การสื่อสารด้วยสำเนียงของเสียง

ท่านคิดว่า บุคคลที่พูดเร็วและเสียงดังนั้นมีความรู้สึกอย่างไร ท่านอาจจะ บอกว่า บุคคลนั้นกำลังตื่นเต้น หรือเกิดความกระตือรือร้น หรือโกรธหรืออาจจะกังวลอย่างมาก อย่างไรก็ตามพอรู้ว่า คนที่กำลังพูดเร็วและดังนั้น อาจจะไม่ได้มมีความหมายอะไรในขณะนั้นๆ บุคคลนั้นอาจจะมาจากภาคใต้ ซึ่งตามธรรมชาติบุคคลถิ่นนี้ก็พูดเร็วและดัง หรือบุคคลนั้นอาจจะมาจากครอบครัวใหญ่ และเคยพูดเสียงดังและเร็วเพื่อให้ได้ยินกันทั่ว ฉะนั้นเมื่อบุคคลพูดดังและเร็วจะมีความหมายอะไรเล่า ไม่มี อย่างไรก็ตาม ถ้าบุคคลนั้นพูดช้าลงและเสียงเบาลง และในบางช่วงของการสนทนาเริ่มพูดดังขึ้นและเร็วขึ้น นั่นอาจจะมีความหมายบางอย่าง โดยทั่วไปนี่เป็นสัญญาณที่ดี แต่อาจจะเป็นสัญญาณที่เลวก็ได้ด้วย  เราจะให้ความสนใจอย่างใกล้ชิดกับอารมณ์ต่าง ๆ กัน หลาย ๆ อารมณ์ที่คนแสดงออกโดยอาศัยสำเนียงขึ้นๆ ลงๆ ของเสียง

สำเนียงของเสียงหรือลักษณะของเสียง เป็นรูปแบบการสื่อสารอย่างหนึ่งที่เป็นอวาจา เรื่องนี้สำคัญมากและต้องจำให้ดีไม่ใช่เฉพาะในการสร้างสัมพันธภาพในเรื่องบริหารงานเท่านั้น ในเรื่องการสร้างสัมพันธภาพส่วนตัวก็เช่นกัน การสื่อความประเภทอวาจาในด้านสำเนียงของเสียง หมายถึง การแบ่งข้อสนเทศที่ใช้เสียงออกจากข้อสนเทศที่ใช้ถ้อยคำ และแน่นอนย่อมมีความแตกต่างระหว่างข้อสนเทศ ๒ ประเภทนี้ ข้อสนเทศ ที่ใช้เสียง เป็นส่วนของความหมายในข้อความที่หายไป เมื่อคำพูดนั้นใช้วิธีสื่อสารด้วยการเขียนมากกว่าการกล่าว ส่วนของข้อความที่ใช้เสียงและใช้วาจามักไม่ค่อยสื่อสารได้ความหมายหรือความรู้สึกที่ตรงกัน

ความหมายที่ถูกผนวกไว้อาจจะมีที่มาจากคำพูดที่ผู้อื่นกล่าว แต่ ความหมายนอกเหนือจากคำพูดสามารถเติมเข้าในคำพูดได้ ด้วยการเปลี่ยนเพียงสำเนียงของเสียงเท่านั้น การเปลี่ยนคุณภาพของเสียงสามารถ เปลี่ยนความหมายหรืออารมณ์ของคำในกลุ่มเดียวกัน จากความหมายเดิมสู่อีกความหมายหนึ่งได้ มีตัวอย่างแสดงให้เห็นได้ เช่น ตัวอย่างของครู นักแสดงซึ่งสามารถพูดคำว่า “โอ้’’ ได้ ๘ ความหมายต่างๆ กัน และด้วยวิธีเปลี่ยนลักษณะของเสียง นักแสดงสามารถแยกแยะความหมายของความรู้สึกและอารมณ์ได้ต่าง ๆ กันถึง ๘ ความหมายที่เด่น ๆ และเพียงแต่คำง่าย ๆ ที่มีตัวหนังสือ ๒ ตัว เช่นคำว่า โอ้-ยังสามารถสาธิตให้เห็นได้ถึงความสำคัญของเสียงในสำเนียงต่าง ๆ ที่ใช้ไปในการสื่อสารสำเนียงของเสียงที่ปราศจากความไวในอารมณ์ สามารถทำลายพันธะความไว้วางใจซึ่งกันและกันระหว่างพนักงานกับตัวท่านได้ การใช้เวลาฟุ่มเฟือยมากเกินไปในหัวข้อที่ฟู่ฟ่า และไม่ใช้เวลาเพียงพอในเรื่องที่ลู่แหลม ย่อมเพิ่มความเครียดให้เกิดขึ้นได้ระหว่างตัวท่านและพนักงานของท่าน สิ่งสำคัญที่สุดที่ควรจำก็คือ ขณะที่ให้ความสนใจกับสำเนียงของเสียง ท่าน ต้องมีใจจดจ่ออยู่ที่การเปลี่ยนคุณภาพของเสียงในฝ่ายของพนักงานของท่าน

