เทคนิคการพัฒนาการจัดการในหน้าที่งาน

ประกอบด้วย.- การให้มีประสบการณ์จากการปฏิบัติงาน (On-The-Job Experience) วิธีการใช้วิธีการฝึกฝนหรือพัฒนาโดยให้มีการเสริมสร้างประสบการณ์หรือพัฒนาการจัดการ จากการให้ปฏิบัติงานนั้น อาจกระทำได้4วิธี คือ 1.  การคอยกำกับแนะนำ (Coaching) และการให้ข้อเสนอแนะเชิงปรึกษา (Counseling) ขณะที่ยังอยู่ในตำแหน่งงานปัจจุบัน 2.  เปลี่ยนไปทำงานในที่ใหม่ เพื่อให้มีประสบการณ์ในงานใหม่ ๆ เป็นครั้งคราว โดยที่ตำแหน่ง ฐานะยังคงอยู่กับงานเดิม 3.  การจัดแผนเพื่อให้มีการพัฒนาตนเองตลอดเวลา (Self-Improvement program) 4.  การให้โยกย้ายเปลี่ยนงาน (Job Rotation) และการเปลี่ยนตำแหน่งใหม่ตามแผนงานอาชีพ ที่จัดให้ (Career plans) แผนงานต่าง ๆ เหล่านี้ล้วนแต่เป็นแผนงานซึ่งสามารถใช้เสริมระหว่างกันและไม่มีอันใดอันหนึ่ง ขัดแย้งกัน ส่วนใหญ่แล้วมักจะมีการใช้หลาย ๆ วิธีควบคู่กันด้วย วิธีการพัฒนาการจัดการจากหน้าที่งานนี้เป็นวิธีที่นิยมใช้กันมาก และมีข้อดีหลายประการ เพราะสาเหตุประการหนึ่งที่เป็นอุปสรรคสำคัญของการให้ละจากงานเพื่อออกไปพัฒนาในภายนอกนั้น มักจะทำให้ไม่สามารถเรียนรู้เรื่องราวที่ตรงกับเรื่องที่เป็นจริง และไม่สามารถเช็คสอบปัจจัยต่าง ๆ ที่เป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับงานที่จะต้องเผชิญ ตัวอย่างเช่น การศึกษาจากเอกสารหรือบทความมักจะมีตัวอย่างของผู้บริหารอื่น ๆ หลายเรื่อง แต่หลังจากการฝึกอบรมวิธีนี้เสร็จสิ้น ก็กลับกลายเป็นว่าพฤติกรรมมิได้เปลี่ยนแปลงไปแต่ประการใด ดังนั้นการใช้วิธีการพัฒนาจากการทำงานในปัจจุบันหรือ พัฒนาในหน้าที่งาน […]

เทคนิคที่ใช้ในการพัฒนาการจัดการ

เทคนิคที่ใช้ในการพัฒนาการจัดการ (Management Development Techniques) เมื่อองค์การได้ค้นพบปัญหาความจำเป็นที่ต้องมีการพัฒนาการจัดการแล้ว จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องพิจารณากำหนดต่อไปว่า จะใช้วิธีพัฒนานักบริหารของตนด้วยวิธีใด อย่างไร เทคนิควิธีการอบรมบางอย่างที่ได้กล่าวมาแล้ว อาจจะสามารถนำมาใช้ได้บ้างในที่นี้ แต่อย่างไรก็ตามสำหรับเทคนิควิธีการที่จะใช้เพื่อการพัฒนาการจัดการได้อย่างแท้จริงโดยตรง ก็จะเป็นเครื่องมืออีกกลุ่มหนึ่งที่จะได้พูดในที่นี้ ผู้ชำนาญการหลายคนได้ชี้ปัญหาให้ทราบว่า แผนการพัฒนาการจัดการที่มีประสิทธิภาพนั้น จำเป็นอย่างยิ่งที่ผู้บริหารทุกคนจะต้องมีทัศนคติที่ดีที่มีความตั้งใจจะพัฒนาตัวเองให้ดีขึ้น ถ้าหากผู้บริหารไม่ตระหนักถึงความจำเป็นและความสำคัญในการพัฒนา หรือไม่สนใจที่จะมาเสียแรงเหนื่อย เพื่อการพัฒนาให้รับกับการเปลี่ยนแปลงแล้ว ก็เป็นหน้าที่ของหน่วยงานที่จะต้องจูงใจหรือชักนำให้ตระหนักถึงปัญหาดังกล่าวและเสริมสร้างให้เกิดความต้องการขึ้น แผนการพัฒนาการจัดการจะมีประสิทธิภาพมากน้อยเพียงใด ในที่สุดย่อมขึ้นอยู่กับความต้องการของแต่ละบุคคลที่จะมีความสนใจต่อการพัฒนาและศึกษาต่อเนื่องจากตัวผู้บริหารนั้น ๆ เอง ว่ามีมากน้อยเพียงใด หน่วยงานต่าง ๆ อาจจะมีการจัดโครงการพัฒนานักบริหารหรือการพัฒนาการจัดการนี้ต่างกันออกไป ทั้งในรูปแบบที่จัดขึ้นอย่างเป็นทางการ หรือกระทำอย่างไม่เป็นทางการ กล่าวคือวิธีหนึ่งที่องค์การสามารถจัดทำขึ้นอย่างเป็นทางการ และถือเป็นเรื่องนโยบายที่แน่นอนที่จะพัฒนานักบริหารใหม่ ๆนั้น อาจจะกระทำได้2วิธี คือ การปรับหรือสร้างให้มีวิธีการซึ่งมีการทำงานคู่กันเพื่อให้มีประสพการณ์เรียนรู้งานและถ่ายทอดความสามารถระหว่างกันในองค์การ ซึ่งนับว่าเป็นวิธีที่มีประโยชน์ วิธีหนึ่งที่เป็นการจัดขึ้นอย่างไม่เป็นทางการ และวิธีที่สองที่เป็นการพัฒนาการจัดการอย่างเป็นทางการ ก็คือ การใช้วิธีการจัดเป็นโครงการนอกหน้าที่งาน ซึ่งในที่นี้ผู้บริหารหรือผู้บริหารในอนาคตจะได้รับโอกาสให้ลาหรือละจากงานสำหรับช่วงระยะเวลาหนึ่ง เพื่อไปแสวงหาความรู้ความสามารถเพิ่มเติม และพัฒนาทัศนคติใหม่ ๆ