้ จากแหล่งที่สำคัญที่สุดก็คือ มหาวิทยาลัยหรือการศึกษาทางการบริหารธรกิจต่าง ๆ ซึ่งส่วนมากมักจะมีโครงการให้การอบรมศึกษาต่อ หรือโครงการพัฒนานักบริหาร ซึ่งอาจจะจัดเป็นรายอาทิตย์ในช่วงการพักร้อนในฤดูร้อน หรือระยะ เวลาอื่น เช่น ในเวลาตอนเย็น ซึ่งจากการศึกษาพบว่าผู้บริหารส่วนมากมักจะชอบพอและมีความสนใจ และพอใจที่จะเข้าเลือกใช้วิธีนี้ ถึงขนาดบางหน่วยงานที่มีความเห็นด้วยกับวิธีนี้ ได้มีการส่งเสริมและออกค่าเล่าเรียนให้ผู้จัดการไปเป็นนักศึกษาในโครงการปริญญาโททางการบริหารธุรกิจด้วย

การพัฒนาความก้าวหน้าในสายงานอาชีพที่กระทำโดยองค์การ

ในปัจจุบันได้มีองค์การจำนวนมากที่ได้ให้ความสนใจเป็นพิเศษในการที่จะช่วยเหลือพนักงานของตนให้สามารถสร้างหนทางก้าวหน้าสำหรับอาชีพของเขาเหล่านั้นได้ แต่อย่างไรก็ตามกิจกรรม ด้านนี้ที่ทำขึ้นจากฝ่ายองค์การก็ยังมีไม่มากนักเช่นกัน ถ้าหากองค์การได้มีแนวนโยบายที่จะส่งเสริม และช่วยเหลือพนักงานในเรื่องนี้ ก็จำเป็นที่จะต้องมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับตัวคนงาน เพื่อที่จะสามารถชี้แนวทางตลอดจนแนะนำหรือวางแผนความก้าวหน้าให้ได้ วิธีการที่จะได้ข้อเท็จจริงดังกล่าวนั้น Edgar Schein(2)  ได้เคยวิเคราะห์สำรวจอาชีพของผู้สำเร็จปริญญาโททางด้านการบริหารธุรกิจจาก M.I.T. จำนวน 44 คน ซึ่งสำเร็จการศึกษาไปแล้ว 15 ปี ผลการสำรวจได้ให้ข้อเท็จจริงที่สำคัญยิ่งสำหรับการเป็นแนวทางในการพัฒนาความก้าวหน้า ในสายงานอาชีพเป็นอย่างมาก ความก้าวหน้าในข้อเท็จจริงที่พบก็คือ ความก้าวหน้าในสายงานอาชีพของคนส่วนใหญ่จะอยู่ที่อาชีพของแต่ละคนที่ปักหลักอยู่นาน (Individual’s career “anchor”) หรืออาชีพที่สำคัญที่สุดที่ต้องการ (Major career need) Schein ได้ค้นพบแบบของอาชีพที่โน้มเอียงไปในทางต่าง ๆ 5 ประเภทด้วยกัน คือ (1) Engene Jennings, “Success Chess’ Management of Personnel Quarterly, Fall 1970, PP. 2-8 (2) Edgar Schein, “How career Anchors’ Hold […]

