ปัญหาอันเกิดจากการเลื่อนชั้นตำแหน่ง

ปัญหาทางการบริหารและมนุษยสัมพันธ์ที่มักจะเกิดขึ้นจากการเลื่อนชั้นตำแหน่งนั้นมีหลายประการด้วยกัน กล่าวโดยย่อคือ ก. จะทำให้บุคคลบางคนต้องผิดหวัง ในกรณีนี้ก็คือจะเป็นปัญหาอย่างมากกับบุคคล ที่มีความรู้ความสามารถโดยเฉพาะที่มีการศึกษาที่สูงพอ ซึ่งในเมื่อได้เข้ามาทำงานแล้วก็ย่อมหวังที่จะก้าวหน้าอย่างรวดเร็ว ถ้าหากพลาดโอกาสดังกล่าวก็ย่อมทำให้ทัศนคติของผู้นั้นเป็นไปในทางที่ไม่ดี ดังนั้นผู้บริหารจึงจำเป็นต้องแก้ไขโดยการมุ่งพยายามกำหนดหรือหาหนทางกำหนดให้มีแผนการ ลื่อนชั้นที่ชัดแจ้ง และพยายามให้มีการควบคุมเพื่อให้เป็นหลักประกันได้ว่าบุคคลผู้มีความสามารถตามเกณฑ์จะไม่ถูกมองข้าม นั่นคือให้ความมั่นใจว่าในการพิจารณานั้น แม้จะมีการพิจารณาในเรื่องอาวุโสประกอบ ก็ยังคงจะถือเอาเรื่องของผลงานหรือความสามารถเป็นตัวพิจารณาควบคู่อยู่ด้วยเสมอ โดยไม่แยกจากกัน แต่อย่างไรก็ตามก็มีข้อพึงต้องระมัดระวังที่ระบบดังกล่าวจะต้องไม่ทำให้บุคคลที่อยู่ในข่ายถูกพิจารณาต้องพลาดโอกาสไปครั้งแล้วครั้งเล่า   ข. อาจจะมีบุคคลบางคนปฏิเสธการเลื่อนชั้น กล่าวคือไม่แน่เสมอไปที่คนทุกคนต้องการความก้าวหน้า หลายคนกลับพยายามจำกัดและยอมรับตัวเองว่าอาจจะไม่สามารถทำงานที่มีความรับผิดชอบมากขึ้นและยากขึ้น โดยเฉพาะบุคคลซึ่งมีอายุมากขึ้น และมีบุตรหลานที่เติบโตแล้ว ซึ่งมักจะมีความคิดในการดำเนินชีวิตไปในอีกแบบหนึ่ง และมีทัศนคติที่จะไม่มุ่งหวังการเติบโตเลื่อนชั้นอย่างรวดเร็วในองค์การที่ทำงานอยู่ และอาจจะนิยมชมชอบที่จะอยากอยู่อย่างสบายตามสมควร หรือต้องการมีเวลามาก ๆ ไม่หนักสมองและไม่เหนื่อยกายเหนื่อยใจ กรณีเช่นนี้มักจะเกิดขึ้นอย่างมากกับพนักงานด้านฝ่ายปฏิบัติการที่ใช้แรงงาน โดยเฉพาะในทางการผลิต บางครั้งก็อาจจะเห็นว่าการ เลื่อนชั้นไปนั้นสิ่งที่ได้เพิ่มอาจจะไม่คุ้มกับความเหนื่อยยาก ดังเช่นภาษิตพูดว่า “เกิดเป็นคนก็ลำบาก อยู่แล้ว แต่การเป็นนายคนต้องลำบากกว่าถึงร้อยเท่า”   ค. อาจมีปัญหา ที่ผู้บังคับบัญชาของพนักงานที่จะได้เลื่อนชั้นไม่ยอมให้พนักงานของตนเลื่อนชั้น ในเรื่องนี้เกิดขึ้นบ่อยครั้งและเป็นประสพการณ์ของหลายแห่ง ซึ่งอาจจะ พูดได้ว่าสาเหตุเพราะความเห็นแก่ตัวของหัวหน้างานที่มักถือเหตุผลว่า การที่ตนเป็นผู้ฝึกพนักงานนั้น มาด้วยตนเองและยังมิทันได้ใช้งานคุ้มก็ถูกเลื่อนชั้นไปในหน่วยงานอื่น ซึ่งอาจจะทำให้ผลงานในแผนกของตัวเสียหายเพราะการต้องเสียผู้ที่มีความสามารถไป นอกจากนี้ในบางแห่งอาจจะเป็นเรื่องทาง การเมืองที่หวังจะสร้างอาณาจักร และการสูญเสียคนไปนั้นเท่ากับจะทำให้ความสำคัญของหน่วยงานของตนลดลงไป นั่นก็คือความรู้สึกไม่มั่นคงในตัวเองมักจะเกิดขึ้นในกรณีที่ขาดคนที่เป็นมือสำคัญออกไป ทางแก้ไขเรื่องนี้ก็คงอยู่ที่ฝ่ายจัดการระดับสูงที่จะต้องหาหนทางแก้ไขโดยต้องมีการยอมรับ และให้เป็นคุณค่าความดีของหัวหน้างานที่ได้มีส่วนในการพัฒนาพนักงานจนกระทั่งมีความสามารถในการช่วยให้ลูกน้องได้เลื่อนชั้นต่อไปได้ ซึ่งอาจจะช่วยได้บ้างที่จะช่วยให้หัวหน้างานดังกล่าวยอมปล่อยให้ลูกน้องย้ายไปอยู่ในหน่วยงานอื่นเพื่อตอบสนองความต้องการของฝ่ายจัดการระดับสูง การมี […]

