วิธีป้องกันอุบัติเหตุจากงานที่ทำ

วิธีป้องกันอุบัติเหตุนั้นมักจะขึ้นอยู่กับการดำเนินการใน 3 ด้าน (3 E) คือใน แง่ของ Enginerring หรือวิศวกรรม Education คือการศึกษา และ Enforcement คือการบังคับ นั่นคือ Engineering หมายถึง การต้องจัดงานให้ถูกต้องตามหลักการจัดงานทางวิศวกรรม เพื่อให้เกิดความปลอดภัย Education หมายถึง การต้องให้การศึกษาเกี่ยวกับการปฏิบัติให้ปลอดภัยแก่พนักงานที่จะต้องให้เข้าใจโดยตลอด Enforcement หมายถึง การบังคับใช้อย่างเข้มงวดเกี่ยวกับกฎเกณฑ์ที่กำหนดขึ้นเพื่อสำหรับการป้องกันอุบัติเหตุต่าง ๆ ในทางปฏิบัติการป้องกันอุบัติเหตุต่าง ๆ นั้น อาจจะกระทำโดยกิจกรรม 2 ด้านด้วยกัน ที่จะช่วยลดสภาพที่ไม่ปลอดภัย และการปฏิบัติที่ไม่ถูกต้องและที่ไม่ปลอดภัยดังกล่าว นั่นคือ 1. การลดสภาพที่ไม่ปลอดภัย (Unsafe conditions) การลดสภาพที่ไม่ปลอดภัยนั้น อาจจะกระทำได้โดยการใช้ Checklist หรือ ลำดับรายการ เพื่อตรวจสอบรายการต่าง ๆ ที่จะต้องตรวจสอบ เพื่อความปลอดภัย ซึ่งมักจะมีคำแนะนำของกรมแรงงานหรือช่างวิศวกรรมที่เกี่ยวข้อง 2.  การลดความไม่ปลอดภัยที่เกิดจากการกระทำ (unsafe acts) ซึ่งอาจจะกระทำโดยวิธีต่าง ๆ […]

สาเหตุของอุบัติเหตุที่เกี่ยวข้องกับงาน

นอกจากสภาพที่ไม่ปลอดภัย และการกระทำที่ไม่ถูกต้องของพนักงานแล้ว ผู้ชำนาญการด้านความปลอดภัยยังได้ชี้ให้เห็นว่า อุบัติเหตุ ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นยังมีสาเหตุมาจาก ปัจจัยต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับงานดังต่อไปนี้ คือ ก. ขึ้นกับงานนั้น ๆ (The job itself) กล่าวคือ งานบางชนิดที่ทำอาจมีอันตรายมากกว่าชนิดอื่น ๆ เช่น พนักงานขับรถยกต่าง ๆ ย่อมจะมีโอกาสเกิดอุบัติเหตุมากกว่าหัวหน้าคนงานที่คุมงานทั่วไป ทำนองเดียวกันพนักงานที่ทำงานด้านบัญชีหรือธุรการในฝ่ายบริหารบุคคล ก็ย่อมจะมีอุบัติเหตุ น้อยกว่าพนักงานในแผนกจัดส่งของและแผนกการผลิตเป็นอันมาก ข. ขึ้นกับกำหนดเวลาการทำงาน (Work Achedules) กล่าวคือ ในช่วงที่งานรีบเร่ง เช่น ในตอนเย็นก่อนเลิกงาน อุบัติเหตุมักจะมีมากกว่า 5 ชั่วโมงแรกของการทำงาน ซึ่งหลังจากนั้น อัตราอุบัติเหตุมักจะเกิดขึ้นได้มาก เพราะได้เกิดความเหน็ดเหนื่อยเมื่อยล้า และก็มีส่วนจริงที่ในเวลาทำงานในผลัดกลางคืนอุบัติเหตุมักจะเกิดขึ้นได้มากกว่า ค. ขึ้นอยู่กกับลักษณะสภาพทางจิตวิทยา (Psychological Climate) ของที่ทำงาน เช่น ได้มีการค้นพบว่าอุบัติเหตุมักจะเกิดขึ้นได้ง่ายในที่ซึ่งพนักงานไม่มีความสบายใจ เช่น ในที่ที่มีการปลดคนออกตามฤดูกาล และที่ซึ่งมีการใช้วิธีข่มขู่พนักงาน หรือที่ซึ่งสภาพความเป็นอยู่ของพนักงานจัดไว้เลวมาก นอกจากนี้ ในที่ซึ่งมีปัจจัยด้านภาวะบีบคั้น […]

ปัจจัยที่ทำให้เกิดอุบัติเหตุ

ปัจจัยที่ทำให้เกิดอุบัติเหตุมี 3 ประการ คือ ก. ขึ้นอยู่กับโอกาสที่จะเกิดขึ้นได้มากน้อย ข. ขึ้นอยู่กับสภาพการณ์ที่ไม่ปลอดภัย ค. ขึ้นอยู่กับการกระทำที่ไม่ถูกต้องและไม่ปลอดภัย ซึ่งใน3กรณีนี้ ถ้าจะกล่าวอย่างง่าย ๆ ก็คือ การจัดเป็น 2 กลุ่ม สภาพที่ไม่ปลอดภัย (Un safe Conditions) และ การกระทำที่ไม่ปลอดภัย (Unsafe Acts) สำหรับ “สภาพที่ไม่ปลอดภัย” นั้น ส่วนใหญ่อุบัติเหตุมักจะเกิดขึ้นจากการมิได้มีการจัดเครื่องจักรไว้อย่างถูกต้อง ไม่มีเครื่องป้องกันด้านความปลอดภัยของเครื่องจักรที่กำลังเคลื่อนไหว รวมทั้งการจัดวางสิ่งต่าง ๆ อย่างไม่เป็นระเบียบถูกต้องตามวิธีการ ทำนองเดียวกันกับปัญหาที่อาจเกิดขึ้นจากงานนั้นเอง นั่นคือ เกี่ยวกับตัวของงานที่ไม่ปลอดภัย หรือตารางทำงานเป็นสาเหตุ และบรรยากาศทางด้านจิตวิทยาที่เกี่ยวกับสถานที่ทำงานไม่เหมาะสม ส่วนกรณีของ “การกระทำที่ไม่ถูกต้อง” นั้น เช่น กรณีของการไม่สวมใส่หรือใช้เครื่องมือ หรืออุปกรณ์ที่ใช้เพื่อสำหรับการป้องกันต่าง ๆ ซึ่งการกระทำเหล่านี้มักจะเกิดขึ้นกับลักษณะนิสัย ของแต่ละคนของพนักงาน ซึ่งน่าที่จะสังเกตและตรวจสอบเห็นได้ก่อนว่า อาจจะเป็นตัวโอกาสที่สร้างปัญหาอุบัติเหตุขึ้นได้ เช่น เป็นคนเลินเล่อที่ไม่เหมาะสมกับงานบางอย่างที่ต้องการคนรอบคอบ หรืออาจจะเกี่ยวข้องกับความเหมาะสมทางด้านร่างกาย เช่น การใช้สายตาสำหรับกรณีของคนขับรถ เป็นต้น