มาตรฐานการจ่ายผลตอบแทนแบบจูงใจทางการผลิต

มาตรฐานต่าง ๆ สำหรับการจ่ายผลตอบแทนแบบจูงใจทางการผลิต (Stan­dard for Production Incentives) ความสำเร็จของระบบการจ่ายผลตอบแทนแบบจูงใจสำหรับงานผลิตนั้น ส่วนใหญ่มักจะขึ้นอยู่กับความสามารถในการกำหนดหรือพัฒนามาตรฐานของงานว่าสามารถจัดทำได้อย่างถูกต้องเพียงใด มาตรฐานต่าง ๆ เหล่านี้มีความสำคัญมิใช่แต่เพียงเพื่อให้สามารถพิจารณาสัมพันธ์ระหว่างการจ่ายตอบแทนแบบจูงใจกับความพยายามของพนักงานเท่านั้น หากแต่ยังคงมีความสำคัญในอีกแง่หนึ่ง ที่ควรจะเป็นวิธีที่ซึ่งได้รับความเชื่อถือจากพนักงานทั้งหลาย ที่จะมีศรัทธาต่อระบบดังกล่าวด้วย ถ้าหากมาตรฐานที่ได้กำหนดไว้หย่อนเกินไปหรือตํ่าเกินไป ผลที่ปรากฏออกมาก็มักจะกลายเป็นว่า ทำให้ต้นทุนต่าง ๆ สูงขึ้น ซึ่งเป็นภาระต่อฝ่ายจัดการเป็นอย่างยิ่ง ทั้งนี้เพราะพนักงานส่วนมากจะพลอยถือโอกาสไม่ใช้ความพยายามเท่าที่ควรเพื่อให้คุ้มหรือให้สมกับรายได้ที่เขาได้รับ มาตรฐานที่หย่อนเกินไปนี้ ถ้าหากได้เกิดขึ้นแล้วก็เป็นการยากที่จะแก้ไขให้สูงขึ้น หรือหากถ้าจะทำก็มักจะมีผลกระทบต่อ ความร่วมมือของพนักงานเป็นอย่างมาก ขณะเดียวกันในทางตรงข้าม ถ้ามาตรฐานได้กำหนดไว้สูงเกิน หรือตึงเกินไป ก็อาจจะมีข้อเสียที่จะกลายเป็นเครื่องจำกัดโอกาสของพนักงานที่จะได้รับค่าจ้างแบบจูงใจบ้าง และจะไม่เอื้ออำนวยให้พนักงานมีความกระตือรือล้นที่จะทำงานมากขึ้น   ปัญหาของ มาตรฐานที่เหมาะสมจึงเป็นเรื่องสำคัญ ซึ่งหากมิได้กระทำอย่างถูกต้องก็มักจะก่อให้เกิดข้อเรียกร้อง และข้อร้องเรียนที่ไม่ดีตามมาเสมอ การพิจารณากำหนดเวลามาตรฐาน (Time Standards) วิธีหนึ่งที่ใช้มากที่สุดก็คือ “การกำหนดเวลามาตรฐาน” หรือการกำหนดเวลาที่แท้จริงสำหรับการทำงานที่สามารถวัดได้ด้วยเวลา ซึ่งกำหนดขึ้นมาจากการวัดเวลา (time measurement) ของการทำงานโดยการใช้นาฬิกาจับเวลา วิธีการติดตามศึกษาเรื่องเวลาที่ใช้ในการทำงานนี้ ส่วนมากจะทำโดยมีการบันทึกและจัดเป็น ลำดับเพื่อที่จะจัดเป็นระดับขั้น (levels) เพื่อที่จะให้เป็นระดับของการใช้ความชำนาญและความพยายามของพนักงานที่ต่างกัน เป็นระดับของการใช้ความชำนาญและความพยายามของพนักงานที่ต่างกันเป็นระดับ ๆ ตัวอย่างเช่น ถ้าหากสามารถพิสูจน์ได้ว่า บุคคลคนหนึ่งสามารถทำงานได้เร็วกว่า […]