ข้อแนะนำที่ช่วยให้การอบรมสมบูรณ์ขึ้น

การอบรมจะมีความสมบูรณ์ยิ่งขึ้น ถ้าหากได้ปฏิบัติตามคำแนะนำดังต่อไปนื้คือ 1. ว่าด้วยการจัดเตรียมเอกสารเกี่ยวกับการจัดอบรม ในส่วนนี้ควรจะปฏิบัติตาม ข้อแนะนำ 6 ประการคือ ก) ก่อนที่จะเริ่มต้นการอบรมนั้น ในตอนแรกควรจะให้ผู้เข้ารับการอบรมได้เข้าใจเรื่องราวทั้งหมดอย่างกว้าง ๆ เสียก่อน ทั้งนี้จะเป็นประโยชน์ที่จะช่วยให้แต่ละคนได้เห็นภาพรวมของเรื่องราวก่อนที่จะศึกษาแยกแยะแต่ละส่วนลึกลงไป ข) พยายามยกตัวอย่างที่มองเห็นและเข้าใจได้ง่ายให้มากเพื่อที่จะให้ผู้อบรมได้นึกคิดและติดตามเรื่องราวได้ชัดแจ้งขึ้น ค) ควรจะมีการจัดระเบียบเรื่องราวของเอกสารเพื่อที่จะให้สามารถศึกษาได้ตามลำดับขั้นตอน และมีการแบ่งแยกแยะเป็นบทต่อบท ง) ควรจะมีการเสริมโดยจัดให้เอกสารที่ใช้อบรมนั้นมีจังหวะหยุด หรือมีการเน้นเป็นส่วน ๆ ให้เห็นชัดมากกว่าการเสนอราบเรียบไปตลอดเรื่องที่ต่อเนื่องไปเรื่อยเปื่อย โดยไม่มีจุดสังเกตได้เป็นประเด็น ๆ จ) พยายามใช่คำพูดและแนวความคิดที่ง่าย โดยเฉพาะควรเป็นเรื่องที่คุ้นเคยต่อผู้อบรมที่เห็นได้ง่าย   ฉ) พยายามใช้เครื่องมือช่วยให้มากที่สุด 2.  ในด้านที่เกี่ยวกับวิธีการถ่ายทอดความรู้ ก็มีคำแนะนำ 5 ประการด้วยกัน คือ ก) ควรที่จะต้องพยายามให้บรรยากาศของการฝึกอบรมนั้นเหมือนกับสภาพวิธีการปฏิบัติงานที่เป็นจริง ข) ควรจะให้มีโอกาสฝึกฝนทดลองทำเอง ทำจนกระทั่งมีความชำนาญมากพอในระหว่างการฝึกอบรม ค) ควรพยายามใช้ตัวอย่างหลาย ๆ แบบที่ต่างกัน ในกรณีของการสอนเพื่อเพิ่มแนวความคิด (Concepts) และความชำนาญ (Skills) เพื่อให้เกิดความคิดกว้าง เข้าใจ และลึกซึ้ง ง) […]

วิธีการฝึกอบรมพนักงาน

มีแตกต่างกันหลายวิธีด้วยกัน บางองค์การที่มีขนาดใหญ่มักจะใช้หลายๆวิธีควบกันอยู่ แต่อย่างไรก็ตามได้มีบางวิธีที่เป็นที่นิยมค่อนข้างมาก การที่จะเลือกใช้วิธีใดนั้นย่อมขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ของการฝึกอบรมเป็นสำคัญ นอกจากนั้นยังขึ้นอยู่กับความสามารถของผู้ทำการอบรม และของผู้ที่จะเข้าทำการอบรมด้วย ปัจจัยอื่น ๆ เช่น จำนวนผู้เข้าอบรม ตลอดจนระดับที่ทำการอบรม และเวลาค่าใช่จ่าย ล้วนแต่เป็นปัจจัยที่มีส่วนกำหนดในการอบรม วิธีการอบรมที่สำคัญมีดังต่อไปนี้คือ 1. On the job training หรือที่เรียกอีกช่อหนึ่งว่า “Job Instruction Training” วิธี On the job training เป็นวิธีที่ใช้มากที่สุดวิธีหนึ่งในการใช้อบรมพนักงาน วิธีนี้การอบรมจะกระทำโดยให้ผู้บังคับบัญชา หรือโดยพนักงานอาวุโสเป็นผู้รับผิดชอบในการให้การอบรมแก่พนักงานโดยตรง ข้อดีของวิธีนี้ก็คือ ช่วยให้พนักงานได้มีโอกาสได้เรียนรู้จากผู้ที่มีความสามารถที่เป็นมือหนึ่ง ในเรื่องนั้นโดยตรง และสามารถทำการอบรมในขณะปฏิบัติงานด้วยสภาพแวดล้อมจริง แต่อย่างไรก็ตามวิธีนี้อาจจะมี ข้อเสียอยู่บ้าง กล่าวคือถ้าหากผู้บังคับบัญชาที่ทำการสอนนั้น มุ่งเน้นถึงผลการผลิตมากกว่าการสนใจระมัดระวังให้มีการเรียนรู้เกี่ยวกับวิธีการทำงานที่มีประสิทธิภาพแล้ว ผลก็จะ ไม่ได้เท่าที่ควร แต่ถ้าหากให้มีเวลาพอเพียงสำหรับการอบรมตามวิธีนี้และค่อยเป็นค่อยไป โดยมุ่งพยายามแก้ไขข้อผิดพลาดอยู่ตลอดเวลาในขณะที่พนักงานผู้เข้าอบรมได้ทดลองทำแล้ว ก็นับว่าวิธีนี้จะให้ประโยชน์เป็นอย่างยิ่ง ประโยชน์หรือผลพลอยได้ที่เกิดขึ้นจากการใช้วิธีนี้อีกประการหนึ่งก็คือ ผู้บังคับบัญชาได้โอกาสสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับผู้ใต้บังคับบัญชาพร้อมกันไปด้วย วิธีการฝึกอบรมแบบ On the job training ที่มีการจัดระบบอย่างสมบูรณ์ วิธีหนึ่งก็คือ JIT (Job […]

