ปัจจัยที่มีผลกระทบต่อการใช้วิธีการสัมภาษณ์

การพิจารณาว่าอะไรเป็นปัญหาที่ทำให้ประโยชน์ของการทำสัมภาษณ์ไม่ได้ผลเต็มที่นั้น ปัญหาอาจจะสรุปได้ในกรณีต่าง ๆ  ซึ่งหลังจากที่ท่านได้ทราบปัญหาแล้ว ท่านก็คงจะสามารถที่จะหลีกเลี่ยงและทำการสัมภาษณ์ในวิธีที่ถูกต้องได้ผลเสมอ ปัญหาที่มักจะทำให้การสัมภาษณ์ล้มเหลวมักจะมีต่อไปนี้คือ 1.  การชิงทำการตัดสินใจไว้ในใจเสียก่อน ปัญหาประการแรกนี้ก็คือว่าถ้าไม่ระมัดระวังแล้ว ผู้ทำการสัมภาษณ์ส่วนใหญ่มักจะรีบด่วนและชิงตัดสินใจเกี่ยวกับผู้สมัครในระยะไม่กี่นาทีแรกของการดำเนินการสัมภาษณ์ ซึ่งถ้าหากเป็นเช่นนั้น ย่อมเป็นการยากลำบากแก่ผู้ที่ถูกสัมภาษณ์ คือ ผู้สมัครที่จะพยายามแก้ไขข้อบกพร่องบางอย่างที่อาจแสดงออกมาในระยะแรก ๆ ของการสัมภาษณ์ –                                            การชิงทำการตัดสินใจก่อน –                                            การมีข้อมูลที่ไม่ดีอยู่ในใจ –                                            ความไม่เข้าใจเกี่ยวกับงานที่ต้องการรับคน –                                            ข้อจำกัดเกี่ยวกับการว่าจ้าง –                                            การมีมาตรฐานเปรียบเทียบ –                                            ผลของอิทธิพลของอาการที่แสดงออก –                                            ข้อแตกต่างของวิธีสัมภาษณ์ –                                            ความชำนาญของผู้ทำการสัมภาษณ์ ทุกประการจะกระทบต่อประโยชน์จากการใช้วิธีสัมภาษณ์ ภาพที่ 9.3 ปัจจัยที่มีผลกระทบต่อประโยชน์ที่จะได้จากการใช้วิธีสัมภาษณ์ จากการวิจัยค้นคว้า ได้พบสถิติที่สำคัญในเรื่องนี้ว่า 85% ของผู้ทำการสัมภาษณ์มักจะมีการตัดสินใจ ไว้ในความคิดของตนเกี่ยวกับตัวผู้สมัครก่อนที่ผู้สมัครจะทำการเข้ามาสัมภาษณ์เสียอีก ซึ่งอาจจะกระทำโดยสรุปเหตุผลเอาง่าย ๆ จากใบสมัคร หรือจากการได้เห็นบุคลิกภาพของผู้สมัครในครั้งแรก หรือในวินาทีแรกเท่านั้น 2.  การมีข้อมูลที่ไม่พึงประสงค์ หรือข้อมูลที่ไม่ดีอยู่ในใจ ผู้ทำการสัมภาษณ์มัก จะได้รับอิทธิพลส่วนใหญ่ และมีความจำฝังแน่นอยู่กับข้อมูลที่ไม่ดีมากกว่าข้อมูลที่เป็นไปในทางดี เกี่ยวกับตัวผู้สมัคร นอกจากนั้น วามประทับใจของผู้ทำการสัมภาษณ์มักจะมีการโน้มเอียงหรือมี […]

