การพัฒนาองค์การ

วิธีการพัฒนานักบริหารวิธีหนึ่งซึ่งครอบคลุมคาบเกี่ยวกับหลายวิธีนั้นโดยมาก มักจะมีการศึกษาในแง่ของการพัฒนาองค์การ (Organization Development) ซึ่งมุ่งพยายามที่จะให้มีการเปลี่ยนแปลงทัศนคติ ค่านิยม ตลอดจนโครงสร้างขององค์การและวิธีปฏิบัติทางการบริหารต่าง ๆ เพื่อเสริมสร้างให้เกิดผลงานที่ดีขึ้น ในการจัดทำพัฒนาองค์กรนั้นมีปัจจัยต่าง ๆ จำนวนมากที่เกี่ยวข้องอยู่เสมอด้วย และลักษณะส่วนใหญ่มักจะดำเนินการเหมือน ๆ กันตามขั้นตอน ดังนี้คือ ก.) จุดมุ่งของการพัฒนาจะอยู่ที่องค์การทั้งหมดเป็นสำคัญ โดยมิใช่การมุ่งที่ตัวบุคคลหรือกลุ่มย่อยขนาดต่าง ๆ ข.) วิธีการอบรมที่ใช้มักจะใช้วิธีการร่วมถกปัญหาต่าง ๆ หรือพยายามมุ่งจัดทีมงาน การพยายาม มุ่งฝึกหัดให้มีการจัดทีมงานให้ดี หรือการใช้วิธีการประชุมเผชิญหน้ากันอย่างเปิดเผยและให้มีประสบการณ์ในเรื่องของการขัดแย้งระหว่างกลุ่ม ดังนั้นจะเห็นได้ว่าวิธีการที่ใช้ในที่นี้ ส่วนใหญ่จะเป็นเรื่อง ของการให้มีการเรียนรู้จากประสบการณ์ ค.) โดยปกติมักจะมีการใช้ผู้ชำนาญการที่เป็นที่ปรึกษาจากภายนอกหรือใช้สื่อแห่งการเปลี่ยนแปลงบางอย่าง เพื่อที่จะเอื้ออำนวยและประสานงานในกระบวนการพัฒนาองค์การหรือเป็นผู้กำกับการให้สามารถสรุปผลให้เกิดขึ้นได้ การจัดทำพัฒนาองค์การนั้นมักจะมีลำดับแต่ละขั้นดังนี้ คือ 1.  การวิเคราะห์เบื้องต้น ในขั้นแรกนี้คือการมีที่ปรึกษาเข้ามาศึกษาปัญหาที่อาจจะมีอยู่ในองค์การ 2.  การเก็บข้อมูล ภายหลังจากการได้มีการวิเคราะห์ปัญหาองค์การแล้ว ที่ปรึกษาก็จะออกไปสำรวจในจุดต่าง อย่างลึกซึ้งเพื่อที่จะค้นหาลักษณะของปัญหาและแนวทางที่อาจจะแก้ไขได้ 3.  การให้เรื่องราวข้อมูลย้อนกลับและการจัดให้มีการประชุมกัน ในขั้นนี้ก็คือที่ปรึกษาจะนำเอาเรื่องที่ได้ค้นพบนั้นป้อนกลับไปยังกลุ่มต่าง ๆ และกำหนดลำดับก่อนหลังของสิ่งที่จะต้องเปลี่ยนแปลง 4.  การวางแผนและการแก้ไขปัญหา ในขั้นนี้การแก้ปัญหาก็จะเริ่มกับกลุ่มต่าง ๆ โดยแต่ละกลุ่มจะเลือกวิธีและหนทางในการแก้ปัญหาของตนที่จะให้ได้คำตอบออกมา 5.  การสร้างทีมงาน […]

การพัฒนามนุษยสัมพันธ์ในการพัฒนาองค์การ

การพัฒนาความสามารถในทางมนุษยสัมพันธ์หรือการเข้ากับ คน และการพัฒนาองค์การ (Interpersonal Skills and Organi­zation Development) นอกเหนือจากเรื่องที่ได้กล่าวมาแล้วว่า การพัฒนาการจัดการเป็นสิ่งที่พึงต้องทำเพื่อให้การตัดสินใจที่เป็นความสามารถทางการบริหารในเรื่องต่าง ๆ ดีขึ้น นั่นเป็นเรื่องการตัดสินใจในเรื่องเกี่ยวกับงานเท่านั้น ความหมายของการพัฒนาการจัดการที่ถูกต้องควรจะครอบคลุมถึงอีกส่วนหนึ่ง นั่นคือการพัฒนาความสามารถในการเข้ากับคน (Interpersonal Skills) และการมีทัศนคติในทางบริหารที่ถูกต้อง เป้าหมายของการจัดแผนงานเพื่อพัฒนาความสามารถในเชิงมนุษยสัมพันธ์นี้ วัตถุประสงค์ที่แท้จริงก็คือ การพยายามเปลี่ยนทัศนคติควบคู่กับการเสริมสร้างความชำนาญในเรื่องนี้โดยตรง องค์การธุรกิจส่วนมากในสมัยปัจจุบันได้ให้ความสำคัญกับการเปลี่ยนแปลงทัศนคติและการฝึกอบรมให้มีความสามารถในเชิงมนุษยสัมพันธ์ด้วยเหตุผลหลายประการ คือ 1.  เพื่อที่จะปรับปรุงหรือยกระดับประสิทธิภาพให้กับพนักงานของตนโดยเฉพาะในตำแหน่งที่รับผิดชอบในทางการบริหาร หรือที่เป็นหัวหน้าคน เพื่อให้สามารถใช้ประโยชน์ในการปฏิบัติงานประจำวัน หรืออาจเป็นการเสริมสร้างให้เป็นกรณีพิเศษก็ตาม 2.  เพื่อที่จะเป็นเครื่องมือแก้ไขให้เป็นผู้มีความสามารถในการอบรมและสัมมนาเกี่ยวกับการทำงาน ที่จะสามารถสอนลูกน้องดีขึ้น หรือไม่ก็เป็นการช่วยเหลือให้พนักงานที่เป็นหัวหน้าเหล่านั้นสามารถที่จะปรับทัศนคติหรือปรับตนเองให้เข้ากับการทำงานในสภาพแวดล้อมที่แปลกออกไป 3.  เพื่อที่จะช่วยให้ผู้บริหารขององค์การรู้จักและเข้าใจตัวเองดีขึ้น และสามารถเผชิญกับปัญหา สภาพความเป็นจริงที่เป็นอยู่ตามลักษณะของความเป็นอยู่สมัยใหม่ได้ด้วย ความทันสมัยของคนอาจจะกล่าวได้ว่าเป็นเป้าหมายของเรื่องนี้โดยตรง แผนงานด้านนี้ในส่วนที่มุ่งพยายามเสริมสร้างทัศนคติในทางการบริหาร โดยเฉพาะการหวังผล ในเรื่องแก้ไขทัศนคติและความสามารถที่จะเข้ากับคนได้ ถ้าหากมองกว้างไปถึงการพยายามสร้างบรรยากาศในองค์การ ที่จะให้ครอบคลุมถึงทุกส่วนทั่วทั้งบริษัทแล้ว แผนงานเหล่านั้นเราเรียกว่าเป็น แผนพัฒนาเกี่ยวกับองค์การ (Organization Development หรือ OD) ซึ่งเป็นความพยายามที่จะให้บรรยากาศขององค์การเป็นไปโดยคล่องตัวและมีผู้นำในแบบที่เป็นประชาธิปไตยยิ่งขึ้นนั่นเอง