ข้อปฏิบัติและแนวทางสำหรับผู้ทำการสัมภาษณ์

วิธีที่จะปรับปรุงให้การสัมภาษณ์สามารถกระทำได้ผลดีขึ้น มีข้อแนะนำเป็นแนวทางทั้งหมด 8 ประการด้วยกัน คือ

1. พยายามใช้วิธีการสัมภาษณ์ที่มีโครงเรื่องจดไว้เป็นแนวทางให้มาก อย่างที่ กล่าวมาแล้วว่า การสัมภาษณ์โดยมีคำถามที่จัดเป็นโครงเป็นแบบไว้เพื่อใช้เป็นแนวทางนั้น มักจะให้ประโยชน์ได้มากกว่า กล่าวคือ จะช่วยให้การเก็บรวบรวมข้อมูลการบันทึกข้อมูลในขณะทำการสัมภาษณ์ทำได้ครบถ้วน ซึ่งเรื่องนี้เป็นเรื่องสำคัญ เพราะว่าถ้าหากไม่มีแบบฟอร์มคำถามแล้ว ผู้ทำการสัมภาษณ์มักจะไม่สามารถเก็บรวบรวมข้อมูลหรือจำข้อมูลที่ได้จากการสัมภาษณ์คนเป็นจำนวนมาก ๆได้เท่าที่ควร หลังจากการสัมภาษณ์สิ้นสุดลงประมาณ 20 นาที ก็มักจะลืมเรื่องที่ได้ฟังมาแล้ว นอกจากนี้คำถามที่มีไว้เพื่อเป็นแนวทางยังช่วยให้เรามั่นใจได้ว่า จะไม่มีการตกหล่นและบกพร่องหรือลืมถามคำถามที่สำคัญ ๆ และผลพลอยได้จากวิธีนี้ก็คือ ผู้ทำการสัมภาษณ์จะพูดน้อยลงและในทางกลับกันก็จะเป็นผลส่งเสริมให้ผู้ถูกสัมภาษณ์บรรยายความรู้สึกได้มากขึ้น นอกเหนือจากนี้เครื่องมือ ดังกล่าวยังช่วยให้เรามีโอกาสประเมินผู้ถูกสัมภาษณ์ทุก ๆ คนได้อย่างครบถ้วน หลังจากการสัมภาษณ์ สิ้นสุดลง ซึ่งย่อมจะช่วยให้การปฏิบัติผิดที่จะด่วนสรุปความคิดหรือการจับเอาเหตุการณ์ตอนใดตอนหนึ่งมาประเมินให้มีน้อยลงได้ อีกทั้งยังช่วยให้สามารถลดข้อมูลให้อยู่ในขอบเขตที่เหมาะสมไม่เป็น ายละเอียดมากเกินไป ซึ่งการเปรียบเทียบด้วยมาตรฐานเดียวกันก็จะสามารถกระทำได้ โดยไม่มีอิทธิพลของข้อแตกต่างของผู้สมัครที่เข้ามาต่างจังหวะขั้นตอน แนวทางคำถามของการสัมภาษณ์ยัง ช่วยในการที่จะลดหรือป้องกันมิให้ข้อมูลที่เป็นข้อมูลที่ไม่ดีเข้ามาสู่ความคิดของผู้ทำการสัมภาษณ์

 

มากเกินไป กล่าวคือ ด้วยคำถามที่แน่นอนนั้น จะช่วยให้เรามีทัศนคติที่ปลอดกว่าเดิมที่จะมีสิ่งที่ถูกต้องอยู่ในใจเกี่ยวกับประเด็นที่จะดำเนินการถามระหว่างดำเนินการสัมภาษณ์ มากกว่าข้อมูลที่ได้อ่านมาก่อนซึ่งการมีคำถามนำนี้ มักจะเป็นเครื่องป้องกันมิให้มีการเผลอไผลไปอิงอยู่กับการตอบคำกาม เพียง 2-3 ข้อ ซึ่งอาจจะได้รับคำตอบจากผู้ถูกสัมภาษณ์ ที่ได้มาเป็นข้อมูลที่ไม่ดีก็ได้

2.  พยายามให้มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับงานที่ต้องการเลือกคนให้มากที่สุด

กรณีนี้ย่อมเป็นที่ชัดแจ้งที่ว่า ผู้ต้องการสัมภาษณ์จำเป็นต้องเข้าใจเนื้อหาของงานอย่างแจ่มแจ้ง ตลอดจนความต้องการของงานนั้น ๆ ซึ่งมักจะช่วยให้เราไม่ผูกพันหรือให้น้ำหนักมากเกินไปกับข้อมูลที่ไม่เกี่ยวข้องและยังสามารถช่วยลดโอกาสที่เราจะนำเอาแบบของผู้สมัครในอุดมคติมาใช้มากกว่าการพิจารณาถึงคุณสมบัติที่แท้จริงของเขาจากความจำเป็นของงาน