การพัฒนาความก้าวหน้าในสายงานอาชีพของแต่ละบุคคล

การพัฒนาความก้าวหน้าของสายงานอาชีพของแต่ละคนนั้น มักจะประกอบไปด้วยขั้นตอนของกิจกรรมด้านต่าง ๆ ดังนี้ คือ ก. การประเมินตนเอง ข. การเสาะแสวงหาและรวบรวมเรื่องราวที่เกี่ยวกับอาชีพ ค. การตัดสินใจเลือกเป้าหมายอาชีพ ง. การวางแผนและปฏิบัติตามแผนในเรื่องอาชีพ ก. การประเมินตนเอง (Self-Appraisal) ก่อนอื่นที่สุดทุก ๆ คนควรจะได้มีโอกาสรู้จักตัวเองเสียให้ดีก่อน ซึ่งอาจจะทำได้โดยการให้คำปรึกษาหรือแนะแนว หรืออาจจะกระทำด้วยการทดสอบเพื่อที่จะให้แต่ละคนได้รู้จักและประเมินถึงความสามารถ ตลอดจนจุดอ่อนจุดแข็งของตัวเองออกมาให้เห็นได้ตามสมควร ซึ่งจะช่วยให้บุคคลนั้น ได้มีการตระหนักถึงตนเองในแง่ที่เป็นจริงมากขึ้นก่อนที่จะกำหนดแผนงานพัฒนาความก้าวหน้าในอาชีพของตนต่อไป ข. การเสาะแสวงหาข้อมูลที่เกี่ยวกบอาชีพต่าง ๆ (Information gathering) ในขั้นนี้ก็คือ การต้องรู้จักสนใจค้นคว้าเสาะหาข้อมูลต่าง ๆ ที่มีอยู่ และที่เป็นโอกาสในบปัจจุบัน ซึ่งจะช่วยให้สามารถมองเห็นจากจุดของตัวเอง ที่จะมีทิศทางเติบโตไปในทางใดบ้างของอาชีพงาน ต่าง ๆ ค. การกำหนดเป้าหมาย (Goal Selection) ภายหลังจากที่ได้เก็บข้อมูลแล้ว และได้ประเมินถึงโอกาสในความก้าวหน้าต่าง ๆ ในอาชีพแล้ว ผู้ต้องการความก้าวหน้าในอาชีพก็ควรจะได้มีการกำหนดเป้าหมายที่พึงประสงค์ในทางอาชีพของตนเอาไว้ ซึ่งเป้าหมายในที่นี้อาจจะมีการกำหนดในเชิงของปริมาณ เช่นตั้งเป้าที่จะรับงานไปถึงอายุ ระดับหนึ่ง ซึ่งควรจะได้เงินเดือนขนาดหนึ่งที่ต้องการ หรือการกำหนดจำนวนผู้ใต้บังคับบัญชา ณระดับหนึ่งของอายุของการทำงาน หรืออาจจะระบุถึงตำแหน่งที่ต้องการตามอายุที่กำหนดไว้ หรือจะกำหนดจุดเริ่มต้นของการที่จะแยกออกไปประกอบธุรกิจของตนเองด้วย […]

ผู้รับผิดชอบในการจัดการพัฒนาในสายงานอาชีพ

การจัดการพัฒนาให้ความก้าวหน้าในสายงานอาชีพนั้น มีบุคคลที่เกี่ยวข้องกันทั้ง 3 ฝ่าย คือ ฝ่ายที่สำคัญที่สุดฝ่ายแรก คือตัวพนักงานเอง กล่าวคือ พนักงานจะต้องสามารถกำหนดทิศทางเป้าหมายของตัวเกี่ยวกับอาชีพให้ต่อเนื่องมาจากพื้นฐานทางครอบครัว ตลอดจนขั้นตอนความก้าวหน้าของชีวิตจนกระทั่งถึงขั้นตอนความก้าวหน้าในอาชีพการงาน เพื่อให้สมบูรณ์ตามแผนการชีวิตของตนเอง ฝ่ายที่สองที่จำเป็นก็คือ จะต้องมีผู้ชำนาญการ ทางด้านการบริหารงานบุคคล ที่จะช่วยคอยแนะนำหรือคอยชี้ช่องทางและให้คำปรึกษาแก่พนักงาน ที่ต้องการจะพัฒนาตนเองไปในอาชีพต่าง ๆ ดังกล่าว นอกจากนี้ฝ่ายที่สามที่จำเป็นคือ ผู้บังคับบัญชา หรือหัวหน้างาน ซึ่งนับว่ามีความสำคัญอย่างยิ่ง และเป็นผู้ใกล้ชิดโดยตรงที่จะเป็นผู้ให้คำแนะน่า ปรึกษา ตลอดจนการให้การสนับสนุนเพื่อความก้าวหน้าของเขา โดยปกติแล้ว การจัดแผนพัฒนาในสายงานอาชีพนั้น โดยทั่วไปมักจะเป็นกระบวนการที่ไม่เป็นทางการระหว่างหัวหน้างานและพนักงานที่กระทำอยู่ตลอดเวลา