กระบวนการของการฝึกอบรมพนักงาน

ในการดำเนินการเรื่องการฝึกอบรมนั้น ขั้นตอนของการดำเนินการจะมีดังนี้ คือ 1.  การพิจารณาความต้องการและปัญหาที่ต้องมีการฝึกอบรม ในขั้นนี้ก็คือ การตรวจสอบและพิจารณาให้ทราบถึงความจำเป็นและต้องการที่จะต้องมีการจัดการฝึกอบรมขึ้น ซึ่งอาจเป็นทั้งในแง่ที่ต้องทำ เพื่อการเพิ่มประสิทธิภาพ ความสามารถ ความชำนาญต่าง ๆ หรือเพื่อแก้ไขปัญหาบางอย่าง ดังที่ได้กล่าวมาแล้ว ขณะเดียวกัน ในขณะที่ทำการพิจารณาความต้องการนั้น สิ่งที่ต้องคิดพิจารณาและจัดทำควบคู่กันก็คือ การต้องพิจารณากำหนดมาตรฐานผลงานที่ต้องการและที่จะเป็นเครื่องวัดผลงานที่ประสงค์ จะให้ทำได้ตามที่ต้องการ นั่นก็คือ การต้องมีการวินิจฉัยว่าผลงานที่ควรจะทำได้นั้น คืออะไรและเป็น อย่างไร หรือควรจะต้องทำให้ได้ถึงขนาดไหน จากการพิจารณาความจำเป็นและต้องการการฝึกอบรม และการพิจารณากำหนดมาตรฐานผลงานที่ต้องการนี้เอง ก็จะนำไปสู่ขั้นตอนต่อไป คือ การกำหนดเป้าหมายของการฝึกอบรม 2.  เป้าหมายของการฝึกอบรม นั่นคือ การเขียนระบุเป้าหมายที่ต้องการจากการฝึกอบรมเพื่อให้ทราบชัดดังที่ได้กล่าวมาแล้วข้างต้น เพื่อให้มีจุดมุ่งประการต่าง ๆ ที่พึงจะต้องได้จากการฝึกอบรม ซึ่งการดำเนินการจัดการฝึกอบรมต่อไป ไม่ว่าจะเป็นการกำหนดหลักสูตร เนื้อหาวิชา ตลอดจนวิธีที่ใช้อบรม ก็ย่อมจะกระทำโดยยึดถือตามเป้าหมายดังกล่าวนี้ 3.  การกำหนดเนื้อหาและเรื่องที่จะอบรม หมายถึง การพิจารณาว่า เพื่อที่จะเสริมความรู้ความสามารถให้ได้ผลตามที่ต้องการนั้น จะต้องมีการอบรมเรื่องอะไรบ้าง รวมตลอดถึงการพิจารณาส่วนประกอบ ของเนื้อหาและเรื่องที่จะอบรม ซึ่งถ้ากล่าวอย่างง่าย ๆ ก็คือการจัดหลักสูตรและหัวข้อเรื่องที่จะอบรมนั่นเอง 4.  การกำหนดวิธีที่จะใช้อบรม และสื่อหรือเครื่องมือที่เหมาะสม […]

