เทคนิคที่ใช้พัฒนาความสามารถทางการจัดการ

เทคนิคที่ใช้ในการพัฒนาการจัดการนั้น วิธีการส่วนใหญ่มักจะใช้วิธีจำลองสถานการณ์จากที่เป็นจริง ซึ่งวิธีที่ใช้และที่เป็นที่นิยมใช้มากที่สุดมีดังต่อไปนี้ คือ 1.  วิธีการใช้กรณีศึกษา (The case Method) วิธีที่ใช้มากที่สุดวิธีหนึ่ง ก็คือ เทคนิคการใช้ Case Method หรือกรณีศึกษา แต่ละกรณีนั้นก็คือ การเขียนเรื่องราวของสิ่งที่ได้มีการตัดสินใจในสภาพที่ได้เกิดขึ้นจริงเพื่อให้ผู้อบรมได้ทราบ จากนั้นพนักงานผู้บริหารที่เป็นพนักงานฝึกหัดก็จะถูกสั่งให้ศึกษาเพื่อพิจารณาปัญหาของเรื่องราวและทำการวิเคราะห์เรื่องต่าง ๆ ของกรณีนั้นตามทัศนะของตัวและให้เสนอแนะคำตอบ ตลอดจนค้นหาทางเลือกในการแก้ปัญหา จนได้คำตอบหรือสามารถทำการตัดสินใจว่า ควรจะทำวิธีใดจึงจะเป็นวิธีที่ดีที่สุด รวมทั้งการให้ทดลองแก้ไขการปฏิบัติงานด้วยตนเอง วิธีนี้การเรียนรู้จะเกิดขึ้นได้อย่างมากถ้าหากได้มีการร่วมสนใจศึกษาอย่างจริงจังจากทั้งสองฝ่าย และมีการร่วมถกปัญหาอย่างครบถ้วน โดยศึกษาพร้อมกันทั้งกลุ่มด้วย วิธี Case Method หรือ กรณีศึกษานี้ ส่วนมากมักจะต้องเกี่ยวข้องกับเอกสารจำนวนมาก เช่น นโยบายของบริษัท ซึ่งถ้าหากจะโต้แย้งก็อาจจะพูดได้เช่นกันว่า วิธีนี้อาจจะไม่ใช่วิธีที่มีประสิทธิภาพสูงสุดในแง่ที่จะมีข้อที่ด้อยกว่าในแง่ของการจัดโครงเรื่องที่จะให้สามารถอ่านอย่างมีระเบียบและครบถ้วนสมบูรณ์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในแง่ของข้อมูลสถิติต่าง ๆ เมื่อเป็นเช่นนั้น ในบางครั้งการนั่งฟัง lecture ที่เข้าใจโดยมีผู้บรรยายที่บรรยายได้ดีและลึกซึ้ง และมีการอธิบายอย่างเป็นระบบและเป็นระเบียบลำดับ ก็อาจจะเป็นวิธีที่ดีกว่า และสมบูรณ์กว่าการค่อย ๆ แกะ ค่อย ๆ ติดตามจากกรณีศึกษา ที่มีแต่ข้อมูลล้วน ๆ ความมีประสิทธิภาพของการใช้กรณีศึกษาจึงขึ้นอยู่กับความสามารถของการอบรม และขึ้นอยู่กับโอกาสที่จะมีกรณีศึกษาที่เขียนขึ้นอย่างดีและมากพอ […]

เทคนิคการพัฒนาการจัดการในหน้าที่งาน

ประกอบด้วย.- การให้มีประสบการณ์จากการปฏิบัติงาน (On-The-Job Experience) วิธีการใช้วิธีการฝึกฝนหรือพัฒนาโดยให้มีการเสริมสร้างประสบการณ์หรือพัฒนาการจัดการ จากการให้ปฏิบัติงานนั้น อาจกระทำได้4วิธี คือ 1.  การคอยกำกับแนะนำ (Coaching) และการให้ข้อเสนอแนะเชิงปรึกษา (Counseling) ขณะที่ยังอยู่ในตำแหน่งงานปัจจุบัน 2.  เปลี่ยนไปทำงานในที่ใหม่ เพื่อให้มีประสบการณ์ในงานใหม่ ๆ เป็นครั้งคราว โดยที่ตำแหน่ง ฐานะยังคงอยู่กับงานเดิม 3.  การจัดแผนเพื่อให้มีการพัฒนาตนเองตลอดเวลา (Self-Improvement program) 4.  การให้โยกย้ายเปลี่ยนงาน (Job Rotation) และการเปลี่ยนตำแหน่งใหม่ตามแผนงานอาชีพ ที่จัดให้ (Career plans) แผนงานต่าง ๆ เหล่านี้ล้วนแต่เป็นแผนงานซึ่งสามารถใช้เสริมระหว่างกันและไม่มีอันใดอันหนึ่ง ขัดแย้งกัน ส่วนใหญ่แล้วมักจะมีการใช้หลาย ๆ วิธีควบคู่กันด้วย วิธีการพัฒนาการจัดการจากหน้าที่งานนี้เป็นวิธีที่นิยมใช้กันมาก และมีข้อดีหลายประการ เพราะสาเหตุประการหนึ่งที่เป็นอุปสรรคสำคัญของการให้ละจากงานเพื่อออกไปพัฒนาในภายนอกนั้น มักจะทำให้ไม่สามารถเรียนรู้เรื่องราวที่ตรงกับเรื่องที่เป็นจริง และไม่สามารถเช็คสอบปัจจัยต่าง ๆ ที่เป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับงานที่จะต้องเผชิญ ตัวอย่างเช่น การศึกษาจากเอกสารหรือบทความมักจะมีตัวอย่างของผู้บริหารอื่น ๆ หลายเรื่อง แต่หลังจากการฝึกอบรมวิธีนี้เสร็จสิ้น ก็กลับกลายเป็นว่าพฤติกรรมมิได้เปลี่ยนแปลงไปแต่ประการใด ดังนั้นการใช้วิธีการพัฒนาจากการทำงานในปัจจุบันหรือ พัฒนาในหน้าที่งาน […]