ข้อปฏิบัติและแนวทางสำหรับผู้ทำการสัมภาษณ์

วิธีที่จะปรับปรุงให้การสัมภาษณ์สามารถกระทำได้ผลดีขึ้น มีข้อแนะนำเป็นแนวทางทั้งหมด 8 ประการด้วยกัน คือ 1. พยายามใช้วิธีการสัมภาษณ์ที่มีโครงเรื่องจดไว้เป็นแนวทางให้มาก อย่างที่ กล่าวมาแล้วว่า การสัมภาษณ์โดยมีคำถามที่จัดเป็นโครงเป็นแบบไว้เพื่อใช้เป็นแนวทางนั้น มักจะให้ประโยชน์ได้มากกว่า กล่าวคือ จะช่วยให้การเก็บรวบรวมข้อมูลการบันทึกข้อมูลในขณะทำการสัมภาษณ์ทำได้ครบถ้วน ซึ่งเรื่องนี้เป็นเรื่องสำคัญ เพราะว่าถ้าหากไม่มีแบบฟอร์มคำถามแล้ว ผู้ทำการสัมภาษณ์มักจะไม่สามารถเก็บรวบรวมข้อมูลหรือจำข้อมูลที่ได้จากการสัมภาษณ์คนเป็นจำนวนมาก ๆได้เท่าที่ควร หลังจากการสัมภาษณ์สิ้นสุดลงประมาณ 20 นาที ก็มักจะลืมเรื่องที่ได้ฟังมาแล้ว นอกจากนี้คำถามที่มีไว้เพื่อเป็นแนวทางยังช่วยให้เรามั่นใจได้ว่า จะไม่มีการตกหล่นและบกพร่องหรือลืมถามคำถามที่สำคัญ ๆ และผลพลอยได้จากวิธีนี้ก็คือ ผู้ทำการสัมภาษณ์จะพูดน้อยลงและในทางกลับกันก็จะเป็นผลส่งเสริมให้ผู้ถูกสัมภาษณ์บรรยายความรู้สึกได้มากขึ้น นอกเหนือจากนี้เครื่องมือ ดังกล่าวยังช่วยให้เรามีโอกาสประเมินผู้ถูกสัมภาษณ์ทุก ๆ คนได้อย่างครบถ้วน หลังจากการสัมภาษณ์ สิ้นสุดลง ซึ่งย่อมจะช่วยให้การปฏิบัติผิดที่จะด่วนสรุปความคิดหรือการจับเอาเหตุการณ์ตอนใดตอนหนึ่งมาประเมินให้มีน้อยลงได้ อีกทั้งยังช่วยให้สามารถลดข้อมูลให้อยู่ในขอบเขตที่เหมาะสมไม่เป็น ายละเอียดมากเกินไป ซึ่งการเปรียบเทียบด้วยมาตรฐานเดียวกันก็จะสามารถกระทำได้ โดยไม่มีอิทธิพลของข้อแตกต่างของผู้สมัครที่เข้ามาต่างจังหวะขั้นตอน แนวทางคำถามของการสัมภาษณ์ยัง ช่วยในการที่จะลดหรือป้องกันมิให้ข้อมูลที่เป็นข้อมูลที่ไม่ดีเข้ามาสู่ความคิดของผู้ทำการสัมภาษณ์   มากเกินไป กล่าวคือ ด้วยคำถามที่แน่นอนนั้น จะช่วยให้เรามีทัศนคติที่ปลอดกว่าเดิมที่จะมีสิ่งที่ถูกต้องอยู่ในใจเกี่ยวกับประเด็นที่จะดำเนินการถามระหว่างดำเนินการสัมภาษณ์ มากกว่าข้อมูลที่ได้อ่านมาก่อนซึ่งการมีคำถามนำนี้ มักจะเป็นเครื่องป้องกันมิให้มีการเผลอไผลไปอิงอยู่กับการตอบคำกาม เพียง 2-3 ข้อ ซึ่งอาจจะได้รับคำตอบจากผู้ถูกสัมภาษณ์ ที่ได้มาเป็นข้อมูลที่ไม่ดีก็ได้ 2.  พยายามให้มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับงานที่ต้องการเลือกคนให้มากที่สุด กรณีนี้ย่อมเป็นที่ชัดแจ้งที่ว่า ผู้ต้องการสัมภาษณ์จำเป็นต้องเข้าใจเนื้อหาของงานอย่างแจ่มแจ้ง […]

