ความสำคัญของการสำรวจอัตราค่าจ้าง

การทำ Wage Survey จะเป็นประโยชน์ที่จะได้ข้อมูล ตัวเลขที่จะใช้กำหนดราคาค่าจ้าง (ที่กำหนดขึ้นครั้งแรก) และตั้งระดับค่าจ้างและเงินเดือน การสำรวจค่าจ้าง นี้หมายถึง การจัดทำสถิติเกี่ยวกับค่าจ้างแยกตามพื้นที่ทางภูมิศาสตร์ ตามอาชีพ ตามอุตสาหกรรม หรือตามเมืองต่าง ๆ สำหรับช่วงเวลาหนึ่งที่กำหนดหรือที่จะนำมาใช้ ความมุ่งหมายของการจัดสำรวจค่าจ้างก็คือ เพื่อรวบรวมข้อมูลตัวเลขเกี่ยวกับค่าจ้างเอาไว้เพื่อช่วยในการกำหนดระดับของค่าจ้างหรือเพื่อประโยชน์ในการนำมาปรับปรุงแก้ไขค่าจ้างที่ใช้อยู่ให้เกิดความยุติธรรมยิ่งขึ้น ในการกำหนดค่าจ้างดังกล่าว การสำรวจค่าจ้างจะต้องมีการกำหนดขนาดและขอบเขตของการสำรวจให้มีขนาดเหมาะสมไม่คลุมกว้างจนไม่สามารถทำการศึกษาได้ นอกจากนี้ การสำรวจยังควรที่จะมุ่งสนใจเก็บข้อมูลตัวเลขจากองค์การธุรกิจที่สามารถเปรียบเทียบได้ และที่มีความตั้งใจจริงที่จะใช้วิธีการสำรวจในสภาพที่เป็นจริง อัตราค่าจ้างของทั่วประเทศมักจะไม่เป็นแบบอย่างเดียวกันหรือไม่สม่ำเสมอกัน แต่อย่างไรก็ตาม แต่ละอุตสาหกรรมต่างก็จะมีช่วงการจ่ายที่สามารถสัมพันธ์เทียบเคียงกันได้ ในการทำการสำรวจค่าจ้าง ผู้จัดทำจะต้องตระหนักถึงอยู่เสมอเกี่ยวกับเรื่องที่ทำการสำรวจว่า ตัวเลขข้อมูลเหล่านั้นใช้ได้เพียงใด มีข้อจำกัดอย่างไร และควรจะนำมาสัมพันธ์เพิ่มกำหนดค่าจ้างเพียงไร ข้อดีและข้อเสีย ข้อดี 1. ช่วยให้อัตราค่าจ้างที่องค์การธุรกิจทำการเทียบเคียงกับการสำรวจนั้น มีความสมํ่าเสมอ ด้วยวิธีการสำรวจที่ต่อเนื่อง 2.  ช่วยอำนวยความสะดวกในการเจรจาต่อรองระหว่างคนงานกับฝ่ายบริหารและอื่น ๆ โดยสามารถมีพื้นฐานร่วมขั้นเดียวกันที่ทุกฝ่ายจะยอมรับได้ง่าย 3.  ช่วยให้มีการเปลี่ยนแปลงถึงความสมเหตุสมผลของระดับค่าจ้างด้วยการเทียบเคียงกับส่วนอื่น ๆ เช่น ของอุตสาหกรรมเดียวกัน ข้อเสีย 1. มีข้อจำกัดที่การสำรวจส่วนใหญ่มักจะกระทำโดยเลือกกลุ่มตัวอย่างเท่านั้น จึงไม่สามารถครอบคลุมถึงงานทุกประเภท และปัญหาเรื่องความถูกต้องในการตีความของสถิติก็ยังเป็นปัญหาสำคัญที่มักจะทำให้ผลการสำรวจมีความเชื่อถือได้ต่างกัน 2. มีข้อจำกัดสำคัญที่ว่า ข้อมูลตัวเลขที่ได้นั้นจะใช้เปรียบเทียบกับที่ต้องการได้หรือไม่ เพียงใด ถ้าหากงานที่ใช้สำรวจไม่สามารถเปรียบเทียบกับงานที่ต้องการนำมาเปรียบเทียบแล้ว […]