วัตถุประสงค์และเป้าหมายการฝึกอบรมพนักงาน

การฝึกอบรมมักจะจัดขึ้นด้วยเหตุผลต่าง ๆ และความจำเป็นดังต่อไปนี้คือ ก. เพื่อที่จะยกระดับปริมาณผลผลิต ข. เพื่อที่จะยกระดับคุณภาพของผลผลิต ค. เพื่อลดต้นทุนของงานที่จะเสียหายและต้นทุนในการซ่อมแซมเครื่องจักร ง. เพื่อลดจำนวนและต้นทุนของอุบัติเหตุที่เกิดขึ้น จ. เพื่อลดอัตราการลาออกและการขาดงาน และเสริมสร้างความพอใจในหน้าทีงาน ทั้งนี้เพราะว่าการฝึกอบรมสามารถเป็นเครื่องช่วยในการยกระดับความพอใจของพนักงานได้ด้วย แผนการอบรมที่ดีนั้น มีความจำเป็นอย่างหนึ่งที่จะต้องกระทำให้ถูกต้องสมบูรณ์ นั่นก็คือการต้องมีการระบุเป้าหมายของการฝึกอบรมให้แจ้งชัด เป้าหมายต่าง ๆ เหล่านี้โดยทั่วไปมักจะกล่าวกันใน ความหมายรวม ๆ ว่า เพื่อที่จะเพิ่มความชำนาญหรือความรู้ให้แก่พนักงาน หรือเพื่อการเปลี่ยนแปลง ทัศนคติของพนักงาน แต่อย่างไรก็ตามวิธีที่ดีและถูกต้องนั้น นอกจากการระบุเป้าหมายทั่ว ๆ ไปแล้ว การระบุเป้าหมายโดยมุ่งที่ผลงาน (Performance-Centered Goal) จะเป็นที่วิธีที่เป็นประโยชน์อย่างยิ่ง ทั้งนี้เพราะจะช่วยให้สามารถประเมินผลสำเร็จได้อย่างชัดแจ้ง ตัวอย่างเช่นการระบุเป้าหมาย การฝึกอบรมว่า ต้องการจะให้ผู้เข้าฝึกอบรมสามารถที่จะ Key รายการข้อมูลในอัตรา 40 คำต่อนาที โดยสามารถลดข้อผิดให้น้อยลงกว่า 1% ภายในทุกๆ 10นาที วิธีการกำหนดเป้าหมายโดยมุ่งที่ผลงานนี้ ส่วนใหญ่มักจะมีการใช่คำเหล่านี้ควบคู่กันไปด้วย เช่น To Calculate, To Repair, To […]

ชนิดของประสิทธิภาพการปฎิบัติงานของพนักงาน

จากการวิเคราะห์งานเป็นจำนวนมากโดย Gagne ได้ค้นพบข้อแตกต่างของประสิทธิภาพการปฏิบัติงาน (Performance) ไว้ 8 ชนิด ซึ่ง Mager and Beach ได้มาสรุปรวมให้ง่ายเข้าเป็น 5 ชนิด ของประสิทธิภาพของการปฏิบัติงาน ซึ่งมีดังนี้คือ 1.  ความสามารถในการแยกแยะเรื่องราว (Discrimination) นั่นคือการที่จะสามารถมองเห็นความแตกต่างระหว่าง 2 สิ่ง หรือมากกว่า หรือความสามารถในการที่จะบอกได้ถูกต้องว่างานสำคัญได้เสร็จสิ้นลุล่วงไปแล้ว หรือสามารถเห็นถึงความแตกต่างว่าอันใดถูกต้องและอันใดไม่ถูกต้อง ตัวอย่างเช่น ผู้ตรวจสอบคุณภาพในอุตสาหกรรมที่จะชี้ หรือวิเคราะห์ให้เห็นได้ว่าผลิตภัณฑ์อันใดบ้าง ที่ไม่ถูกต้องครบถ้วนตามมาตรฐาน 2.  ความสามารถในการวิเคราะห์ปัญหา (Problem Solving) นั่นคือกระบวนการของการสามารถหาคำตอบเพื่อแก้ปัญหาต่าง ๆ ความสามารถในการแก้ปัญหานี้จะกระทำได้โดยการสอนพนักงานให้เห็นความสัมพันธ์ระหว่างอาการและสาเหตุที่จะเกิดขึ้น ตลอดจนแนวทางแก้ไข ตัวอย่างเช่น พนักงานซ่อมโทรทัศน์มักจะได้รับการสอนให้เข้าใจข้อแตกต่างของอาการหรือความผิดปกติ และให้สามารถที่จะมีจุดเริ่มต้นในการวิเคราะห์สาเหตุที่โทรทัศน์ขัดข้องต่อไปได้ 3.  การสามารถจำเรื่องที่ผ่านมา (Recall) นั่นคือ การสามารถรู้ได้ว่าจะต้องทำอะไร หรือจะต้องใช้อะไร ตลอดจนสามารถทราบลำดับหรือระเบียบของการปฏิบัติงานของงานใดงานหนึ่ง สิ่งเหล่านี้ล้วนแต่เป็นประสิทธิภาพและความสามารถเชิงสติปัญญา ตัวอย่างเช่น พนักงานที่มีความ ชำนาญงานมาก ๆ ที่สามารถจำได้ว่าจะต้องทำอะไร ทำอย่างไร เมื่อได้มีการค้นพบปัญหาแล้ว […]