3.  ต้องพยายามฝึกฝนและอบรม หาความรู้เกี่ยวกับการสัมภาษณ์ด้วยตัวเอง

สิ่งเหล่านี้เป็นสิ่งที่อบรมและสอนกันได้ ที่จะให้ผู้ต้องการสัมภาษณ์หลีกเลี่ยงข้อปัญหาต่าง ๆ

4. ให้พยายามมุ่งสนใจที่บุคลิกภาพที่เราสามารถประเมินไว้อย่างถูกต้องให้

มากเอาไว้

ในที่นี้ก็คือบุคลิกภาพที่ปรากฏบางอย่างนั้น มักจะมีความถูกต้องและสามารถประเมิน ออกมาได้ค่อนข้างชัดในขณะทำการสัมภาษณ์ มากกว่าบุคลิกภาพบางประเภท เช่น การสังเกตเรื่องเชาว์ปัญญา ทัศนคติเรื่องเกี่ยวกับความสัมพันธ์กับคนอื่น ตลอดจนแรงจูงใจเกี่ยวกับงาน เป็นต้น

5.  พยายามส่งเสริมให้ผู้ถูกสัมภาษณ์พูดมากที่สุด หรือแสดงความเห็นมาก

ที่สุด

โดยปกติในขณะทำการสัมภาษณ์นั้น ผู้ทำการสัมภาษณ์มักจะรู้สึกอึดอัด และไม่สะดวกใจมากกว่าผู้ถูกสัมภาษณ์ กล่าวคือ มักจะเป็นการยากที่จะนึกคำถาม และบางครั้งผู้ทำการสัมภาษณ์เองก็มีความสับสนแทรกเข้ามาในขณะทำการสัมภาษณ์โดยไม่รู้สึกตัว ดังนั้นถ้าหากจำเป็นต้องทำการสัมภาษณ์โดยมิได้มีการจัดเตรียมที่ดี อย่างน้อยผู้ทำการสัมภาษณ์ก็อาจแก้ไขโดยมีการเขียนคำถามย่อ ๆ ก่อนที่จะเริ่มต้นสัมภาษณ์ (ตัวอย่างคำถามนั้นได้ปรากฏในรูป 9.4)

6.  อย่าด่วนตัดสินใจเร็วเกินไป มักพบเสมอว่า ผู้ทำการสัมภาษณ์มักจะเร่งตอบทันที ว่าจะรับหรือไม่รับ ภายหลังการสัมภาษณ์ไม่กี่นาที และในกรณีเช่นนี้การที่จะมาร่วมพิจารณากันภายหลังมักจะยากที่จะเปลี่ยนการตัดสินใจที่ได้ด่วนทำไปแล้วได้ ข้อเท็จจริงอย่างหนึ่งที่ได้กล่าวมาแล้วว่า ผู้ทำการสัมภาษณ์ส่วนใหญ่มักจะทำการตัดสินใจเร็วกว่านั้น กล่าวคือบางครั้งก่อนที่จะได้เห็นตัวผู้สมัครเสียอีก ทั้งนี้โดยอาศัยดูจากใบสมัครเป็นข้อมูลสำหรับการวินิจฉัย ด้วยเหตุนี้การระมัดระวังอย่าด่วนตัดสินใจเร็วไปจะเป็นการดีกว่า และควรที่จะได้มีการบันทึกและเก็บข้อมูลที่ได้จากการสัมภาษณ์เก็บเอาไว้ นำมาอ่านทบทวนเพื่อพิจารณาอีกครั้ง หลังจากได้สัมภาษณ์สิ้นสุดลง แล้วค่อยมาตัดสิน ใจ

7.  ควรพยายามเน้นในด้านของแง่ดีไว้ หรือพยายามลดทัศนคติที่ไม่ดี

ขอให้ระลึกไว้อย่างหนึ่งว่า โดยปกติผู้ทำการสัมภาษณ์มักจะมีแนวโน้มที่จะให้นํ้าหนักข้อมูลที่ไม่ดีอยู่แล้ว แต่ขณะเดียวกันการทำการสัมภาษณ์นั้น วัตถุประสงค์ก็เพื่อที่จะหาหนทางที่จะค้นหาแง่ที่ไม่ดี และรวมทั้งให้รู้ตัวเองอยู่เสมอว่า การเปลี่ยนข้อมูลที่ดีเป็นไม่ดี เป็นสิ่งที่ง่ายกว่าการเปลี่ยนข้อมูลที่ไม่ดีให้ กลับเป็นดี หรือการเห็นแง่ดีนั้นยากกว่าการเห็นแง่เลวของคน ดังนั้น จึงต้องพยายามหลีกเลี่ยงและให้ ดำเนินไปในแนวทางที่จะให้ค้นหาข้อดีให้มากเอาไว้

