เทคนิคที่ใช้พัฒนาความสามารถทางการจัดการ

เทคนิคที่ใช้ในการพัฒนาการจัดการนั้น วิธีการส่วนใหญ่มักจะใช้วิธีจำลองสถานการณ์จากที่เป็นจริง ซึ่งวิธีที่ใช้และที่เป็นที่นิยมใช้มากที่สุดมีดังต่อไปนี้ คือ

1.  วิธีการใช้กรณีศึกษา (The case Method)

วิธีที่ใช้มากที่สุดวิธีหนึ่ง ก็คือ เทคนิคการใช้ Case Method หรือกรณีศึกษา แต่ละกรณีนั้นก็คือ การเขียนเรื่องราวของสิ่งที่ได้มีการตัดสินใจในสภาพที่ได้เกิดขึ้นจริงเพื่อให้ผู้อบรมได้ทราบ จากนั้นพนักงานผู้บริหารที่เป็นพนักงานฝึกหัดก็จะถูกสั่งให้ศึกษาเพื่อพิจารณาปัญหาของเรื่องราวและทำการวิเคราะห์เรื่องต่าง ๆ ของกรณีนั้นตามทัศนะของตัวและให้เสนอแนะคำตอบ ตลอดจนค้นหาทางเลือกในการแก้ปัญหา จนได้คำตอบหรือสามารถทำการตัดสินใจว่า ควรจะทำวิธีใดจึงจะเป็นวิธีที่ดีที่สุด รวมทั้งการให้ทดลองแก้ไขการปฏิบัติงานด้วยตนเอง วิธีนี้การเรียนรู้จะเกิดขึ้นได้อย่างมากถ้าหากได้มีการร่วมสนใจศึกษาอย่างจริงจังจากทั้งสองฝ่าย และมีการร่วมถกปัญหาอย่างครบถ้วน โดยศึกษาพร้อมกันทั้งกลุ่มด้วย

วิธี Case Method หรือ กรณีศึกษานี้ ส่วนมากมักจะต้องเกี่ยวข้องกับเอกสารจำนวนมาก เช่น นโยบายของบริษัท ซึ่งถ้าหากจะโต้แย้งก็อาจจะพูดได้เช่นกันว่า วิธีนี้อาจจะไม่ใช่วิธีที่มีประสิทธิภาพสูงสุดในแง่ที่จะมีข้อที่ด้อยกว่าในแง่ของการจัดโครงเรื่องที่จะให้สามารถอ่านอย่างมีระเบียบและครบถ้วนสมบูรณ์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในแง่ของข้อมูลสถิติต่าง ๆ เมื่อเป็นเช่นนั้น ในบางครั้งการนั่งฟัง lecture ที่เข้าใจโดยมีผู้บรรยายที่บรรยายได้ดีและลึกซึ้ง และมีการอธิบายอย่างเป็นระบบและเป็นระเบียบลำดับ ก็อาจจะเป็นวิธีที่ดีกว่า และสมบูรณ์กว่าการค่อย ๆ แกะ ค่อย ๆ ติดตามจากกรณีศึกษา ที่มีแต่ข้อมูลล้วน ๆ ความมีประสิทธิภาพของการใช้กรณีศึกษาจึงขึ้นอยู่กับความสามารถของการอบรม และขึ้นอยู่กับโอกาสที่จะมีกรณีศึกษาที่เขียนขึ้นอย่างดีและมากพอ ถ้าหากทั้งสองปัจจัยได้มีความถูกต้องครบถ้วนสมบูรณ์แล้ว วิธี Case Method ก็จะเป็นวิธีที่เป็นเครื่องมือที่มีประสิทธิภาพยิ่งในการ ที่จะช่วยปรับปรุงและสอนให้ทราบถึงเหตุผลของการตัดสินใจได้เช่นกัน ในเรื่องนี้ได้มีการพิจารณา ศึกษาไว้มากแต่ก็มีเรื่องน่าสนใจเรื่องหนึ่ง คือ มีผู้ศึกษาค้นพบว่าการเสนอ Case กรณีศึกษาโดยการใช้ฟิล์มอธิบายเรื่องราวนั้นจะเป็นวิธีที่ได้ผลมากกว่า Case ที่เขียนขึ้นเป็นลายลักษณ์อักษรและข้อมูล­ตัวเลข