คุณภาพของสียง คนบางคนมีวิธีพูด ช้า ดัง หรือชัด ตามธรรมชาติของตน เมื่อใดที่บุคคลเหล่านี้เปลี่ยนคุณภาพของเสียงจากปรกติ เขาย่อมกำลังสื่อความหมายพิเศษบางอย่างให้ท่านทราบ ขึ้นอยู่กับตัวท่านเองที่จะต้องค้นพบว่า คุณภาพของเสียงเหล่านี้คืออะไร เมื่อใดที่เสียงกำลังเปลี่ยน และท่านจะต้องทำอะไรบ้างเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงเหล่านี้ คุณภาพของเสียงที่สำคัญ ๆมี ๗ ด้าน ได้แก่

๑. ความกังวาน สมรรถภาพของเสียงของบางคนที่จะก้องไปทั่ว เน้นน้ำหนัก และความไพเราะของน้ำเสียง

๒. จังหวะลีลา จังหวะลีลา และการเคลื่อนของเสียง

๓. ความเร็ว ใช้เสียงได้เร็วเพียงไร

๔. ระดับเสียงสูงต่ำ การเกร็งหรือผ่อนของเส้นเสียง (เช่น เสียงหัวเราะด้วยความตกตะลึง) ระดับสูงตํ่าของเสียง

๕. ปริมาณของเสียง อัตราความดังหรือน้ำหนักเข้มข้นของเสียง

๖. การเปลี่ยนระดับเสียง การเปลี่ยนระดับเสียงสูงตํ่า หรือน้ำหนัก ความดังของเสียง

๗. ความชัดเจน การออกเสียงชัดเจนและการออกเสียงเน้นของคำพูด

ท่านจะต้องตระหนักด้วยว่า วิธีที่บางคนพูดอะไรบางอย่าง สามารถมีผลกระทบที่ยิ่งใหญ่ต่อความหมายที่กำลังสื่อสารกันอยู่ ตัวอย่างนี้ได้แก่ การพูดกระทบกระเทียบข้อมูลที่ส่งออกทางเสียงมีความหมายที่แตกต่างจริง ๆ จากข้อมูลที่ส่งออกด้วยวาจา นี่เป็นสาเหตุว่าทำไมนักบริหาร จึงจำเป็นที่ต้องเรียนรู้ความหมายของสำเนียงเสียงที่ต่าง ๆ กัน จะใช้มันอย่างไร และจะใช้ให้มีประสิทธิภาพในการส่งข้อความผ่านให้อีกฝ่ายหนึ่งได้อย่างไร มีตัวอย่างที่ดีตัวอย่างหนึ่ง ที่แสดงถึงสำเนียงของเสียงที่ต่างกัน สามารถเปลี่ยนความหมายของข้อความที่สื่อสารได้ทั้งหมด เช่น ในภาพยนตร์ที่สร้างโดย CRM/McGraw Hill ชื่อ การสื่อสาร : วาระที่ไม่มีคำพูด(Communication : The Nonverbal Agenda) ในภาพยนตร์เรื่องนี้ ผู้บริหารต้องสื่อข้อความเดียวกันด้วยคำต่อคำ ให้กับพนักงานของเขา ๓ คน เขามีความรู้สึกขัดแย้งต่อพนักงานคนหนึ่ง ไม่ชอบพนักงานอีกคนหนึ่ง และเป็นมิตรกับอีกคนหนึ่ง จากการพบกันกับ ๓ คนนี้ แสดงให้เห็นชัดเจนว่า แม้ว่าคำพูดของผู้บริหารจะเป็นคำพูดเดียวกันทุกคำต่อพนักงานทั้งสามคน แต่ความรู้สึกของเขา ความชอบ ความไม่ชอบ และอคติต่าง ๆ แสดงอยู่ในนํ้าเสียงและพฤติกรรมอื่น ๆ ที่สังเกตเห็นได้ แม้ว่าตัวผู้บริหารเองไม่ได้รู้ตัวเองว่า ตนกำลังทำอะไร ข้อความที่เป็นเสียงที่อยู่ใต้สำนึก ได้แสดงออกอย่างชัดเจนในการสื่อสาร และสามารถระบุได้โดยพนักงาน ทั้ง ๓ คน

