วิธีใช้เวลาของท่านในการพูดคุย

ท่านรู้สึกอย่างไร เมื่อต้องเสียเวลาคอยการนัดพบกับผู้บังคับบัญชา เพื่ออภิปรายงานบางอย่าง ท่านรู้สึกอย่างไร เมื่อผู้ร่วมงานหรือผู้ใต้บังคับบัญชามักมาสายเป็นประจำในการเข้าร่วมประชุม ท่านรู้สึกอย่างไร เมื่อมีบางคนมาเร็วกว่าผู้อื่นเพื่อเข้าประชุมกับท่าน ท่านรู้สึกอย่างไร เมื่อถูกสั่งให้ทำงานล่วงเวลาในวันสุดสัปดาห์ ท่านรู้สึกอย่างไร เมื่อผู้บังคับบัญชาของท่านหยุดการสนทนากับท่านบ่อยครั้ง จนเกือบจะเป็นปกติวิสัย และหันไปให้เวลามากขึ้นกับผู้ร่วมงานอีกคนหนึ่ง คำถามทั้งหมดที่กล่าวมาข้างบน เป็นตัวอย่างสาธิตให้เห็นว่า การใช้เวลาของเราอย่างไรนั้น ย่อมสื่อความหมายให้บุคคลทราบว่า เรารู้สึกอย่างไรต่อบุคคลเหล่านั้น – โดยเฉพาะความรู้สึกที่เกี่ยวกับความชอบพอ เกี่ยวกับความสำคัญ และเกี่ยวกับตำแหน่งฐานะ เวลาคือทรัพยากรที่ต่อเนื่อง หายาก และไม่สามารถย้อนกลับมาใหม่ได้ ดังนั้นการที่ท่านจะให้เวลากับใครมากน้อยเพียงไร ในเวลาใด ย่อมเป็นตัวแปรที่สำคัญในการสื่อความรู้สึกของท่านต่อบุคคลอื่น ศาสตราจารย์แอนโทนี อะโทส (Anthony athos) ได้ระบุคำ ๓ คำ ที่เป็นตัวแปรสำคัญที่เราใช้บอกความหมายของเวลา ได้แก่ ความเที่ยงตรง ความจำกัด และความซ้ำซ้อน และแม้ว่ากฎที่เกี่ยวกับการใช้เวลา โดยคำนึงถึงตัวแปรทั้ง ๓ ตัวดังกล่าวจะแตกต่างกันบ้าง จากสถานการณ์หนึ่งไปสู่อีกสถานการณ์หนึ่ง การใช้เวลาของเราเพื่อสื่อความหมาย ก็ยังบอกได้ด้วยเสียงต่าง ๆ กันมากมาย ถ้า “การพูด” เรื่องเวลาสามารถส่งเสียงให้ได้ยินได้ ความเที่ยงตรง ปัญหาของเราเกี่ยวกับความเที่ยงตรงของเวลาเป็นปัญหาใหญ่ นาฬิกาบอกเวลามักได้รับการโฆษณา […]