หลักเกณฑ์ในการเลื่อนตำแหน่ง

หลักเกณฑ์ในการเลื่อนตำแหน่ง 1.  หลักความรู้ความสามารถ การเลื่อนตำแหน่งโดยวิธีนี้ยึดถือความรู้ ความสามารถเป็นปัจจัยประกอบการพิจารณาเป็นสำคัญ ไม่คำนึงถึงความมีอาวุโส ประสบการณ์ในการปฏิบัติงานแต่อย่างใด  เครื่องมือสำหรับการเลื่อนตำแหน่งโดยวิธีนี้  อาศัยการสอบเป็นเกณฑ์วัด  ซึ่งบางกรณีก็ใช้การทดสอบโดยให้ทดลองปฏิบัติงานโดยตรง  วิธีการนี้อาจมีผลดีในแง่ที่จะสามารถเลือกบุคคลที่มีความรู้  ความสามารถสูงเข้ามาปฏิบัติงานได้  โดยเฉพาะตำแหน่งทางวิชาชีพ เช่น วิศวกร หรือนักคำนวณ เป็นต้น  นอกจากนี้ยังช่วยจูงใจให้ผู้ปฏิบัติงานตั้งใจปฏิบัติหน้าที่โดยเต็มความรู้ความสามารถ เพราะความสามารถของตนเท่านั้นที่จะเป็นเครื่องเสริมฐานะตำแหน่ง และความก้าวหน้าของตนได้  นอกจากนี้ยังสามารถขจัดผู้ที่ไม่มีความสามารถออกไปเสียจากองค์การ  สร้างความภูมิใจต่อการปฏิบัติงงานในตำแหน่งหน้าที่ต่าง ๆ ให้แก่คนงานได้เป็นอย่างดี 2.  หลักอาวุโสและประสบการณ์ การเลื่อนตำแหน่งโดยวิธีนี้  ยึดถือหลักการพิจารณาถึงอาวุโสและประสบการณ์  ดังนั้นจึงควรได้พิจารณาถึงความหมายของคำว่าอาวุโสให้ถูกต้องตรงกันเสียก่อน  โดยทั่วไปอาวุโสในการปฏิบัติงานนั้น หมายถึง  การที่บุคคลใดบุคคลหนึ่งได้ปฏิบัติงงานอยู่ในองค์การนั้นมาเป็นเวลานาน  ด้วยความรู้ความสามารถของตนเอง  เหตุว่า หากไม่มีความรู้ความสามารถเพียงพอที่จะปฏิบัติหน้าที่การงานได้  ก็จะต้องถูกให้ออกจากองค์การไป  อนึ่ง การปฏิบัติงานเป็นเวลานานย่อมมีความรอบรู้และประสบการณ์ในการปฏิบัติงานมาก  ดังนั้นการที่ได้ปฏิบัติหน้าที่การงานมาด้วยความวิริยะและใช้ความรู้และความสามารถอย่างเต็มภาคภูมิมาเป็นเวลานาน จึงควรได้รับการตอบแทนโดยการเลื่อนตำแหน่ง  เพื่อเป็นสินน้ำใจในความจงรักภักดีและปฏิบัติงานกับองค์การมาเป็นเวลานาน  อย่างไรก็ดีมีข้อสังเกตว่า ในบางแห่งการพิจารณาอาวุโส  มิได้คำนึงถึงระยะเวลาของการปฏิบัติงานในองค์การแต่เพียงอย่างเดียว  หากแต่พิจารณาถึงอัตราเงินเดือนที่ได้รับเป็นปัจจัยสำคัญในการเลื่อนตำแหน่งมากกว่าระยะเวลาของการปฏิบัติงานในองค์การแต่เพียงอย่างเดียว  หากแต่พิจารณาถึงอัตราเงินเดือนที่ได้รับเป็นปัจจัยสำคัญในการเลื่อนตำแหน่งมากกว่าระยะเวลาของการปฏิบัติงานนั้น เช่น ในระบบบริหารราชการของไทย เป็นต้น 3.  หลักความรู้ความสามารถและอาวุโส โดยเหตุที่หลักการเลื่อนตำแหน่งทั้งสองที่กล่าวมาแล้ว  มีข้อบกพร่องอยู่บ้างทั้ง 2 วิธี  […]