วิธีการสรรหาบุคคลในประเทศที่กำลังพัฒนา

ในด้านการบริหารงานบุคคลของประเทศที่กำลังพัฒนา  ซึ่งจะพบเห็นระบบและวิธีการนี้โดยทั่วไปในประเทศต่าง ๆ ของทวีปยุโรปและเอเชียบางประเทศ เช่น ไทย มาเลเซีย และอินโดนีเซีย ฯลฯ เป็นต้น ลักษณะสำคัญส่วนใหญ่ของระบบนี้  ได้แก่ 1.  การสรรหาบุคคลเข้าปฏิบัติงานโดยเฉพาะข้าราชการ  พิจารณาเฉพาะในกลุ่มบุคคลที่มีการศึกษาสูง  เฉพาะอย่างยิ่งมีความนิยมยกย่องผู้จบการศึกษามาจากต่างประเทศ  นอกจากนี้พิจารณาจากผู้ที่ได้รับปริญญาหรือประกาศนียบัตรมากกว่าดูการปฏิบัติเป็นการเฉพาะเป็นสำคัญ 2.  การแต่งตั้งผู้ปฏิบัติงาน  มักจะได้จากผู้สำเร็จการศึกษาใหม่ ๆ จากวิทยาลัยและมหาวิทยาลัยเป็นส่วนใหญ่  ทำให้ขาดประสบการณ์ในการปฏิบัติงาน 3.  การฝึกฝนอบรมมีความพึงใจในวิชาชีพ  และงานเทคนิคโดยเฉพาะ 4.  การแต่งตั้งผู้ปฏิบัติงาน  มักกระทำจากระดับต่ำก่อนแล้วจึงเลื่อนขั้นไปสู่อันดับสูงในโอกาสหลัง ระบบและวิธีการสรรหาบุคคลเข้าปฏิบัติงานของประเทศที่กำลังพัฒนาดังกล่าว อาจมีผลมาจากทายะสมบัติทางสังคมและการเมือง  จารีตประเพณีและระบบความเชื่อถือต่าง ๆ ซึ่งสืบเนื่องมาจากการปกครองระบอบสมบูรณาญาสิทธิราช  อันเป็นระบอบเก่าแก่และมีการพัฒนาการในทางการเมืองอันเชื่องช้า  ดังนั้นระบบและวิธีการจึงแตกต่างไปกว่าประเทศที่พัฒนาแล้ว

วิธีการสรรหาบุคคลในประเทศที่พัฒนา

ในด้านการบริหารงานบุคคลของประเทศที่พัฒนาแล้ว  ซึ่งจะพบเห็นระบบและวิธีการนี้ในสหรัฐอเมริกาและแคนาดาเป็นส่วนใหญ่  มีลักษณะเด่นดังนี้ คือ 1.  มีการเคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลงจากอาชีพราชการไปสู่วงการธุรกิจ หรือ จากวงการธุรกิจไปสู่วงงานรัฐบาล และ/หรือจากอาชีพหนึ่งไปสู่อีกอาชีพหนึ่งในอัตราสูงมาก 2.  อาชีพการรับราชการนั้นมีอยู่ในวงจำกัด เช่น การรับราชการในต่างประเทศ การสอนหนังสือและงานสังคมสงเคราะห์ ฯลฯ เป็นต้น 3.  การฝึกอบรมในวิชาการเฉพาะอย่าง มักกระทำในรูปของการศึกษาทั่วไป เพื่อเตรียมตัวสำหรับงานสาธารณะ 4.  การสอบคัดเลือกบุคคลเข้าปฏิบัติงานมีลักษณะเป็นไปในทำนองเพื่อการนำไปใช้ได้จริง ๆ และทำการสอบเฉพาะเจาะจงในลักษณะงานที่จะต้องปฏิบัติมากกว่าการที่จะทดสอบความรู้อย่างกว้าง ๆ เป็นการทั่วไป 5.  การแต่งตั้งบุคคลเข้าปฏิบัติงานกระทำได้เกือบทุกระดับ หากผู้นั้นมีคุณสมบัติเหมาะสมกับความต้องการของตำแหน่งนั้น ๆ