ขั้นตอนและหลักการเกี่ยวกับการสัมภาษณ์

การสัมภาษณ์ที่ดีนั้นมีหลักการที่ควรยึดถือหลาย ๆ ประการที่จะช่วยให้การดำเนินการสัมภาษณ์ประสบผลความสำเร็จด้วยดี หลักการต่าง ๆ เหล่านี้สามารถอธิบายให้ทราบได้ในขั้นตอนกระบวนการ ของการสัมภาษณ์ดังนี้คือ 1. ขั้นของการเตรียมการ (Preparation) 2.  การจัดสภาพแวดล้อมสำหรับการสัมภาษณ์ (Setting) 3.  การกำกับและดำเนินการสัมภาษณ์ (Conduct of the interview) 4.  ขั้นของการปิดสัมภาษณ์ (Close) 5.  ขั้นของการประเมินการสัมภาษณ์ (Evaluation) 1.  การเตรียมการสัมภาษณ์ ก่อนที่จะดำเนินการทำการสัมภาษณ์พนักงานนั้น ผู้ทำการสัมภาษณ์ควรจะได้มีการเตรียมการในสิ่งต่าง ๆ ที่จำเป็นสำหรับการสัมภาษณ์ให้พร้อมเพรียง สิ่งเหล่านี้รวมไปถึงการกำหนดเวลาไว้ล่วงหน้า ตลอดจนการได้พิจารณาสิ่งต่าง ๆ ที่จำเป็นจะต้องมีไว้พร้อมก่อนดำเนินการสัมภาษณ์ ในขั้นของการเตรียมการนี้ควรจะได้พิจารณาจัดเตรียมและจัดทำเรื่องต่าง ๆ ที่สำคัญต่อไปนี้คือ ก.) ควรจะได้มีการกำหนดเป้าหมายที่ต้องการของการดำเนินการสัมภาษณ์ กล่าวคือ การได้กำหนดเป้าหมายหรือทบทวนและพิจารณาถึงสิ่งที่ต้องการในการสัมภาษณ์ ย่อมจะช่วยให้มีโอกาสที่จะทำการสัมภาษณ์ได้ดีขึ้น และช่วยให้เข้าใจได้ว่ามีข้อมูลประการใดบ้างที่ควรจะเสาะหาจากการ ทำการสัมภาษณ์จึงจะได้ประโยชน์ที่สุด ที่จะนำมาพิจารณาได้ในภายหลัง ข. ควรจะได้มีการกำหนดวิธีการสัมภาษณ์ ที่จะช่วยให้สามารถบรรลุได้ตามเป้าหมายดังกล่าว ในที่นี้ก็คือควรที่จะต้องตัดสินใจหรือตกลงใจเกี่ยวกับวิธีที่จะเลือกใช้ในการสัมภาษณ์ ซึ่งความเหมาะสม ของแต่ละวิธีของการสัมภาษณ์นั้นย่อมขึ้นอยู่กับเงื่อนไขกรณีต่าง ๆ เช่น ขึ้นอยู่กับจำนวนของผู้ที่จะเข้าทำการสัมภาษณ์ […]

ข้อปฏิบัติและแนวทางสำหรับผู้ทำการสัมภาษณ์

วิธีที่จะปรับปรุงให้การสัมภาษณ์สามารถกระทำได้ผลดีขึ้น มีข้อแนะนำเป็นแนวทางทั้งหมด 8 ประการด้วยกัน คือ 1. พยายามใช้วิธีการสัมภาษณ์ที่มีโครงเรื่องจดไว้เป็นแนวทางให้มาก อย่างที่ กล่าวมาแล้วว่า การสัมภาษณ์โดยมีคำถามที่จัดเป็นโครงเป็นแบบไว้เพื่อใช้เป็นแนวทางนั้น มักจะให้ประโยชน์ได้มากกว่า กล่าวคือ จะช่วยให้การเก็บรวบรวมข้อมูลการบันทึกข้อมูลในขณะทำการสัมภาษณ์ทำได้ครบถ้วน ซึ่งเรื่องนี้เป็นเรื่องสำคัญ เพราะว่าถ้าหากไม่มีแบบฟอร์มคำถามแล้ว ผู้ทำการสัมภาษณ์มักจะไม่สามารถเก็บรวบรวมข้อมูลหรือจำข้อมูลที่ได้จากการสัมภาษณ์คนเป็นจำนวนมาก ๆได้เท่าที่ควร หลังจากการสัมภาษณ์สิ้นสุดลงประมาณ 20 นาที ก็มักจะลืมเรื่องที่ได้ฟังมาแล้ว นอกจากนี้คำถามที่มีไว้เพื่อเป็นแนวทางยังช่วยให้เรามั่นใจได้ว่า จะไม่มีการตกหล่นและบกพร่องหรือลืมถามคำถามที่สำคัญ ๆ และผลพลอยได้จากวิธีนี้ก็คือ ผู้ทำการสัมภาษณ์จะพูดน้อยลงและในทางกลับกันก็จะเป็นผลส่งเสริมให้ผู้ถูกสัมภาษณ์บรรยายความรู้สึกได้มากขึ้น นอกเหนือจากนี้เครื่องมือ ดังกล่าวยังช่วยให้เรามีโอกาสประเมินผู้ถูกสัมภาษณ์ทุก ๆ คนได้อย่างครบถ้วน หลังจากการสัมภาษณ์ สิ้นสุดลง ซึ่งย่อมจะช่วยให้การปฏิบัติผิดที่จะด่วนสรุปความคิดหรือการจับเอาเหตุการณ์ตอนใดตอนหนึ่งมาประเมินให้มีน้อยลงได้ อีกทั้งยังช่วยให้สามารถลดข้อมูลให้อยู่ในขอบเขตที่เหมาะสมไม่เป็น ายละเอียดมากเกินไป ซึ่งการเปรียบเทียบด้วยมาตรฐานเดียวกันก็จะสามารถกระทำได้ โดยไม่มีอิทธิพลของข้อแตกต่างของผู้สมัครที่เข้ามาต่างจังหวะขั้นตอน แนวทางคำถามของการสัมภาษณ์ยัง ช่วยในการที่จะลดหรือป้องกันมิให้ข้อมูลที่เป็นข้อมูลที่ไม่ดีเข้ามาสู่ความคิดของผู้ทำการสัมภาษณ์   มากเกินไป กล่าวคือ ด้วยคำถามที่แน่นอนนั้น จะช่วยให้เรามีทัศนคติที่ปลอดกว่าเดิมที่จะมีสิ่งที่ถูกต้องอยู่ในใจเกี่ยวกับประเด็นที่จะดำเนินการถามระหว่างดำเนินการสัมภาษณ์ มากกว่าข้อมูลที่ได้อ่านมาก่อนซึ่งการมีคำถามนำนี้ มักจะเป็นเครื่องป้องกันมิให้มีการเผลอไผลไปอิงอยู่กับการตอบคำกาม เพียง 2-3 ข้อ ซึ่งอาจจะได้รับคำตอบจากผู้ถูกสัมภาษณ์ ที่ได้มาเป็นข้อมูลที่ไม่ดีก็ได้ 2.  พยายามให้มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับงานที่ต้องการเลือกคนให้มากที่สุด กรณีนี้ย่อมเป็นที่ชัดแจ้งที่ว่า ผู้ต้องการสัมภาษณ์จำเป็นต้องเข้าใจเนื้อหาของงานอย่างแจ่มแจ้ง […]