ชนิดของกรณีศึกษา กรณีศึกษาอาจจะมีหลายชนิดแตกต่างกัน เช่น การแบ่งออกเป็น

Incident Method และ The demand technigue วิธี Incident Method ก็คือการเสนอหัวข้อเรื่อง บอกเหตุการณ์โดยแสดงออกมาเป็นชุด และหลังจากนั้น นักศึกษาก็จะได้รับมอบหมายให้แสดงบทบาทในการตรวจดูเหตุการณ์ต่าง ๆ เหล่านั้น จากนั้นถ้าหากนักศึกษาต้องการข้อมูลเพิ่มเติมก็จะมีการให้ข้อมูลเพิ่ม (ถ้าหากนักศึกษาถามคำถามที่ถูกต้อง) นักศึกษาแต่ละคนจะพยายามหาคำตอบจาก Case และจะรวมกลุ่มคำตอบที่เหมือนกันเพื่อประสานกันเป็นคำตอบสำหรับเรื่องนั้น ๆ จากนั้นแต่ละกลุ่มก็จะสรุปคำตอบของกลุ่มของตน และการนำมาถกร่วมกันระหว่างกลุ่มในภายหลัง ในที่นี้ผู้บรรยายจะชี้ในที่สุดว่า เรื่องจริงที่เกิดขึ้นใน Case นั้นเป็นอย่างไรและผลที่ตามเป็นอย่างไร ซึ่งจะเปิด โอกาสในขั้นสุดท้ายที่จะให้กลุ่มนำคำตอบของตัวมาตรวจสอบกับคำเฉลย แล้วจึงให้แง่คิดแก่ผู้ที่เข้าร่วมถกปัญหาที่จะให้รู้จักวิธีการประยุกต์ความรู้ความเข้าใจให้เข้ากับสภาพงานของแต่ละคน

2.  การให้แสดงบทบาท (Role Playing)

วิธีการให้แสดงบทบาทจะเป็นวิธีซึ่งผสมกันระหว่างวิธี Case Method และ Attitude Deve­lopment กล่าวคือ ผู้บริหารแต่ละคนที่จะทำการพัฒนานั้นจะได้รับมอบหมายให้แสดงบทบาทในห้องอบรม ซึ่งอาจจะเป็นกรณีของเรื่องราวเรื่องใดเรื่องหนึ่งและจะให้แสดงบทบาทและการโต้ตอบ ปัญหาอย่างผู้แสดงบทบาทคนอื่น ๆ เช่นเดียวกับการแสดงละคร ผู้แสดงบทบาทจะได้รับมอบหมาย ให้สมมติว่าเป็นบุคคลใดบุคคลหนึ่งในสถานการณ์หนึ่งและให้ปฏิบัติตอบต่อเหตุการณ์ของอีกคนหนึ่ง ว่าถ้าพบเหตุการณ์เช่นนั้นแล้วจะทำอย่างไร ก่อนที่จะให้มีการแสดงบทบาทผู้ที่เกี่ยวข้องจะแสดงบทบาททุกคนจะได้รับข้อมูลในส่วนของตนตามเหตุการณ์ และอีกกลุ่มหนึ่งก็จะเป็นกลุ่มซึ่งมิได้มีข้อมูลเตรียมให้ บ่อยครั้งที่การใช้วิธีการให้แสดงบทบาทนั้นมักจะมีการบันทึกโดยเทปโทรทัศน์แล้วทำการวิเคราะห์แต่ละขั้นตอนของการพัฒนาเรื่องราวเป็นเรื่อง ๆ โดยทั่วไปแล้ววิธีการแสดงบทบาทนี้มักจะ จัดขึ้นในกลุ่มของผู้อบรมในขนาดประมาณ 12 คน ความสำเร็จของวิธีนี้จะมีได้มากน้อยเพียงใดย่อมขึ้นอยู่กับความสามารถของผู้แสดงที่จะแสดงบทที่ได้รับมอบหมาย โดยมีความเชื่อมั่นในบทนั้น ๆ เต็มที่ขนาดไหน ผลของการใช้วิธีการแสดงบทบาทนั้นประสิทธิภาพจะได้ผลมากน้อยเพียงใดนั้น ค่อนข้างจะวัดได้ยากมาก

3.  การใช้รูปแบบจำลองเกี่ยวกับงาน (The Task Model)

อีกวิธีหนึ่ง คือ วิธี The Task Model ซึ่งวิธีนี้ กลุ่มผู้ทำงานจะได้รับมอบหมายให้ทำงานที่ยุ่งยากอย่างใดอย่างหนึ่ง ซึ่งจำต้องอาศัยวิธีการประกอบและให้ทำงานนั้น ๆ ให้ลุล่วงโดยมีคำสั่งที่ค่อนข้างสลับซับซ้อนสำหรับการทำงานชนิดนั้น ๆ วิธีนี้เป็นวิธีที่มุ่งจะแสดงให้เห็นถึงปัญหาความยุ่งยากของการสื่อความ ซึ่งกรณีนี้จะมีการจัดกลุ่มบุคคลให้ถือชิ้นส่วนของการประกอบ เช่น การประกอบชิ้นส่วนพลาสติกชิ้นเล็กชิ้นน้อยที่จะให้เป็นรูปอย่างใดอย่างหนึ่ง เป็นต้น

