ประโยชน์ของการจัดผลประโยชน์ตอบแทนและบริการที่ให้แก่พนักงาน

ข้อดีที่เกิดผลแก่พนักงานคือ 1.  ช่วยเสริมหรือยกระดับขวัญให้ดีขึ้น 2.  ทำให้เกิดความรู้สึกว่าได้รับการดูแลและมีสภาพความเป็นอยู่ดีขึ้น 3.  ช่วยลดความไม่พึงพอใจต่าง ๆ ให้น้อยลง 4.  ช่วยให้มีความสัมพันธ์ที่ดีต่อฝ่ายจัดการ 5.  ช่วยทำให้เกิดความมั่นคงในหน้าที่การงาน และทำให้มีรายได้สูงขึ้น 6.  เป็นโอกาสส่งเสริมให้มีส่วนร่วมจากพนักงานในทางสร้างสรรค์มากขึ้น 7.  ช่วยให้มีความเข้าใจถึงนโยบายและจุดมุ่งหมายของบริษัทได้ดีขึ้น 8.  ช่วยให้มีข้อมูลเกี่ยวกับความต้องการของพนักงานแต่ละคนได้สมบูรณ์ขึ้น 9.  ช่วยให้ได้เข้าใจถึงประเภทบริการต่าง ๆ ที่มีอยู่ในภายนอกชุมชมนั้นด้วย ข้อดีที่เกิดแก่นายจ้างคือ 1.  ช่วยให้ผลผลิตสูงขึ้นและต้นทุนต่อหน่วยตํ่าลง 2.  ช่วยให้มีการทำงานเป็นทีมที่ดีกว่าเดิม 3.  สามารกลดอัตราการขาดงาน ความเหนื่อยอ่อน อุบัติเหตุ ตลอดจนข้อร้องเรียนต่าง ๆ 4. ช่วยเสริมสร้างความสัมพันธ์ทางด้านบุคคลากรที่ดี 5.  ช่วยลดต้นทุนในการว่าจ้างและการฝึกอบรม 6.  ช่วยให้มีความเข้าใจระหว่างกันในทางเสริมสร้าง ที่จะได้รับความร่วมมือจากพนักงาน 7.  เป็นโอกาสให้มีการอธิบายและชี้แจงวัตถุประสงค์ จุดมุ่งหมายของบริษัทและนโยบาย 8.  ช่วยให้มีโอกาสทำการประชาสัมพันธ์ต่อภายนอก ตลอดจนได้รับร่วมมือ จากส่วนต่าง ๆ ตลอดจนการสร้างชื่อเสียงต่อภายนอกในโครงการนี้