แนวทางในการวิเคราะห์ความต้องการในการฝึกอบรม

เพื่อที่จะมีวิธีทราบถึงความต้องการทางด้านการฝึกอบรมอย่างเป็นระเบียบแบบแผน McGehee and Thayer ได้ให้ข้อแนะนำ ถึงแนวทางวิธีวิเคราะห์ความต้องการในการฝึกอบรมใน 3 แง่มุม ซึ่งจะให้สามารถวิเคราะห์ถึงความจำเป็นที่จะต้องฝึกอบรมขององค์การ การวิเคราะห์ทั้ง 3 แง่มุมดังกล่าวคือ 1.  ให้ทำการพิจารณากำหนดว่า ณ จุดใดภายในองค์การที่สมควรต้องจัดโครงการฝึกอบรมเสริมเข้าไปหรือบรรจุเข้าไปเป็นแผนงาน 2.  ให้พิจารณาว่าแผนการฝึกอบรมควรจะมีเนื้อหาอะไรบรรจุอยู่บ้าง ซึ่งนั่นก็คือโดยวิธีการศึกษา โดยยึดถือการวิเคราะห์จากงานต่าง ๆ ตลอดจนหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง และ 3.  พิจารณากำหนดชนิดของความชำนาญ ความรู้ หรือทัศนคติที่จำเป็นที่จะต้องมีสำหรับพนักงานแต่ละคนที่จะต้องพัฒนาให้มีขึ้น หากสิ่งเหล่านั้นเป็นสิ่งจำเป็นที่จะช่วยให้บุคคลดังกล่าว สามารถปฏิบัติงานหรือหน้าที่งานนั้น ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ (1) (1) William McGehee and Paul W. Thayer, Training in Business and Industry (New York: John Wiley & Sons, Inc., 1961) pp.10-11 ตัวเกณฑ์ที่จะชี้และช่วยในการกำหนดว่าจุดใดเป็นจุดที่มีความต้องการที่จะต้องทำการฝึกอบรมนั้น อาจจะประกอบด้วยต้นทุนทางอ้อมและต้นทุนทางตรง […]

การจัดลำดับความสำคัญก่อนหลังของการฝึกอบรม

ผู้บริหารและผู้รับผิดชอบในฝ่ายพนักงานจำเป็นที่จะต้องคอยติดตามเหตุการณ์หรืออาการต่างๆ ที่เป็นสิ่งบอกเหตุที่ช่วยให้ทราบถึงปัญหาความจำเป็นที่จะต้องมีการฝึกอบรมพนักงาน ปัญหาความจำเป็นเรื่องการฝึกอบรม ส่วนใหญ่มักจะเป็นผลจากการสังเกตเห็นได้จากปัญหาที่เกิดขึ้นดังต่อไปนี้ ก. พนักงานไม่สามารถทำงานได้ตามมาตรฐานที่กำหนดไว้ ข. การเกิดอุบัติเหตุบ่อยครั้ง ค. การเกิดการสูญเสียสิ้นเปลืองในวัตถุดิบและของเสียมาก ง. ต้องมีการซ่อมเครื่องจักรบ่อย ๆ จ. มีพนักงานถูกย้ายงานตลอดจนลาออกบ่อย ฉ. เมื่อได้รับทราบปัญหาจากรายงานของพนักงานที่วิเคราะห์ได้ว่าผลผลิตมีประสิทธิภาพตํ่า ซ. เมื่อปรากฏว่าพนักงานเริ่มมีการปฏิบัติงานต่างวิธีกัน ในการปฏิบัติงานชนิดเดียวกัน คือได้ผลผิดเพี้ยนไปคนละทาง ซ. เมื่อเกิดปัญหาพนักงานเหน็ดเหนื่อยมาก มีอาการเหน็ดเหนื่อยและท้อถอยในการปฏิบัติงาน ฌ. เมื่องานคั่งค้างสะดุดลง ณ จุดต่าง ๆ ญ. เมื่อพนักงานไม่สามารถทำงานให้สำเร็จตามเวลาที่กำหนด ปัญหาต่าง ๆ เหล่านี้ล้วนแต่เป็นเครื่องชี้ให้เห็นถึงความจำเป็นที่ต้องมีการฝึกอบรม ซึ่งหัวหน้างานและผู้บริหารจำเป็นที่จะต้องคอยสังเกตติดตาม เพื่อที่จะได้รู้ถึงปัญหาเหล่านี้ได้ทันการ