4. วิธีการให้ทดลองวิเคราะห์งานจากตัวอย่าง (The In-Basket Technique)

วิธีหนึ่งที่นิยมใช้มากก็คือ วิธีที่ใช้ในการพัฒนาความสามารถในการตัดสินใจทางการบริหารที่เรียกว่า In-Basket Technique วิธีนี้มักจะนิยมใช้ในขั้นตอนของการคัดเลือกตัวนักบริหาร มากพอๆ กับการนำมาใช้พัฒนาการจัดการ

วิธีการก็คือ ผู้เข้าอบรมจะได้รับมอบหมายหรือได้รับเอกสารฟ่อนหนึ่ง ซึ่งมีการกำหนดแบบอย่างไว้ล่วงหน้า และมักจะให้พยายามเหมือนกับสภาพที่เป็นจริงของงานของนักบริหารทุกคน ทั้งเรื่องราวที่ต้องตัดสินใจตลอดถึงเรื่องราวที่ส่งเข้ามา ตลอดจนโน้ตข้อความทางโทรศัพท์ที่เลขานุการจัดให้ ภายในเอกสารนั้นก็จะมีการแทรกเรื่องสำคัญ เช่น สินค้าหมดสต๊อค คำร้องเรียนของลูกค้า หรือบันทึกขอให้หัวหน้างานรายงานผลเข้ามาต่าง ๆ เหล่านี้ จะใส่รวมไว้ในเอกสารปนกันอยู่กับเรื่องอื่น ๆ ที่เป็นปกติที่เป็นงานประจำ เช่น คำขอลาหยุด หนังสือเชิญที่ให้ไปเป็นวิทยากรพูดในงานเลี้ยงอาหารคํ่า หรือข้อตัดสินใจที่เกี่ยวกับที่จะให้ข้อตกลงว่า ควรจะจัดนำเที่ยวในช่วงพักร้อนในอาทิตย์ไหนดี ทั้งหมดนั้นมอบให้กับผู้เข้าอบรมให้ทำการวิเคราะห์และพิจารณา โดยใช้ดุลยพินิจและให้ตัดสินใจว่า จะทำอะไรก่อนหลังภายในเวลาที่กำหนด ซึ่งคุณภาพของการตัดสินใจและจัดลำดับก่อนหลังที่ต่างกันนั้นเอง จะถูกนำมาพิจารณาความสามารถของแต่ละคน วิธีนี้เป็นวิธีที่นิยมใช้เป็นมากพิเศษ และมักเป็นที่นิยมชมชอบของผู้เข้ารับการอบรม และนอกจากนั้นวิธีดังกล่าวยังสามารถช่วยการคาดการณ์อนาคตของความสำเร็จ ตลอดจนความมีประสิทธิภาพทางการบริหารได้ อย่างไรก็ตามนับว่าเป็นวิธีที่ถึงแม้จะมีความถูกต้องในการดำเนินก็ตาม แต่ก็นับได้ว่าเป็นวิธีที่ค่อนข้างเสียค่าใช้จ่ายมาก มีวิธีหนึ่งที่ได้ทำการพัฒนาใหม่คือ The Kepner-Tregoe Techinque วิธีนี้ค่อนข้างจะสัมพันธ์ กับ In-Basket แต่จะไม่ใช่ In-Basket ทีเดียว หากแต่จะเป็น In-Basket Management Develop­ment ซึ่งตามวิธีการจะยึดถือแนวความคิดของผู้บริหารที่สมเหตุสมผลที่มีประสิทธิภาพ วิธีนี้จะเป็นวิธีผสมของการให้แสดงบทบาทตลอดจนมีการประกอบด้วยเหตุการณ์สำคัญต่าง ๆ (Incident Me­thod) ซึ่งมีความเชื่อว่า ในการใช้วิธีการต่าง ๆ ผสมกันจะช่วยให้ผู้บริหารทำการตัดสินใจโดยมีความระมัดระวังมากยิ่งขึ้นและจะได้คุณภาพในการตัดสินใจที่ดีกว่า และถ้าหากได้ร่วมทำกันเป็นทีมแล้ว จะสร้างเสริมให้เกิดความเข้าใจในระหว่างทีมผู้บริหารด้วย วิธีนี้เป็นวิธีที่มีประโยชน์อย่างยิ่งในการเสริมสร้างคุณภาพของการเรียนรู้ เช่น มีการจำลองสภาพที่เป็นจริง มีการใช้วิธีสื่อความหลาย ๆ แบบ และใช้ข้อจำกัดเรื่องเวลาประกอบอยู่ด้วย ทุกอย่างจะมุ่งเน้นให้แก้ไขปัญหาอย่างสมเหตุสมผลและถูกต้องตามระบบของการตัดสินใจเพื่อให้ได้วิธีที่ดีที่สุด แต่ก็มีข้อโต้แย้งได้ว่าวิธีนี้อาจจะไม่สามารถได้คำตอบหรือการตัดสินใจได้ดี สำหรับทุกปัญหาที่ต่างกัน