ประโยชน์ของการพัฒนาสายงานอาชีพ

ทำนองเดียวกันกับงานด้านการบริหารงานบุคคลอื่น ๆ การพัฒนาความก้าวหน้าในสายงานอาชีพ ก็เป็นสิ่งที่เป็นประโยชน์ต่อบุคคลและองค์การ ถ้าหากได้มีการจัดทำสิ่งเหล่านี้ได้ถูกต้อง เหตุผลที่ได้มีการจัดการพัฒนาความก้าวหน้าในสายงานอาชีพก็เพราะเหตุผลต่อไปนี้ คือ 1.  เพื่อช่วยให้พนักงานและองค์การบรรลุถึงวัตถุประสงค์ได้ร่วมกัน วัตถุประสงค์ ของการมีการจัดพัฒนาความก้าวหน้าในสายงานอาชีพก็คือ เพื่อที่จะให้มีการจัดและกำหนดแผนการเติบโตของพนักงานแต่ละคน ที่จะมีโอกาสสำเร็จผลในการทำงานตามเป้าหมายต่าง ๆ ขององค์การได้สำเร็จ วิธีหนึ่งที่องค์การจะช่วยให้มีความมั่นใจในเป้าหมายของความก้าวหน้าแต่ละคนนื้ก็คือ การให้ข้อ สัญญาว่า ถ้าหากพนักงานคนนั้นสามารถทำงานได้สำเร็จผลตามที่องค์การกำหนดไว้แล้ว บุคคลผู้นั้น ก็จะมีโอกาสสำเร็จผลในอันที่จะก้าวหน้าในส่วนตัวของตัวเขาเองด้วย โดยปกติทั่วไปแล้วพนักงานที่มีความรู้ความสามารถ มักจะต้องการที่จะควบคุมความก้าวหน้าของอาชีพของตัวเองตลอดเวลา ดังนั้น ถ้าหากเป้าหมายนี้ได้บรรลุถึงวัตถุประสงค์และมีโอกาสที่จะให้เขาเข้าใจถึงระดับขั้นตอนของการเติบโตแล้ว พนักงานก็ย่อมจะมีความพึงพอใจ และผลผลิต ตลอดจนความสำเร็จในงานก็จะปรากฏ นอกจากนี้ยังช่วยให้ผู้นั้นมีความภาคภูมิใจในความสามารถของตัวเองด้วย 2.  เพื่อที่จะเป็นเครื่องมือป้องกันมิให้มีการหวงคนเอาไว้ จากที่ได้พบโดยทั่วไปจะเห็นว่า เมื่อหัวหน้างานได้สร้างทีมงานของตัวเองขึ้นมาแล้ว เมื่อสร้างสำเร็จเมื่อใดก็มักจะไม่ยอมที่จะให้คนของตัวออกไปอยู่กับจุดอื่น ทั้งนี้ก็เพราะว่าการมีคนเก่าที่เป็นงานอยู่กับตนนั้น ย่อมเป็นการสะดวกกว่า แต่กลับเป็นปัญหาที่เป็นอุปสรรค ทำให้คนที่ถูกดึงเอาไว้นั้น พลาดโอกาสที่จะได้รับการเลื่อนชั้น หรือพัฒนาประสบการณ์ใหม่ ๆ ในจุดอื่นต่อไป และในที่สุดพนักงานบางคนก็กลับกลายเป็นคนที่มี ความชำนาญหรือมีความสามารถมากเกินไป แต่ยังคงต้องทำงานในที่เก่าที่ถูกแล้วเขาควรจะได้รับการเลื่อนชั้นไปในจุดอื่น ซึ่งจะให้ผลต่อองค์การในส่วนรวมคุ้มค่ากว่า ในกรณีที่หัวหน้างานดึงเอาคนของ ตนไว้เช่นนี้ ย่อมจะก่อให้เกิดผลเสียที่พนักงานนั้นจะเกิดความกระอักกระอ่วน ทั้งกับตัวเขาเองและเป็นปัญหาติดขัดกับองค์การด้วยเช่นกัน ดังนั้นการจัดแผนการพัฒนาความก้าวหน้าในสายงานอาชีพ จึงเท่ากับเป็นเครื่องป้องกันมิให้มีการกระทำดังกล่าว อย่างไรก็ตาม เนื่องจากปัญหาต้นทนได้บีบคั้นเป็นอันมาก ในระยะปัจจุบันซึ่งประสิทธิภาพ […]