ด้วยการเรียนรู้มากขึ้นเกี่ยวกับลักษณะเสียง และสำเนียงของเสียง ท่านย่อมจะได้ความคิดที่ดีขึ้นมาก เกี่ยวกับความรู้สึกที่แท้จริงของพนักงานของท่าน นอกจากนี้ท่านย่อมจะเกิดความเข้าใจดีขึ้น เกี่ยวกับวิธีที่ผู้อื่นมองเห็นท่านจากนํ้าเสียงของท่าน

มองอารมณ์จากเสียง การที่บุคคลสนทนาด้วยลักษณะของเสียงที่แตกต่างกันเพียงลักษณะใดลักษณะหนึ่งหรือทุกลักษณะ ย่อมสามารถเปลี่ยนอารมณ์หรือความรู้สึกของข้อความนั้น ๆ ได้อย่างเห็นได้ชัด การมีความรู้และการรับรู้ในการใช้เสียงในลักษณะต่าง ๆ ควบคู่กับอารมณ์และความรู้สึกต่าง ๆ ที่เสียงเหล่านั้นแสดงออกตามลำดับ ท่านย่อมจะสามารถสนองตอบได้อย่างเหมาะสมต่อข้อความที่ “เงียบ” ซึ่งสื่อความให้ท่านรับทราบได้จากลักษณะของพนักงานของท่าน ความรู้สึกและอารมณ์ที่ระบุ ไว้ ๑๒ ด้านข้างล่างนี้ เป็นอารมณ์และความรู้สึกที่สามารถสื่อให้รับรู้ได้ เพียงด้วยการเปลี่ยนลักษณะเสียงเท่านั้น

๑. ความรักใคร่ชอบพอ เปลี่ยนระดับเสียงให้สูงขึ้น ใช้เสียง กังวานลดความดังชะลอความเร็ว

. ความโกรธ เสียงดัง คำพูดห้วน ระดับเสียงไม่ปรกติ

๓. ความเบื่อหน่าย นํ้าหนักความดังของเสียง จากกลางเป็นต่ำ กังวาน จังหวะความเร็วลดลง ระดับเสียงตก มีความชัดเจนน้อยมาก

๔. ความสนุกร่าเริง นํ้าหนักเสียงดังมาก จังหวะเร็ว การเปลี่ยนระดับเสียงไม่เป็นปรกติ

๕. ความใจร้อน ระดับเสียงจากปรกติถึงสูง จังหวะเร็ว

๖. ความยินดี น้ำหนักเสียงดัง จังหวะเร็ว ระดับเสียงสูงขึ้น

๗. ความประหลาดใจ ระดับเสียงสูงขึ้น

๘. การปกป้องตน คำพูดห้วน

๙. ความกระตือรือร้น น้ำหนักเสียงดัง ระดับเสียงเน้นหนัก

๑๐. ความเศร้า น้ำหนักเสียงต่ำ กังวาน จังหวะความเร็วช้าลง ระดับเสียงลดตํ่าลง มีความชัดเจนน้อย