5.  วิธี Synectics วิธีนี้พยายามที่จะใช้สำหรับฝึกฝนหรือให้ทำการตัดสินในใจโดยไม่ให้มีการจัดเตรียมโปรแกรมไว้ล่วงหน้า และส่งเสริมหรือกระตุ้นให้มีการติดต่ออย่างเสรีในการตัดสินใจ หรืออาจจะกล่าวได้ว่า เป็นวิธีพัฒนาความคิดริเริ่มนั่นเอง William Gordon ได้ให้คำจำกัดความเกี่ยวกับ กระบวนการคิดริเริมสร้างสรรว่า” เป็นกิจกรรมทางสมองในการระบุปัญหาและการเข้าใจสถานการณ์ ของการแก้ไขปัญหา และการมีความนึกคิดหรือมีเทคนิคในเชิงคิดค้น เพื่อที่จะได้คำตอบที่ดีกว่า” การตัดสินใจในเชิงกลยุทธที่คิดค้นหรือสร้างสรรนั้น น่าจะพิจารณาได้ว่าเป็นวิธีที่ได้ผลหรือคำตอบที่ ถูกต้องตามเหตุผลที่สุด ความคิดริเริ่มสร้างสรรนี้อาจจะกล่าวได้ว่า เป็นเรื่องที่ยากยิ่งที่จะสอนกันได้ ดังนั้นวิธีที่ว่านี้จึงพยายามที่จะหาทางส่งเสริมหรือสร้างกลไกที่จะกระตุ้นให้คุณลักษณะเหล่านี้ปรากฏผลขึ้นมา เพื่อที่จะให้ผู้นั้นมีแนวความคิดแปลกใหม่ วิธีการอาจจะมีหนทางทำกลับไปกลับมา คือ นั้นกลายเป็นเรื่องง่ายธรรมดา Gordon ได้ให้ข้อเสนอแนะว่า วิธีการที่ไม่ยุ่งยากและสามารถให้มีการคิดริเริ่มและเพิ่มความริเริ่มสร้างสรรค์ได้ก็โดยวิธีการแสดงให้เห็นว่า การสร้างสรรค์เหล่านั้นคิดค้นขึ้นมาอย่างไร ในเรื่องนี้ส่วนประกอบของอารมณ์แต่ละคนที่เกี่ยวกับการสร้างสรรค์นั้นย่อมเป็นสิ่ง สำคัญอย่างยิ่งมากกว่าความเฉลียวฉลาด และหลาย ๆ กรณีการใช้สามัญสำนึกหรือการคิดจากอารมณ์ หรือจากอารมณ์ที่แปลกแหวกแนวนั้น บางครั้งในการแก้ปัญหานั้นถ้าหากเป็นเรื่องที่เข้าใจได้ถูกต้องแล้ว โอกาสที่จะทำได้สำเร็จกลับจะมีได้มากกว่าการคิดเพื่อเหตุผลข้างเดียว ตัวอย่างเช่นกรณีของคน คิดค้นโฆษณาในทางการตลาด การใช้เทคนิควิธีนี้ย่อมเป็นที่เหมาะสมอย่างยิ่ง

6. การใช้เกมส์บริหาร (Management Games)

