เกณฑ์ที่ใช้ประเมินผลการปฏิบัติงาน

การพิจารณาเกี่ยวกับเกณฑ์ที่ใช้ในการประเมินผล (Criteria of Evaluation)

ในการประเมินผลการปฏิบัติงานนั้น สิ่งสำคัญประการหนึ่งที่ต้องพิจารณาก็คือเกณฑ์ที่พึงจะต้องทำการประเมิน ซึ่งมักจะครอบคลุมในเรื่องใหญ่ ๆ คือ คุณภาพของงานที่ทำ ปริมาณของงานที่ทำได้ และความดีของพนักงานที่ได้ปฏิบัติในการให้ความร่วมมือกับคนอื่น ๆ ในขณะทำงาน ปัญหาที่สำคัญเรื่องหนึ่งที่มักจะเกิดขึ้นก็คือ ในระบบของการประเมินผลบางแห่งมีลักษณะที่มุ่งในการที่จะประเมินคน (person evaluation) มากกว่าที่จะเป็นการประเมินผลงานที่เขาได้ปฏิบัติปรากฏออกมาได้

เกณฑ์ที่ใช้ในการประเมินนับว่าเป็นเรื่องที่สำคัญยิ่งต่อความสำเร็จของการประเมินผล สิ่งหนึ่งที่ควรจะเป็นแนวทางที่จะต้องเข้าใจไว้เกี่ยวกับเกณฑ์ก็คือ การใช้เกณฑ์ประเมินผลการปฎิบัติงาน ด้วยเกณฑ์ตัวใดตัวหนึ่งเพียงตัวเดียว มักจะเป็นวิธีที่ไม่มีประสิทธิภาพ ทั้งนี้เพราะความสำเร็จในการ ปฏิบัติงานต่าง ๆ นั้นส่วนมากแล้วมักจะปรากฏออกมาเป็นปรากฏการณ์ในหลาย ๆ ทาง จากการศึกษาค้นพบว่าการใช้เกณฑ์ในการประเมินหลายอย่างโดยพิจารณาจากหลายด้านนั้นเป็นสิ่งจำเป็นที่จะช่วยให้มีการวัดผลงานได้อย่างครบถ้วน ด้วยเหตุนี้ในการประเมินผลทุกครั้ง การที่จะต้องนำเอาสถิติข้อมูลที่มาจากเกณฑ์ตามทัศนะต่าง ๆ เข้ามาประกอบพิจารณาพร้อมกันย่อมเป็นเรื่องจำเป็นและสำคัญยิ่ง และในการทำการประเมินจริง ๆ นั้น ความระมัดระวังที่จะไปตกหลุมพรางประเมินเฉพาะกิจกรรม ต่าง ๆ ที่ได้ทำไป (เช่นกรณีของการนับจำนวนครั้งของการใช้โทรศัพท์ของพนักงานขายที่โทรไปหา ลูกค้าแต่ที่สำคัญกว่าก็คือผลหรือยอดขายที่ขายได้) ที่ถูกแล้วจะต้องมีการพิจารณาให้ดีที่สุดว่าจะดูที่กิจกรรมที่เขาทำคือการโทรศัพท์ หรือการประเมินที่ผลคือจำนวนยอดขายที่ขายได้ ซึ่งในกรณีดังกล่าวนี้ จุดที่จะพิจารณาควรจะดูที่ผลที่ทำได้หรือควรจะดูว่าเขาได้ปฏิบติอย่างไรในหนทางที่ทำให้เกิดผลสำเร็จหรือควรจะดูทั้งสองอย่างประกอบกัน การพัฒนาเกณฑ์สำหรับวัดผลการปฏิบัติงานในระยะหลังนั้น ได้มีการให้นํ้าหนักที่พยายามมุ่งหาวิธีที่จะดูผลงานของแต่ละคนด้วยการวัดด้วยเป้าหมาย หรือความสำเร็จจากความตั้งใจที่ได้กำหนดไว้ว่า ได้รับผลสำเร็จเพียงใด ซึ่งส่วนใหญ่มักได้รับการ ประเมินเป็นช่วงระยะเวลาเป็นไตรมาส หรือครึ่งปี โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในกรณีของการประเมินนักบริหาร การวัดด้วยเกณฑ์ความสำเร็จมักจะพิจารณาที่ปัจจัยต่าง ๆ เหล่านี้ เช่น ความสามารถในการทำกำไร ความสามารถในการขายโดยวัดจากจำนวนสินค้าคงคลัง หรือการเข้าออกของการหมุนเวียนสินค้าคงคลัง การดูถึงความมุ่งสนใจในการบริการลูกค้า การปรับปรุงวิธีการทำงาน ความสนใจในการ ประหยัดต้นทุน ความสามารถในการเสริมฐานความเข้มแข็งของผลิตภัณฑ์ในตลาด ความสามารถในการประหยัดเวลา หรือลดอัตราอุบัติเหตุได้ เป็นต้น จากตัวอย่างที่แสดงนี้ย่อมชี้ให้เห็นได้ว่า การประ เมินผลงานของแต่ละคนที่แม้จะมิได้ทำการผลิตก็ตาม ก็สามารถที่จะวัดด้วยเป้าหมายที่ชัดแจ้งได้ การใช้วิธีดังกล่าวนี้ย่อมชี้ให้เห็นในทางอ้อมว่า ในการประเมินผลการปฏิบัติงานนั้น อาจจะต้องมีการตกลงเกี่ยวกับผลงาน ก่อนที่จะมีการลงมือทำงานจริง ๆ และบ่อยครั้ง เป้าหมายมาตรฐานผลการปฏิบัติงาน มักจะได้รับการเสนอขึ้นมาจากผู้ใต้บังคับบัญชาเอง โดยนำเข้าปรึกษากับหัวหน้างานและระบุถึงขอบเขตที่จะคาดหมายว่าจะทำได้สำเร็จในระดับที่ดี ซึ่งกรณีนี้ก็คือกรณีตัวอย่างของการใช้วิธีการตามเป้าหมายหรือวัตถุประสงค์นั่นเอง

ข้อดีของการประเมินผลการปฏิบัติงานโดยมุ่งดูที่ความสำเร็จของงานนั้นนับว่าเป็นวิธีที่ดีที่ให้คุณค่าอย่างมาก ที่จะเปิดโอกาสให้ลูกน้องมีโอกาสเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดตั้งเป้าหมาย และยังช่วย ให้สามารถพิจารณาได้ว่าผู้ใต้บังคับบัญชามีความสำเร็จในงาน (job achievement) มากน้อยเพียงไร การประเมินผลผู้ใต้บังคับบัญชาโดยยึดถือสิ่งที่เขาสามารถทำได้สำเร็จที่จะมีผลไปถึงความสำเร็จของเป้าหมายขององค์การเช่นนี้ นับได้ว่าเป็นวิธีที่ให้ผลดีเป็นอย่างมากเมื่อเทียบกับวิธีซึ่งปล่อยให้เหตุการณ์ผ่านไปและให้ฝ่ายผู้บังคับบัญชานึกคิดแต่เพียงฝ่ายเดียวว่าเขามีความในใจที่อยากได้จากบุคคล ผู้นั้นในเรื่องต่าง ๆ ทั่วไปที่ไม่อาจระบุได้ อย่างไร ประการใดบ้าง