๑๑. ความไม่เชื่อ ระดับเสียงสูง คำพูดคาดคั้น

๑๒. ความพอใจ เปลี่ยนระดับเสียงสูงขึ้น ชัดเจนน้อย

ท่านมีสิ่งสำคัญ ๒ ประการที่จะต้องจำ ขณะที่ท่านกำลังให้ความสนใจที่ลักษณะเสียงของบุคคลอื่น ประการแรก ท่านต้องสามารถระบุ ลักษณะเสียงที่เป็นส่วนตัวและที่ใช้อยู่ในปรกติวิสัยของบุคคลนั้น ๆ ประการที่สอง จงสังเกตลักษณะเสียงใดก็ตามที่แปลกไปจากลักษณะเสียงประจำตัว ของบุคคลนั้น ทั้งในด้านของลักษณะที่เปลี่ยนและทิศทางของการเปลี่ยน ในแง่ของลักษณะเสียงนั้น สิ่งที่เป็นลักษณะเฉพาะของบุคคลหนึ่งไม่จำเป็นต้องเป็นลักษณะเฉพาะของอีกบุคคลหนึ่ง นี่เป็นสิ่งที่ท่านควรจะต้องรับรู้ได้ก่อนสิ่งอื่น เหมือนกับการดูลักษณะการแสดงพฤติกรรมของคน ลักษณะนักผูกมิตรและนักวิเคราะห์ เป็นลักษณะของคนพูดช้ากว่าและมีนํ้าหนักเสียงตํ่ากว่าบุคคลประเภทนักแสดงและนักจัดการ จงพยายามสังเกตวิธีที่บุคคลอื่นพูดในด้านที่สัมพันธ์กับการใช้ลักษณะเสียงทั้ง ๗ ลักษณะ และในระหว่างการสนทนา จงสังเกตความเปลี่ยนแปลงใดก็ตามที่ต่างไปจากบุคคลลักษณะ ในวิถีนั้น ๆ เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้น บุคคลย่อมจะลื่อสารบางอย่าง ที่พิเศษกว่าปรกติ และไม่ได้สื่อสารด้วยคำพูดเพียงอย่างเดียว อาจจะสื่อให้ทราบถึงจุดเน้น อะไรที่เป็นความสำคัญ อะไรที่เป็นปัญหาหรือแม้แต่การเปลี่ยนไปสู่ทางที่บุคคลนั้นมีความรู้สึกอยู่ ถ้าท่านเป็นคนที่มีความระวัง และไวต่อสิ่งบอกเหตุต่าง ๆ เหล่านี้ ขณะที่กำลังเกิดขึ้น ท่านย่อมจะแสดงปฏิกิริยาที่เหมาะสมได้หากจำเป็น ทักษะนี้ช่วยเกลาสมรรถภาพของท่าน ในการสื่อสารระหว่างกันและกัน เป็นทักษะที่ช่วยสร้างและแก้ไขปรับปรุงสัมพันธภาพในการทำงานร่วมกับพนักงานให้มีลักษณะยืนยาว เข้มแข็ง และดีขึ้น

โดยทั่วไป การเปลี่ยนแปลงลักษณะของเสียงในตัวบุคคลหนึ่งในทางที่ดังขึ้นและเร็วขึ้นย่อมแสดงถึงการเปลี่ยนแปลงในทางบวกเกี่ยวกับทัศนคติ แต่ถ้าจังหวะลีลาถูกขลิบให้สั้นลงก็ย่อมจะแสดงถึงความโกรธ การเปลี่ยนแปลง นํ้าหนักเสียงและความเร็วลดลง เสียงกังวานใหญ่ขึ้น ลดความชัดเจน มักจะแสดงถึงการเปลี่ยนสู่ทิศทางลบ แต่ก็อาจจะบ่งบอกถึงความรักใคร่ หรือความพอใจในส่วนของตัวพนักงานได้ ความเปลี่ยนแปลงในจังหวะลีลา มักจะมีความหมายถึงการเปลี่ยนในอารมณ์ ซึ่งอาจจะเปลี่ยนในทางบวก หรือลบก็ได้ สิ่งสำคัญที่จะต้องระลึกอยู่เสมอเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลง ดังกล่าวมาแล้วคือ เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้น ต้องรับรู้ในปรากฎการณ์นั้น แล้วจงใช้ทักษะในการกระจ่างความพิจารณาหาว่า ความเปลี่ยนแปลง เหล่านั้นบ่งบอกอะไรในฝ่ายของพนักงานของท่าน หน้าที่ของท่านคือ ต้องรับผิดชอบที่จะหันกลับไปใช้ทักษะการฟัง การตั้งคำถาม และทักษะการป้อนกลับข้อมูล เพื่อเข้าให้ถึงรากเง่าของการเปลี่ยนแปลงนั้น ๆ เมื่อท่านตัดสินใจแล้วถึงธรรมชาติที่แท้จริงของการเปลี่ยนแปลงนั้น ท่านจึงจะสามารถทำอะไรเกี่ยวกับสิ่งนั้นได้ ถ้าความเปลี่ยนแปลงเป็นไปในทางบวกท่านสามารถลงทุนขยายความสำคัญเกี่ยวกับสิ่งนั้นได้ แต่ถ้าเป็นทางลบ ท่านอาจจะต้องพยายามเปลี่ยนแปลงแก้ไขสถานการณ์นั้น ก่อนที่จะสายเกินไป เมื่อท่านใช้ทักษะการป้อนข้อมูลกลับ เพื่อให้เสริมความเชื่อมั่น ต้องแน่ใจที่จะพูดกับพนักงานในสาเหตุที่ท่านได้ข้อมูลนั้นมา ไม่ใช่พูดในเชิงที่ว่าท่านได้รับข้อมูลจากลักษณะของเสียงที่ท่านได้ยิน จงจำไว้ว่า ท่านกำลังแสดงทักษะความไวในความรู้สึก มิใช่ทักษะการวิเคราะห์

