การลงมือปฏิบัติการบริหารงาน

นักบริหารมักจะดำเนินตามกระบวนการแก้ปัญหาทั้งหมดโดยตลอด ตั้งแต่การกำหนดปัญหา การพัฒนาลู่ทางแก้ปัญหา การตกลงเลือกแผนปฏิบัติการ เพื่อบรรลุวัตถุประสงค์ และแล้วก็ไม่มีอะไรเกิดขึ้น เพราะไม่มีใครทำอะไรกับสิ่งที่เลือกตัดสินไว้ หรือไม่ได้ลงมีอปฏิบัติอย่างมีประสิทธิภาพ ในการตัดสินใจด้านเทคนิคหลาย ๆ ครั้ง อาจไม่จำเป็นที่จะต้องพิจารณา เป็นพิเศษในเรื่องการลงมือปฏิบัติการ ถ้าได้มีการตัดสินใจที่จะติดตั้งเครื่องปรับอากาศใหม่ เครื่องคอมพิวเตอรใหม่ หรือปูพรมใหม่ ก็ย่อมจะลงมือ ปฏิบัติได้ง่าย ๆ ด้วยการสื่อสารเกี่ยวกับสิ่งที่ท่านต้องการ และจัดให้มีผู้ติดตั้งให้ แต่ในการตัดสินใจทุกรูปแบบที่มีคนได้รับผลกระทบ การลงมือปฏิบัติอาจจะเป็นปัจจัยที่สำคัญที่ต้องพิจารณา ประเด็นสำคัญก็คือ การตัดสินเลือกระหว่างลู่ทางหลาย ๆ ลู่ทาง และตัดสินเลือกแผนปฏิบัติการไม่ใช่การสิ้นสุดของกระบวนการแก้ปัญหา ลำพังการตัดสินใจและแผนปฏิบัติการมีค่าน้อยมาก นอกเสียจากว่าจะ สามารถลงมือปฏิบัติอย่างมีประสิทธิภาพ ขั้นนี้เป็นขั้นที่ยากที่สุดที่จะทำให้สำเร็จได้ คำถามที่สำคัญคือ “อย่างไร?” “ด้วยวิธีใดแผนปฏิบัติการนี้ จึงจะดำเนินไปสู่ความสำเร็จได้” การละเลยคำถามนจากกระบวนการแก้ปัญหา ย่อมหมายถึงการตัดเอาเรื่องการตัดสินใจออกจากความเป็นจริงของการปฏิบัติงาน หนึ่งในประสบการณ์ทั้งหลายที่น่าพอใจที่สุดและเป็นประสบการณ์ ที่ส่งเสริมสัมพันธภาพ สำหรับผู้นิเทศก์และผู้ใต้บังคับบัญชาทั้งสองฝ่ายคือ การได้เห็นแผนปฏิบัติการซึ่งตนได้พิจารณาให้อย่างรอบคอบ ได้รับการนำไปใช้อย่างประสบความสำเร็จ ความสำเร็จนี้ย่อมไม่ได้เกิดจากตัวแผนเอง แต่จะเกิดขึ้นจากความเข้าใจเป็นอันดีเกี่ยวกับแผนการดำเนินการปฏิบัติงาน หากปราศจากยุทธศาสตร์ดังกล่าว แผนปฏิบัติการจะสุขุมเพียงไรก็สามารถส่งผลให้เกิดความยุ่งเหยิง ความหงุดหงิด และสร้างปัญหาอื่นเพิ่มมากกว่า ปัญหาที่ได้รับการแก้ไขเสียอีก แผนปฏิบัติการส่วนมาก ต้องการให้เกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม ทั้งในตัวพนักงานของท่าน ในตัวท่าน และผู้อื่นที่ได้รับผลกระทบอยู่ในองค์กรนั้น […]