เกมส์บริหารก็คือวิธีซึ่งฝึกฝนโดยให้มีความเข้าใจเกี่ยวกับลักษณะการดำเนินงานของบริษัท ของหน่วยงาน หรือของอุตสาหกรรม ข้อมูลต่าง ๆ เหล่านี้ มักจะมีการเสนอขึ้นมาในรูปของสมการ ซึ่งจะมีการเฉลี่ยในรูปแบบต่าง ๆ กัน ภายหลังจากที่ได้มีการตัดสินแล้ว วิธีนี้มักจะใช้มากที่สุดกับ เครื่องคอมพิวเตอร์ ตัวอย่างของวิธีนี้ก็คือ การทำงานทั่ว ๆ ไปนั้น จะมีการกำหนดให้ทีมหนึ่งของผู้ที่จะเล่นเกมส์ให้ทำงานด้านหนึ่งหรือทำการตัดสินใจเกี่ยวกับงานด้านหนึ่ง ในฐานะที่เป็นนักบริหาร ระดับสูง ในทำนองเดียวกับเกมส์ธุรกิจ จากนั้นผู้ที่เล่นเกมส์ก็จะถูกถามคำถามเพื่อให้ตอบและตัดสิน ใจในเรื่องต่าง ๆ เกี่ยวกับการกำหนดราคาผลิตภัณฑ์ ตลอดจนการซื้อวัตถุดิบ การจัดแผนการผลิต ตลอดจนการกำหนดโครงการใช้ทุน การตลาด ตลอดจนค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการค้นคว้าและพัฒนา เมื่อผู้เล่นในแต่ละกลุ่มได้ทำการตัดสินใจแล้ว ก็จะนำเอาการตัดสินใจต่าง ๆ เหล่านั้นมาคิดคำนวณตาม รูปแบบที่กำหนดไว้ในทางการบัญชี เป็นต้น เช่นการชี้ให้เห็นถึงผลการตัดสินใจ การกำหนดราคา อย่างหนึ่งจะมีผลต่อปริมาณขายให้ผิดไปอย่างไรบ้าง ซึ่งจากนั้นผู้นั้นก็จะขมวดหรือรวมกับการตัดสินใจของตนให้เข้ากับผู้บริหารทีมอื่น ๆ ก่อนที่จะมีการตัดสินใจในขั้นสุดท้าย การกำหนดให้แต่ละทีม แข่งขันกัน โดยเปรียบเสมือนเป็นบริษัทต่างหากที่เป็นคู่แข่งขัน และเอาคำตอบมาเทียบกันนี้ โดยทำการวัดทั้งกำไร การแบ่งส่วนตลาด แล้วก็ตัดสินผู้ชนะระหว่างในบรรดาผู้แข่งขัน วิธีนี้เมื่อการแข่งขัน ขั้นหนึ่งจบสิ้นไป และได้คำตอบออกมาก็จะมีการแลกเปลี่ยนคำตอบของอีกบริษัทหนึ่ง เพื่อให้อีกฝ่ายหนึ่งนำไปพิจารณาในกลุ่มของตน การใช้เกณฑ์นี้นับว่าเป็นวิธีที่นิยมกันมากและเป็นวิธีที่ช่วยให้ มีการวิเคราะห์ในเชิงตัดสินใจรวมมากที่สุด และให้มีการฝึกฝนการตัดสินใจด้วยการคิดคำนวณจริง ๆ และยังมีช่วงตอนของการได้ข้อมูลหรือได้เห็นประสพการณ์ของวิธีการของกลุ่มตรงข้าม และถูกบังคับ ให้มีสถานการณ์ที่ไม่อาจมีข้อมูลทุกด้านได้ครบ ซึ่งสภาพการณ์เช่นนี้มักจะเป็นเรื่องจริงในชีวิตของ การทำงาน ข้อเสียที่ถูกวิพากษ์วิจารณ์มากที่สุดก็คือ ข้อจำกัดในเชิงของการคิดสร้างสรรหรือพิจารณา ในเชิงบรรยายความในการตัดสินใจ ความไม่เป็นจริงของข้อมูลบางประการ และการเน้นเชิงปริมาณ มากเกินไปนั้น บางครั้งกลับเป็นผลร้ายที่ทำให้ผู้เล่นที่ถนัดในทางคำนวณมุ่งแต่ที่จะคำนวณหรือสนใจ ให้ได้ตัวเลขคำตอบที่เป็นผลดีทางการเงินเท่านั้น หรือในบางกรณีผู้เข้าร่วมเกมส์นั้นอาจจะตามไม่ทัน และอาจจะหลงทางในทางที่จัดไว้ได้

วิธีการใช้เครื่องช่วยสอน ( Audiovisual – Aids )

การใช้เครื่องช่วยสอนนับว่ามีความสำคัญอย่างยิ่งในการที่จะนำมาใช้ปรับปรุงประสิทธิภาพในการพัฒนาความสามารถนอกหน้าที่งาน เครื่องมือต่าง ๆ เหล่านี้ อาจจะแตกต่างกันไปตั้งแต่การใช้กระดานดำ จนถึงการใช้ภาพยนตร์ ใช้เทป และอื่น ๆ