ปัจจัยที่มีผลกระทบต่ออัตราค่าจ้าง

ปัจจัยที่มีผลกระทบต่ออัตราค่าจ้างนั้นมีหลายประการด้วยกัน ที่ซึ่งมีส่วนเกี่ยวข้องกับการกำหนดอัตราค่าจ้าง ทั้งโดยทางตรงและโดยทางอ้อม ปัจจัยต่าง ๆ เหล่านี้ประกอบขึ้นด้วยสภาพเงื่อนไขของตลาดแรงงาน อัตราค่าจ้างที่ใช้อยู่โดยทั่วไป (Prevailing Rate) ต้นทุนค่าครองชีพ และความสามารถ ในการจ่ายของนายจ้าง ตลอดจนอำนาจการต่อรองของสหภาพแรงงาน และที่โดยตรงและสำคัญที่สุดต่อการเป็นตัวกำหนดอัตราค่าจ้างก็คือ “ค่าของงานเปรียบเทียบกับงานอื่น ๆ” แต่อย่างไรก็ตาม การที่จะพิจารณาและแยกแยะว่าปัจจัยแต่ละตัวนั้นมีผลกระทบโดยตรงต่อค่าจ้างหรืออัตราค่าจ้าง แค่ไหนนั้น ย่อมเป็นการยากที่แยกแยะออกมาได้ หากแต่ว่าทุกปัจจัยล้วนแต่เป็นส่วนหนึ่งที่มีส่วนในการกำหนดอัตราค่าจ้าง ดังนั้นจึงอาจสรุปได้ว่า อัตราค่าจ้างที่กล่าวนี้ จึงมีความหมายเท่ากับเป็นอัตราค่าจ้างที่เป็นผลสืบเนื่องมาจากหลาย ๆ ปัจจัยรวมกัน หรือที่เรียกว่า “Wage Mix” นั่นเอง 1. สภาพตลาดแรงงาน (Condition of Labor Market) ในสมัยก่อนนั้น ก่อนที่จะมีสหภาพแรงงานหรือกฎหมายเกี่ยวกับค่าจ้างแรงงานส่วนมากในทัศนะของนายจ้างมักจะถือว่าเป็นปัจจัยอีกอย่างหนึ่งที่เทียบกับสินค้าที่จะหามาได้ในอัตราต่ำสุดเท่าที่จะทำได้ อัตราค่าจ้างจึงย่อมขึ้นอยู่กับสภาพการณ์ของลักษณะของอุปสงค์และอุปทานของแรงงาน ซึ่งเป็นตัวกำหนดว่าพนักงาน หรือผู้หางานทำนั้นจะจัดหามาได้ยากง่ายเพียงใด วิธีนี้ถึงแม้ว่าจะเป็นวิธีที่ใช้มาเก่าแก่ก็ตาม ในทุกวันนี้ก็ยังคงเป็นปัจจัยหนึ่งที่มีส่วนเป็นตัวกำหนดค่าจ้างลำหรับกลุ่มที่มีคุณสมบัติเฉพาะอยู่ด้วยเช่นเดียวกัน อัตราค่าจ้างจะเป็นไปเช่นไรจึงย่อมขึ้นอยู่กับความยากง่ายขององค์การที่จะหามาได้ และความต้องการของกลุ่มบุคคลากรที่มีคุณสมบัติดังกล่าวเป็นสำคัญ อย่างไรก็ตามเรื่องเช่นนี้ก็ได้เบาบางลงเพราะด้วยเหตุของการมีระเบียบกฎเกณฑ์ทางราชการในการกำหนดอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ ตลอดจนอำนาจต่อรองของสหภาพแรงงาน ซึ่งมีส่วนเป็นกลไกใหม่ในการกำหนดอุปทานและอุปสงค์ให้อยู่ในระดับคงที่ไม่ ปล่อยให้เคลื่อนไหวขึ้นลงอย่างมากมาย ดังจะเห็นได้จากสหภาพซึ่งมักจะใช้มาตรการในการยับยั้ง เพื่อที่จะป้องกันมิให้พนักงานในระดับตํ่าต้องถูกลดอัตราเงินเดือน ถึงแม้จะมีการว่างงานอยู่มากก็ตาม  นอกจากนี้กฎระเบียบทางราชการก็ยังมีส่วนในทางช่วยป้องกันนายจ้างมิให้จ่ายตํ่ากว่าอัตราค่าจ้างขั้นตํ่า หรือมิให้มากกว่าค่าจ้างที่เกินระดับ (ในกรณีที่ตลาดแรงงานบางกลุ่มเป็นที่ขาดแคลน) […]