การใช้สำเสียงของเสียง มีคนจำนวนไม่มากนักที่สนุกกับการถูกกรรโชกเสียงใส่หรือถูกหมิ่นประมาทด้วยสำเนียงของเสียงที่ผู้อื่นใช้กับตน ความแข็งกระด้าง ความขี้รำคาญ และความเอ็นดูเป็นเพียงบางส่วนของทัศนคติ ซึ่งง่ายต่อการสื่อให้ทราบโดยใช้สำเนียงของเสียง สำเนียงของเสียง จะต้องมีลักษณะชื่นชม ร่าเริง ผูกมิตร และตรงไปตรงมา โดยมิพยายามที่จะแสดงอำนาจ หรือจูงใจพนักงานให้เชื่อถือ สำเนียงของเสียงมักจะส่งผลกระทบได้มากกว่าคำพูดปรกติ ตัวอย่างเห็นได้จากการใช้เสียงจัดการกับสัตว์ สัตว์จะยอมรับได้ ในข้อสังเกตที่ถูกตำหนิ เมื่อกล่าวด้วยเสียงเป็นมิตร แต่จะแสดงปฏิกิริยาตอบทางลบ แม้จะเป็นข้อสังเกตทางบวกแต่กล่าวด้วยเสียงโกรธ ที่แปลกใจก็คือสำหรับมนุษย์นั้น ไม่มีข้อแตกต่างมากนัก

สำเนียงของเสียงที่ท่านใช้ ย่อมเป็นการสื่อสารในส่วนที่เป็นความสำคัญของตัวท่านและบุคลิกภาพของท่านให้บุคคลอื่นได้ทราบ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เสียงที่ผ่านทางโทรศัพท์ ท่านอาจจะได้บทเรียนที่มีค่าทีเดียว ถ้าท่านบันทึกเสียงเพียงครึ่งหนึ่งของจำนวนครั้งที่ท่านพูดโทรศัพท์ หลังจากรับโทรศัพท์แต่ละครั้งแล้ว จงเปิดเสียงที่บันทึกไว้ฟัง ท่านรู้สึกอย่างไรต่อตัวท่านเอง สำเนียงเป็นอย่างไร? นํ้าหนักของเสียงและความเร็วเหมาะสมหรือไม่? คุณสมบัติของเสียงด้านอื่น ๆ ล่ะเป็นอย่างไร เป็นต้นว่า ด้านจังหวะลีลา ระดับเสียง ความกังวานของเสียง และความชัดเจนของเสียง? ท่านรู้สึกว่าท่านได้สื่อให้อีกฝ่ายหนึ่งทราบด้วยอารมณ์ที่ท่านต้องการจะสื่อหรือเปล่า ด้วยการวิเคราะห์อย่างสร้างสรรค์ ในการพูดโทรศัพท์หลาย ๆ ครั้งท่านย่อมสามารถตัดสินได้ว่าคุณสมบัติของเสียงส่วนใด ของท่านที่ต้องการปรับปรุงให้ดีขึ้น ทันทีที่ท่านสามารถระบุสิ่งเหล่านี้ได้ ท่านต้องหาวิธีการปรับปรุง ทั้งนี้จะได้สามารถเลือกประเภทของเสียงซึ่งอยู่ในภาพพจน์ของท่าน

