การพิจารณาจัดทำชั้นการจ่ายค่าจ้างเงินเดือน

การพิจารณาจัดทำชั้นการจ่ายค่าจ้างเงินเดือน (Pay grades) ตามวิธีการต่าง ๆ ของการประเมินค่างานนั้น ย่อมจะช่วยให้สามารถเปรียบเทียบค่าของงานต่าง ๆ ระหว่างกันในแง่ของความยากง่ายหรือในความหมายของปัจจัยเฉพาะอย่างที่มีการพิจารณาจ่ายตอบแทนให้การประเมินค่างานต่าง ๆ ช่วยให้เราทราบว่างานแต่ละตำแหน่งมีค่า (Worth) เปรียบเทียบ ต่อตำแหน่งอื่น ๆ แตกต่างกันอย่างไร ซึ่งภายหลังจากที่เราได้ข้อมูลต่าง ๆ เหล่านี้อย่างครบถ้วนแล้ว จากการประเมินค่างานที่สิ้นสุดก็จะเข้าไปสู่ขั้นของการกำหนดอัตราค่าจ้างเงินเดือนให้แก่แต่ละงาน ถ้าหากวิธีการประเมินค่างานได้ใช้วิธีการเปรียบเทียบตำแหน่งตามวิธีการจัดลำดับหรือเปรียบเทียบปัจจัยและการให้ค่าคะแนนแล้ว วิธีการกำหนดอัตราค่าจ้างเงินเดือนก็จะทำได้โดยการให้ราคาค่าจ้างเงินเดือนสำหรับแต่ละงานได้โดยตรงทันที (โดยเฉพาะกรณีของบริษัทขนาดเล็กที่มีตำแหน่ง งานไม่มาก) แต่ในกรณีของบริษัทขนาดใหญ่ วิธีการจัดทำดังกล่าวมักจะเป็นจำนวนนับร้อยนับพัน หรือแม้แต่ในองค์การที่มีขนาดเล็กบางแห่งก็ยังคงอาจมีปัญหาสำหรับฝ่ายจัดการเช่นกันที่จะต้องหาหนทางที่จะจัดทำโครงสร้างของค่าจ้างเงินเดือนให้มีพร้อมไว้เพื่อความสะดวกและสามารถเห็นได้อย่างง่าย ๆ เท่าที่จะทำได้ ด้วยปัญหาดังกล่าว ส่วนมากจึงจำเป็นต้องมีการนำเอางานต่าง ๆ ที่มีลักษณะเหมือนกันมาจัดเข้าเป็นกลุ่ม ๆ ตามความหมายของความรับผิดชอบ โดยรวมกลุ่มและจัดขึ้นเป็น “ชั้น’’ หรือ “เกรด” (grades) คือเป็นชั้นของการจ่าย ซึ่งภายหลังจากที่ได้จัดแบ่งชั้นเสร็จ ปัญหายุ่งยากที่จะต้องมีการพิจารณาตามให้กับงานจำนวนมาก ๆ ก็จะหมดสิ้นไปโดยการมีโครงสร้างของอัตราค่าจ้างเงินเดือนที่จัดขึ้นเป็นชั้นของการจ่ายดังกล่าวนั้น จะเป็นเครื่องมือที่ช่วยให้สามารถพิจารณาได้ง่ายขึ้น เช่น การแบ่งชั้นออกเป็น8, 10หรือ12 ชั้นโดยแต่ละชั้นมีค่าคะแนนห่างกัน 50 คะแนนและชั้นแรกเริ่มต้น จาก 150 คะแนนขึ้นไป […]