การสื่อสารด้วยสำเนียงของเสียง

ท่านคิดว่า บุคคลที่พูดเร็วและเสียงดังนั้นมีความรู้สึกอย่างไร ท่านอาจจะ บอกว่า บุคคลนั้นกำลังตื่นเต้น หรือเกิดความกระตือรือร้น หรือโกรธหรืออาจจะกังวลอย่างมาก อย่างไรก็ตามพอรู้ว่า คนที่กำลังพูดเร็วและดังนั้น อาจจะไม่ได้มมีความหมายอะไรในขณะนั้นๆ บุคคลนั้นอาจจะมาจากภาคใต้ ซึ่งตามธรรมชาติบุคคลถิ่นนี้ก็พูดเร็วและดัง หรือบุคคลนั้นอาจจะมาจากครอบครัวใหญ่ และเคยพูดเสียงดังและเร็วเพื่อให้ได้ยินกันทั่ว ฉะนั้นเมื่อบุคคลพูดดังและเร็วจะมีความหมายอะไรเล่า ไม่มี อย่างไรก็ตาม ถ้าบุคคลนั้นพูดช้าลงและเสียงเบาลง และในบางช่วงของการสนทนาเริ่มพูดดังขึ้นและเร็วขึ้น นั่นอาจจะมีความหมายบางอย่าง โดยทั่วไปนี่เป็นสัญญาณที่ดี แต่อาจจะเป็นสัญญาณที่เลวก็ได้ด้วย  เราจะให้ความสนใจอย่างใกล้ชิดกับอารมณ์ต่าง ๆ กัน หลาย ๆ อารมณ์ที่คนแสดงออกโดยอาศัยสำเนียงขึ้นๆ ลงๆ ของเสียง สำเนียงของเสียงหรือลักษณะของเสียง เป็นรูปแบบการสื่อสารอย่างหนึ่งที่เป็นอวาจา เรื่องนี้สำคัญมากและต้องจำให้ดีไม่ใช่เฉพาะในการสร้างสัมพันธภาพในเรื่องบริหารงานเท่านั้น ในเรื่องการสร้างสัมพันธภาพส่วนตัวก็เช่นกัน การสื่อความประเภทอวาจาในด้านสำเนียงของเสียง หมายถึง การแบ่งข้อสนเทศที่ใช้เสียงออกจากข้อสนเทศที่ใช้ถ้อยคำ และแน่นอนย่อมมีความแตกต่างระหว่างข้อสนเทศ ๒ ประเภทนี้ ข้อสนเทศ ที่ใช้เสียง เป็นส่วนของความหมายในข้อความที่หายไป เมื่อคำพูดนั้นใช้วิธีสื่อสารด้วยการเขียนมากกว่าการกล่าว ส่วนของข้อความที่ใช้เสียงและใช้วาจามักไม่ค่อยสื่อสารได้ความหมายหรือความรู้สึกที่ตรงกัน ความหมายที่ถูกผนวกไว้อาจจะมีที่มาจากคำพูดที่ผู้อื่นกล่าว แต่ ความหมายนอกเหนือจากคำพูดสามารถเติมเข้าในคำพูดได้ ด้วยการเปลี่ยนเพียงสำเนียงของเสียงเท่านั้น การเปลี่ยนคุณภาพของเสียงสามารถ เปลี่ยนความหมายหรืออารมณ์ของคำในกลุ่มเดียวกัน จากความหมายเดิมสู่อีกความหมายหนึ่งได้ มีตัวอย่างแสดงให้เห็นได้ เช่น ตัวอย่างของครู […]