ภาษา สามารถสื่อสารได้เกือบทุกสิ่งทุกอย่างก็จริง แต่ถ้าท่านใช้ คุณลักษณะต่าง ๆ ของเสียงให้เป็นประโยชน์ ท่านย่อมสามารถเรียนรู้ที่จะสื่อความรู้สึกสิ่งที่จะชอบและสิ่งไม่ชอบได้ด้วยสำเนียงเสียงที่ต่าง ๆ กัน ท่านสามารถเสริมพลังสิ่งที่ท่านกล่าวด้วยคำพูดได้ ในฐานะนักบริหาร ท่านย่อมสามารถใช้สำเนียงของเสียงเป็นประโยชน์ต่อการสื่อให้พนักงานทราบถึงสมรรถภาพในตัวและความไว้วางใจต่อพนักงานของท่านได้ ท่านมี ๕ วิธี ซึ่งสามารถช่วยเสริมเสียงของท่านให้สามารถสื่อสมรรถภาพ และความไว้วางใจต่อพนักงานของท่าน ซึ่งได้แก่

๑. สร้างความกังวานของเสียงให้เข้มแข็ง เต็มเสียง แต่ไม่ใช่ลักษณะท่วมท้น

๒. พูดเต็มปากและเต็มริมฝีปาก พูดด้วยเสียงแจ่มใสและชัดเจน

๓. แสดงความกระตือรือร้น ด้วยการใช้ระดับเสียงสูง ๆ ต่ำ ๆ น้ำหนักความดังของเสียงและการเปลี่ยนระดับด้วยความเหมาะสม

๔. สนุกด้วยการเปลี่ยนสำเนียงของเสียงให้หลากหลาย ไม่ใช้เสียงพูดเนื่อย ๆ ในระดับเสียงเดียว

๕. พูดตามธรรมชาติและตามสบาย  ไม่ดัดจริตเสียงหรือแต่งเติมเสียง บทสนทนาของท่าน ไม่ควรมีลักษณะอยู่ในระดับเสียงเดียว ถ้ามิฉะนั้น ท่านจะสร้างความเบื่อหน่ายให้กับพนักงานของท่านอีกประการหนึ่ง จงอย่าเปลี่ยนสำเนียงของเสียงด้วยลักษณะเดียวเช่นเดิมทุกครั้ง และจงอย่าเสี่ยงทำเสียงเหมือนเครื่องจักร เสียงที่เป็นเสมือนเครื่องจักรจะทำให้พนักงานเบื่อหน่ายและเกิดภาพพจน์ว่า สาระเนื้อหาของท่านพูดเตรียมอัดไว้ในกระป๋อง ทั้งเสียงที่ไม่น่าสนใจและเสียงที่มีรูปแบบในเชิงเครื่องจักรกล ล้วนแล้วแต่เป็นเสียงที่ซ้ำซากน่าเบื่อ ท่านย่อมสามารถหลีกเลี่ยงความซ้ำซากน่าเบื่อนี้ได้ ด้วยการเปลี่ยนสำเนียงของเสียงได้หลากหลายตามความจำเป็นของสถานการณ์

จงพูดเร็วเมื่อเนื้อหานั้น ๆ ต้องการความรวดเร็ว แล้วอาจจะต้องเน้นยํ้าจุดสำคัญ ๆ ด้วยการเปลี่ยนการพูดให้ช้าลงบ้าง ด้วยการสังเกตจากการแสดงออกทางสีหน้าของพนักงาน และจากการสื่อสารที่ไม่ใช้คำพูด ท่านย่อมสามารถกำหนดระดับการร่วมรับรู้ในสิ่งที่สนทนา ท่านควรจะต้องเน้นจุดสำคัญ ๆ ที่ปรากฎเป็นที่สนใจของพนักงาน และต้องหยุดเป็นจังหวะ ๆ เพื่อให้ซึมซาบในความคิดนั้น ๆ ท่านคงพบแล้วว่า จังหวะของการพูด เป็นลักษณะที่จำเป็นและได้ประสิทธิผลสูงมาก สำหรับทั้งตัวท่านเองและพนักงานของท่าน

