การติดตามผลการปฏิบัติงาน

แม้ว่าในช่วงการสร้างแผนปฏิบัติการ และการวางแผนลงมือปฏิบัติการ ท่านได้กระทำดีที่สุดด้วยการป้องกันทุกอย่างที่อาจจะเป็นข้อผิดพลาด แล้วก็ตาม ท่านยังไม่สามารถทอดภาระการลงมือปฏิบัติให้พนักงานทั้งหมด แล้วลืมเรื่องไปโดยสิ้นเชิง ตามที่มีคติโบราณกล่าวว่า ‘‘แม้แผนที่วางอย่างดีที่สุดก็ยังไขว้เขวผิดพลาดได้” ท่านจำเป็นต้องติดตามการปฏิบัติการอย่างใกล้ชิดในสิ่งซึ่งท่านได้ริเริ่มไว้แล้ว เพื่อให้เกิดความแน่ใจในความสำเร็จของการลงมือปฏิบัติตามแผน นับว่าเป็นความสำคัญยิ่งที่จะต้องสร้าง และรักษาไว้ซึ่งบรรยากาศทางบวกกับพนักงานทั้งหลายในช่วงที่ดำเนินการขั้นนี้ และต้องให้พลังเสริมทางบวกให้มากที่สุดกับพนักงานเหล่านั้น เป็นที่หวังว่าความสัมพันธ์ที่ดีเช่นนี้ได้สร้างขึ้นก่อนหน้านี้แล้ว โดยอาศัยทักษะ และทัศนคติของการบริหารเชิงประสานสัมพันธ์ อย่างไรก็ดีถ้าหากความสัมพันธ์ดังกล่าว ได้ถูกสร้างขึ้นก่อนแล้ว ก็จงอย่าพยายามเปลี่ยนรูปกระแสความสัมพันธ์ภายใน ๑ คืน นักบริหารซึ่งใช้วิธีในแบบโบราณจัดการกับพนักงานด้วยลักษณะอัตตาธิปไตย และทันทีก็เปลี่ยนเป็นเห็นแก่กลุ่ม ย่อมปรากฏให้เห็นว่ามีลักษณะชอบบังคับผู้อื่น ถ้าเป็นเช่นนี้ พันธะความ ไว้วางใจจะถูกทำลาย การที่จะหลีกให้พ้นจาก “ช่องว่างของความไม่เชื่อใจกัน” จงใช้ความคิดเห็นของการบริหารเชิงประสานสัมพันธ์เป็นครั้งคราว ให้เหมือนเป็นธรรมชาติ ไม่ว่าในกรณีใดก็ตาม ในช่วงของกระบวนการติดตามงานควรจะต้องคำนึงถึงข้อเสนอแนะต่าง ๆ ต่อไปนี้ ประการแรก เพื่อกันมิให้เกิดปัญหา จงเอาตัวท่านสวมอยู่ในตำแหน่งของพนักงานของท่าน ภาษิตเก่า ๆ ที่ว่า “จงอย่าเพิ่งวิพากษ์วิจารณ์บุคคลใด จนกว่าคุณจะได้ลองเดินไกล ๑ ไมล์ด้วยรองเท้าของเขา” (จนกว่าคุณจะเอาใจเขามาใส่ใจคุณ) เป็นภาษิตที่ใช้สำหรับการสร้างสัมพันธภาพกับพนักงาน กรอบความคิดเช่นนี้ให้ทั้งความรู้สึกและความเข้าใจแก่ท่าน ในปัญหาของพนักงาน ยิ่งท่านสามารถเข้ากับพนักงานได้เหมือนสวม ‘‘รองเท้า” คู่เดียวกันกับของพนักงาน ท่านก็ยิ่งจะสามารถทำงานในการแก้ปัญหาอนาคต และสมปรารถนาในความต้องการที่เพิ่มขึ้น หรือความต้องการที่เปลี่ยนแปลงไป […]