ประวัติความเป็นมาของผลประโยชน์ตอบแทนที่ให้กับพนักงาน

ผลประโยชน์ตอบแทนที่จ่ายให้กับพนักงานนั้น ได้เกิดขึ้นตั้งแต่ช่วงทศวรรษที่ 1920 และได้เพิ่มขึ้นเป็นอันมากในระยะทศวรรษที่ 1940 ซึ่งนายจ้างได้จัดขึ้นเพราะสังเกตเห็นว่าพนักงานมีความประสงค์ที่อยากจะเข้าทำงานในที่ซึ่งเหมาะสมกว่าและที่มีความมั่นคงกว่า จึงได้มีการเริ่มต้นจัดผล ประโยชน์ตอบแทนต่าง ๆ ขึ้นในรูปแบบหลาย ๆ ทางด้วยกัน ซึ่งในระยะแรกนั้นก็ได้จัดขึ้นอย่างไม่เป็นทางการเป็นส่วนใหญ่ สาเหตุของการริเริ่มแผนการจ่ายตอบแทนให้กับคนงานนี้ เกิดจากหลายกรณีด้วยกัน บางกรณีนั้นเป็นเพราะเป็นความเชื่อของฝ่ายนายจ้างเองที่เต็มใจที่จะจัดผลประโยชน์เพิ่มเติมให้แก่คนงานของตนให้มาก และถือว่าควรเป็นส่วนที่ให้เพิ่มนอกเหนือจากค่าจ้างปกติ แต่สำหรับบางกรณีอาจจะเกิดขึ้นจากความเมตตากรุณาที่หวังจะจัดให้กับคนงาน ซึ่งมีสภาพฐานะทางเศรษฐกิจและพื้นฐานการศึกษาที่ตํ่ามากอยู่แล้ว ที่ทำให้มีปัญหาที่ไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้ จึงจัดขึ้นมาเพื่อเท่ากับเป็นการดูแลสวัสดิภาพสำหรับคนงานของตน ซึ่งในบางครั้งก็มีความหมายในทำนองของการให้การดูแลแบบพ่อกับลูก ซึ่งฝ่ายนายจ้างจะให้ความมั่นใจในเรื่องของการดูแลในยามเจ็บป่วย เพื่อให้เกิดความมั่นใจ การดำรงชีพต่าง ๆ ซึ่งก็นับได้ว่าได้รับความสำเร็จอยู่ไม่น้อย อย่างไรก็ตาม สาเหตุที่สำคัญที่สุดของการขยายตัวของแผนการจ่ายตอบแทนให้กับพนักงานนั้น กลับเป็นผลมาจากทางด้านความเจริญเติบโตของสหภาพแรงงาน ในช่วงระหว่างทศวรรษที่ 1930และ1940 ซึ่งเป็นช่วงที่คนงานที่มีโอกาสได้รับการศึกษามากขึ้น และมีโอกาสที่จะเลือกงานมากขึ้น ในภาวะดังกล่าวคนงานได้เริ่มตระหนักถึงสิ่งที่เป็นผลสำเร็จอันเกิดจากการอุทิศการทำงานของคนที่ได้ให้กับนายจ้าง และเห็นเป็นเหตุผลว่าคนงานสมควรได้รับรางวัลผลประโยชน์ตอบแทนในเรื่องดังกล่าวนี้ด้วย โดยไม่ควรที่จะขึ้นอยู่กับความเต็มใจหรือการริเริ่มจากฝ่ายนายจ้างเท่านั้น สหภาพแรงงาน ส่วนใหญ่จึงได้เรียกร้องให้มีการจัดสภาพการทำงานให้ดีขึ้นสำหรับสมาชิกของตน ดังนั้น ณ จุดดังกล่าวในช่วงปลายทศวรรษที่ 1930 นั้น แผนการจ่ายผลประโยชน์ตอบแทนจึงเป็นเรื่องของทั้งสองฝ่ายคือทั้งจากการริเริ่มของนายจ้าง และการริเริ่มจากฝ่ายสหภาพแรงงานที่เรียกร้อง หรือจากทั้งสองฝ่ายพร้อมกัน สำหรับสาเหตุและปัจจัยที่ทำให้มีการพัฒนาระบบการจัดผลประโยชน์ตอบแทนให้แก่คนงานนั้น เหตุการณ์สำคัญที่เป็นปัจจัยทำให้มีการขยายตัวอย่างมากนั้นก็คือ เหตุการณ์ของช่วงระยะเวลาในระหว่างที่เกิดสงครามโลกครั้งที่ 2 ซึ่งได้มีปัญหาของเงินเฟ้อเกิดขึ้น ทำให้รัฐบาลสหรัฐวางข้อกำหนด การจ่ายค่าจ้างระดับสูงเอาไว้ ซึ่งภายใต้ข้อระเบียบดังกล่าว […]

พัฒนาการของการให้ผลประโยชน์ตอบแทนแก่คนงาน

ในเรื่องผลประโยชน์ตอบแทนที่จ่ายให้กับคนงาน นับว่าเป็นจำนวนเงินมหาศาลที่จำเป็นต้องใช้ไปพื่อจัดสิ่งต่าง ๆ ดังกล่าว และในช่วงหลายทศวรรษที่ผ่านมานั้นก็ได้มีจำนวนเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ตลอดจนได้มีการจัดขึ้นในรูปแบบต่าง ๆ กันด้วย ผลประโยชน์ตอบแทนที่ให้กับพนักงาน อาจจะแบ่ง ออกได้เป็นหลาย ๆ ประเภทด้วยกัน ซึ่งอาจจะจัดออกเป็น 5 กลุ่มใหญ่ ดังนี้คือ 1.  ผลประโยชน์ตอบแทนที่จัดให้กับพนักงานตามความต้องการของข้อกำหนดทางกฎหมาย เช่น การประกันสังคมหรือการจ่ายชดเชยแก่พนักงานตลอดจนการจ่ายประกันเพื่อการว่างงานต่าง ๆ 2.  สวัสดิการที่เอกชนจัดให้และแผนงานที่จัดให้เพื่อประกันความมั่นคงให้แก่คนงาน เช่น แผนการจ่ายเบี้ยบำนาญ การจ่ายเบี้ยประกันชีวิตและการประกันสุขภาพ 3.  การจ่ายตอบแทนให้สำหรับกรณีวันที่ไม่ต้องทำงาน เช่น การจ่ายให้สำหรับวันหยุดงาน วันพักผ่อนประจำปี การหยุดเพราะการเจ็บป่วยและการหยุดเพื่อพักผ่อนหรือฟื้นไข้ 4.  แผนการจ่ายตอบแทนส่วนเกินอื่น ๆ เช่น การจ่ายแบ่งส่วนกำไร (Profit Sharing) หรือแผนการออมทรัพย์ตลอดจนการให้รางวัลในรูปแบบต่าง ๆ 5.  การจัดบริการต่าง ๆ ที่ให้แก่พนักงาน เช่น การจัดห้องอาหาร การให้มีโอกาสซื้อสินค้าของบริษัทในราคาลูก และการให้การช่วยเหลือเพื่อการศึกษา เป็นต้น การที่องค์การธุรกิจแต่ละแห่งจะมีการจัดผลประโยชน์ตอบแทนให้กับพนักงานในรูปแบบใด ที่สมบูรณ์มากน้อยเพียงใดนั้น ย่อมมีการจัดขึ้นเป็นแบบใดแบบหนึ่งใน 5 […]