ในการศึกษาค้นคว้าเรื่องหนึ่ง ที่มหาวิทยาลัยเยล (Yale University) มีผลปรากฏว่า ผู้พูดที่มี่ข้อผิดพลาดยิ่งมากเท่าไรขณะที่กำลังพูด (ข้อผิดพลาด ในด้านของสำเนียงของเสียง นํ้าหนักของเสียง และระดับเดียวของเสียง ฯลฯ) ยิ่งเพิ่มความไม่สบายใจและความกังวลให้ผู้พูดมากขึ้นตามลำดับ ด้วยการฝึกปฏิบัติและการระวังตนในเรื่องนี้ ท่านย่อมสามารถลดข้อผิดพลาดเหล่านี้ได้ ด้วยวิธีที่ท่านจะรู้สึกสบาย ๆ กับเสียงพูดของท่าน ในขณะเดียวกันก็ย่อมจะทำให้พนักงานของท่านรู้สึกสบายใจขึ้นมากด้วยเช่นกัน และผลที่ตามมาก็คือ มีพันธะความไว้วางใจกันเพิ่มขึ้น

การสะเพร่าในเรื่องการออกเสียง มักเป็นเครื่องชี้ให้พนักงานเห็นถึง ความสะเพร่าในด้านอื่น ๆ ด้วย การออกเสียงไม่ดีมักจะส่งผลกระทบให้ พนักงานเกิดความเข้าใจผิดในสิ่งที่ท่านกำลังพูด และง่ายที่สุดที่จะเป็นเหตุให้หยุดการสนทนาสื่อสารทั้งหมด ในขณะเดียวกันการออกเสียงที่ดี ย่อมเสริมพลังให้เกิดความไว้วางใจกันและกัน และย่อมทำให้การสื่อสาร ในขั้นต่อ ๆ ไปง่ายขึ้นกว่าเดิมบ้าง

ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับเสียงที่กล่าวมาแล้ว จะมีประสิทธิภาพอย่างสูง ถ้าใช้อย่างเหมาะสม การใช้พรํ่าเพรื่อหรือการเน้นยํ้าวิธีการเหล่านี้มากเกินไป อาจสร้างความรำคาญใจให้แก่พนักงานและสามารถหันเหความตั้งใจของ พนักงานออกจากเรื่องที่สนทนาได้ การใช้ทักษะการออกเสียงเหล่านี้ ต้องทำให้ดูเหมือนเกิดขึ้นเองและเป็นธรรมชาติ มิฉะนั้นจะปรากฎให้เห็นเป็นความไม่จริงใจ ด้วยการใช้สำเนียงเสียงได้อย่างถูกต้องท่านย่อมสามารถเบี่ยงเบนความสนใจไปที่สิ่งที่ท่านกำลังสื่อความซึ่งเป็นสิ่งสำคัญ และเป็นผล ประโยชน์สำหรับพนักงานของท่านได้

นักบริหารเชิงประสานสัมพันธ์ ย่อมรู้ถึงความสำคัญของการใช้บทบาทของเสียงได้อย่างมีประสิทธิผลในการพูดกับพนักงาน การรับรู้ในความเพี้ยนเล็ก ๆ น้อย ๆ ที่เปลี่ยนไปในด้านของความรู้สึก ความหมายตลอดจนอารมณ์ของเสียงประเภทต่าง ๆ นับเป็นสิ่งสำคัญที่สุด เพราะจะช่วยท่านให้ใช้ความระมัดระวังกับสิ่งที่ท่านกำลังสื่อสาร (โดยอวาจา) กับพนักงานของท่าน ความมีประสิทธิภาพและความไร้ประสิทธิภาพของการใช้สำเนียงของเสียง มีบทบาทสำคัญยิ่งต่อการสร้างพันธะความไว้วางใจกันระหว่างนักบริหารและพนักงาน เพราะย่อมสามารถสร้างหรือทำลาย สัมพันธภาพได้ ทั้งยังเป็นเครื่องตัดสินได้ว่า ท่านจะได้ผลิตผลสูงหรือตํ่า จากพนักงานของท่านอีกด้วย ถ้าท่านสามารถให้การรับรู้และไวต่อสำเนียงของเสียงในตัวของท่านเอง และของพนักงานมากขึ้น ท่านย่อมสามารถเพิ่มพูนความผูกพัน ความเชื่อถือในตัวท่าน และผลผลิตจากสัมพันธภาพ และพนักงานทั้งหลาย ผลตอบแทนดูเหมือนจะคุ้มค่าควรแก่การมุมานะพยายาม