วิธีการสัมภาษณ์งานแบบต่างๆ

ก. การสัมภาษณ์ทางอ้อม (Non-directive Review) วิธีนี้ผู้ทำการสัมภาษณ์จะ ระมัดระวังเป็นพิเศษที่จะไม่สร้างบรรยากาศให้ผู้ถูกสัมภาษณ์มีความประหม่าโดยเฉพาะการที่จะไม่ทักถึงข้อผิดหรือจะไม่ให้ข้อมูลในสิ่งที่ตัวเองได้ประเมินในใจ และจะส่งเสริมให้ผู้สมัครมีความสบายใจและมีอิสระที่จะพูดหรือเจรจาได้อย่างเสรี วิธีที่ใช้ทำการสัมภาษณ์มักจะดำเนินการโดยพยายามตั้งคำกามที่ง่ายอย่างกว้าง ๆ เช่น ให้เล่าถึงประสพการณ์งานที่เคยทำมาก่อนและอนุญาตให้ผู้ถูกสัมภาษณ์แสดงความเห็นได้เต็มที โดยพยายามไม่ขัดจังหวะ ซึ่งผู้ทำการสัมภาษณ์มักจะทำเพียงการเสริมด้วยคำพูดว่า “แล้วเป็นอย่างไรอีก” หรือถามว่า “สภาพโดยทั่วๆไปในขณะนั้นเป็นอย่างไร” เพื่อที่จะชักนำให้ผู้สมัครเล่าเรื่องต่าง ๆ ต่อกันไปเรื่อย ๆ โดยทั่วไปแล้ววิธีการสัมภาษณ์ที่ไม่ได้มีการชักนำ หรือสัมภาษณ์ทางอ้อมนี้ ความสำคัญจะอยู่ที่ผู้ทำการสัมภาษณ์ที่จะต้องระมัดระวัง และแสดงความตั้งใจที่จะรับฟังโดยไม่พยายามโต้แย้งหรือตั้งคำถามที่แหวกแนวหรือคัดง้าง และจะไม่ขัดจังหวะหรือเปลี่ยนเรื่องกระทันหัน หากแต่จะใช้วิธีการเจรจาอย่างสั้น ๆ และให้มีจังหวะหยุดพักที่เหมาะสมในระหว่างสนทนากัน ซึ่งการปฏิบัติตัวของผู้ทำการสัมภาษณ์ที่จะเสริมสร้างให้ผู้ถูกสัมภาษณ์มีความคล่องตัวและสบายใจดังกล่าวนี้จะมิใช่วิธีที่ง่ายนักที่ผู้ทำการสัมภาษณ์ใหม่ ๆ จะทำได้ ในการใช้วิธีสัมภาษณ์โดยไม่มีการชักนำนี้ ข้อดีก็คือ จะเปิดโอกาสให้มีการสนทนากันได้มาก โดยเฉพาะในบางประเด็นที่ผู้สมัครต้องการจะพูดเป็นพิเศษ ซึ่งนับว่าเป็นคุณค่าที่จะให้ผู้ทำการสัมภาษณ์ได้สังเกตโดยเข้าใจเกี่ยวกับข้อมูลต่าง ๆ ตลอดจนทัศนคติหรือความรู้สึกได้ดีกว่ากรณีซึ่งใช้วิธีรวบรัดแบบให้ผู้ตอบตอบอย่างสั้น ๆ แต่อย่างไรก็ตามถ้าหากผู้ทำการสัมภาษณ์เลือกที่จะใช้วิธีการสัมภาษณ์โดยไม่มีการชักนำนี้ ถ้าหากผู้ทำการสัมภาษณ์มิได้ตั้งเป้าหมายที่ต้องการจะตรวจสอบแล้ว ประโยชน์ก็จะมีได้น้อยเช่นกัน ข. การสมภาษณ์แบบลึก (Depth Interview) การสัมภาษณ์แบบลึกนี้เป็นการสัมภาษณ์ที่ยากกว่าวิธีการสัมภาษณ์แบบไม่ได้มีการชักนำ ซึ่งการดำเนินการสัมภาษณ์ตามแบบวิธีนี้จะต้องมีการจัดเตรียมโครงเรื่องในรูปของคำถาม ที่จะให้ครอบคลุมกึงประเด็นต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับเรื่องราวของผู้สมัครโดยเฉพาะในแง่ของการว่าจ้าง ตัวอย่างของคำถามมักจะต้องครอบคลุมเกี่ยวกับเรื่องงาน, การศึกษา, การสัมพันธ์กับสังคม, พื้นฐานทางเศรษฐกิจ […]