วิธีการสัมภาษณ์งานแบบต่างๆ

ก. การสัมภาษณ์ทางอ้อม (Non-directive Review) วิธีนี้ผู้ทำการสัมภาษณ์จะ ระมัดระวังเป็นพิเศษที่จะไม่สร้างบรรยากาศให้ผู้ถูกสัมภาษณ์มีความประหม่าโดยเฉพาะการที่จะไม่ทักถึงข้อผิดหรือจะไม่ให้ข้อมูลในสิ่งที่ตัวเองได้ประเมินในใจ และจะส่งเสริมให้ผู้สมัครมีความสบายใจและมีอิสระที่จะพูดหรือเจรจาได้อย่างเสรี วิธีที่ใช้ทำการสัมภาษณ์มักจะดำเนินการโดยพยายามตั้งคำกามที่ง่ายอย่างกว้าง ๆ เช่น ให้เล่าถึงประสพการณ์งานที่เคยทำมาก่อนและอนุญาตให้ผู้ถูกสัมภาษณ์แสดงความเห็นได้เต็มที โดยพยายามไม่ขัดจังหวะ ซึ่งผู้ทำการสัมภาษณ์มักจะทำเพียงการเสริมด้วยคำพูดว่า “แล้วเป็นอย่างไรอีก” หรือถามว่า “สภาพโดยทั่วๆไปในขณะนั้นเป็นอย่างไร” เพื่อที่จะชักนำให้ผู้สมัครเล่าเรื่องต่าง ๆ ต่อกันไปเรื่อย ๆ โดยทั่วไปแล้ววิธีการสัมภาษณ์ที่ไม่ได้มีการชักนำ หรือสัมภาษณ์ทางอ้อมนี้ ความสำคัญจะอยู่ที่ผู้ทำการสัมภาษณ์ที่จะต้องระมัดระวัง และแสดงความตั้งใจที่จะรับฟังโดยไม่พยายามโต้แย้งหรือตั้งคำถามที่แหวกแนวหรือคัดง้าง และจะไม่ขัดจังหวะหรือเปลี่ยนเรื่องกระทันหัน หากแต่จะใช้วิธีการเจรจาอย่างสั้น ๆ และให้มีจังหวะหยุดพักที่เหมาะสมในระหว่างสนทนากัน ซึ่งการปฏิบัติตัวของผู้ทำการสัมภาษณ์ที่จะเสริมสร้างให้ผู้ถูกสัมภาษณ์มีความคล่องตัวและสบายใจดังกล่าวนี้จะมิใช่วิธีที่ง่ายนักที่ผู้ทำการสัมภาษณ์ใหม่ ๆ จะทำได้ ในการใช้วิธีสัมภาษณ์โดยไม่มีการชักนำนี้ ข้อดีก็คือ จะเปิดโอกาสให้มีการสนทนากันได้มาก โดยเฉพาะในบางประเด็นที่ผู้สมัครต้องการจะพูดเป็นพิเศษ ซึ่งนับว่าเป็นคุณค่าที่จะให้ผู้ทำการสัมภาษณ์ได้สังเกตโดยเข้าใจเกี่ยวกับข้อมูลต่าง ๆ ตลอดจนทัศนคติหรือความรู้สึกได้ดีกว่ากรณีซึ่งใช้วิธีรวบรัดแบบให้ผู้ตอบตอบอย่างสั้น ๆ แต่อย่างไรก็ตามถ้าหากผู้ทำการสัมภาษณ์เลือกที่จะใช้วิธีการสัมภาษณ์โดยไม่มีการชักนำนี้ ถ้าหากผู้ทำการสัมภาษณ์มิได้ตั้งเป้าหมายที่ต้องการจะตรวจสอบแล้ว ประโยชน์ก็จะมีได้น้อยเช่นกัน ข. การสมภาษณ์แบบลึก (Depth Interview) การสัมภาษณ์แบบลึกนี้เป็นการสัมภาษณ์ที่ยากกว่าวิธีการสัมภาษณ์แบบไม่ได้มีการชักนำ ซึ่งการดำเนินการสัมภาษณ์ตามแบบวิธีนี้จะต้องมีการจัดเตรียมโครงเรื่องในรูปของคำถาม ที่จะให้ครอบคลุมกึงประเด็นต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับเรื่องราวของผู้สมัครโดยเฉพาะในแง่ของการว่าจ้าง ตัวอย่างของคำถามมักจะต้องครอบคลุมเกี่ยวกับเรื่องงาน, การศึกษา, การสัมพันธ์กับสังคม, พื้นฐานทางเศรษฐกิจ […]