แนวทางในการวิเคราะห์ความต้องการในการฝึกอบรม

เพื่อที่จะมีวิธีทราบถึงความต้องการทางด้านการฝึกอบรมอย่างเป็นระเบียบแบบแผน McGehee and Thayer ได้ให้ข้อแนะนำ ถึงแนวทางวิธีวิเคราะห์ความต้องการในการฝึกอบรมใน 3 แง่มุม ซึ่งจะให้สามารถวิเคราะห์ถึงความจำเป็นที่จะต้องฝึกอบรมขององค์การ การวิเคราะห์ทั้ง 3 แง่มุมดังกล่าวคือ 1.  ให้ทำการพิจารณากำหนดว่า ณ จุดใดภายในองค์การที่สมควรต้องจัดโครงการฝึกอบรมเสริมเข้าไปหรือบรรจุเข้าไปเป็นแผนงาน 2.  ให้พิจารณาว่าแผนการฝึกอบรมควรจะมีเนื้อหาอะไรบรรจุอยู่บ้าง ซึ่งนั่นก็คือโดยวิธีการศึกษา โดยยึดถือการวิเคราะห์จากงานต่าง ๆ ตลอดจนหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง และ 3.  พิจารณากำหนดชนิดของความชำนาญ ความรู้ หรือทัศนคติที่จำเป็นที่จะต้องมีสำหรับพนักงานแต่ละคนที่จะต้องพัฒนาให้มีขึ้น หากสิ่งเหล่านั้นเป็นสิ่งจำเป็นที่จะช่วยให้บุคคลดังกล่าว สามารถปฏิบัติงานหรือหน้าที่งานนั้น ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ (1) (1) William McGehee and Paul W. Thayer, Training in Business and Industry (New York: John Wiley & Sons, Inc., 1961) pp.10-11 ตัวเกณฑ์ที่จะชี้และช่วยในการกำหนดว่าจุดใดเป็นจุดที่มีความต้องการที่จะต้องทำการฝึกอบรมนั้น อาจจะประกอบด้วยต้นทุนทางอ้อมและต้นทุนทางตรง […]

การเก็บรวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการวิเคราะห์งาน

ขั้นต่าง ๆ ของการวิเคราะห์งาน (TheSteps in Job Analysis) ในการจัดทำการวิเคราะห์งานนั้น ขั้นตอนพื้นฐาน 5 ขั้น ที่จำเป็นต้องดำเนินการเป็นลำดับ คือ ขั้นที่ 1 การเก็บรวบรวมข้อมูลพื้นฐานที่เกี่ยวข้อง สิ่งแรกที่ควรทำในการวิเคราะห์งานก็คือ  การต้องทำการทบทวนทำความเข้าใจกับข้อมูลพื้นฐานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องเท่าที่มีอยู่ เช่น ผังองค์การ คุณลักษณะของขั้นตำแหน่งงาน และรายละเอียดคำบรรยายลักษณะงาน ที่มีอยู่ทั้งหมด ผังองค์การที่ใช้อยู่ ย่อมจะชี้ให้เห็นได้ว่า แต่ละตำแหน่งที่จะทำการวิเคราะห์นั้น  สัมพันธ์อยู่กับตำแหน่งงานอื่นอย่างไร และอยู่ในตำแหน่งที่ตั้งใดในองค์การ ทำนองเดียวกันคุณลักษณะของชั้นตำแหน่ง(Class specification) ก็บอกให้ทราบถึง ลักษณะสิ่งที่จำเป็นของแต่ละชั้นตำแหน่งว่าเป็นอย่างไร  ซึ่งย่อมจะช่วยให้เห็นได้ว่าตำแหน่งที่จะทำการวิเคราะห์นั้น  จัดอยู่ในชั้นใด  มีลักษณะกว้าง ๆ อย่างไร  ที่พิจารณาได้จากชั้นตำแหน่งนั้น ๆ เพราะโดยปกติชั้นตำแหน่งงานที่จัดขึ้นก็ย่อมยึดถือมาจากความเหมือนกันของรายละเอียดของตำแหน่งงานต่าง ๆ และคำบรรยายลักษณะงาน (ถ้าหากมีอยู่) ซึ่งจะมีคุณค่าในแง่ที่จะเป็นจุดเริ่มต้นที่ดีที่จะช่วยให้การปรับปรุงสามารถกระทำได้ง่ายยิ่งขึ้น ขั้นที่ 2 การพิจารณาเลือกตำแหน่งตัวอย่างที่จะใช้วิเคราะห์ โดยปกติองค์การทุกแห่งย่อมมีตำแหน่งงานเป็นจำนวนมาก  ดังนั้น  จึงย่อมเป็นการยากลำบากที่ผู้วิเคราะห์งานจะดำเนินการวิเคราะห์ให้ครบถ้วนทุกงาน  วิธีการที่ง่ายกว่าก็คือ การเลือกวิเคราะห์เฉพาะตำแหน่งงานที่เป็น “ตัวแทน” […]