8.  ควรจะต้องพยายามแสดงภาพพจน์ที่ดีจากตัวเอง เนื่องจากผู้สมัครมักจะมีการประเมินผู้ทำการสัมภาษณ์และภาพพจน์ของบริษัทพร้อมกันในขณะทำการสัมภาษณ์ด้วย ดังนั้นจึงเป็นสิ่งสำคัญเช่นกันที่ผู้ทำการสัมภาษณ์จะต้องระมัดระวังตัว ไม่ปล่อยปละละเลยในบุคลิกของตัวด้วย และที่จำเป็นเพื่อการมีภาพพจน์ที่ดี ก็ต้องมุ่งพยายามขายความคิดที่เป็นข้อดีต่างๆ ของบริษัท ให้ผู้สมัครได้ทราบด้วย

การเปิดสัมภาษณ์

–                                            ขอดูใบสรุปประวัติ (resume)

–                                            ทำไมท่านจึงสนใจจะมาทำงานกับบริษัทของเรา?

–                                            ท่านคิดว่าท่านเหมาะสมกับงานนี้อย่างไร?

–                                            ท่านคิดว่าท่านจะช่วยเราในแง่ใดบ้าง?

–                                            โปรดเล่าประสบการณ์ของท่านให้ทราบ?

–                                            ท่านประสงค์จะได้เงินเดือนเท่าไหร่?

การถามเกี่ยวกับแรงจูงใจ (motivation)

–                                            นายจ้างเก่าของท่านทราบหรือไม่ว่า ท่านกำลังจะเปลี่ยนงาน?

–                                            อะไรเป็นเหตุผลทำให้ท่านคิดเปลี่ยนงาน?

–                                            เพราะอะไรจึงทำให้ท่านมาเลือกทำงานด้านนี้?

–                                            ทำไมท่านจึงอยากเปลี่ยนงานไปทำด้านอื่นที่ต่างจากเดิม?

–                                            ในห้าปีข้างหน้า ท่านอยากจะทำอะไร?

–                                            งานอะไรที่ท่านชอบเป็นพิเศษ?

–                                            ถ้าหากให้ท่านมีโอกาสเลือกอย่างเต็มที่แล้ว ท่านคิดว่าจะทำงานด้านใดได้สำเร็จผลที่สุด?

–                                            เพราะอะไร?

การถามเกี่ยวกบการศึกษา

–                                            จงอธิบายประวัติการศึกษาให้ทราบ

–                                            ทำไมถึงเลือกเรียนสาขานั้น?

–                                            ผลการเรียนเป็นอย่างไร? เกรดถัวเฉลี่ยเท่าใด?

–                                            ร่วมทำกิจกรรมอะไรบ้าง?

–                                            ชอบวิชาไหนมากที่สุด และน้อยที่สด? ทำไม?

–                                            ท่านเคยได้รับการอบรมพิเศษเกี่ยวกับงานนี้หรือไม่?

การถามเกี่ยวกับประสบการณ์

–                                            ท่านคิดว่าท่านมีคุณสมบัติเหมาะสมกับงานนี้ตรงไหน?

–                                            ถ้าหากจะให้ท่านปรับปรุงงานที่จะให้ทำ ท่านจะปรับปรุงอะไรบ้าง?

–                                            หน้าที่งานที่เคยทำมาในอดีตนั้น อะไรที่ชอบมากที่สุดและน้อยที่สุด?

–                                            ท่านคิดว่าท่านจะมีจุดแข็ง/จุดอ่อนในแง่ใดที่เกี่ยวข้องกับการทำงานนี้?

–                                            อะไรเป็นข้อที่ท่านคิดว่าแย่ที่สุดของหัวหน้าคนที่เคยทำงานมา?

–                                            นายคนไหนที่ชอบที่สุด เพราะอะไร?

–                                            คนแบบไหนที่น่าทำงานด้วยที่สุด และแบบไหนที่ไม่น่าทำงานด้วย?

–                                            ท่านเคยปกครองลูกน้องกี่คน? ประเภทไหนบ้าง?

–                                            ท่านประสบความสำเร็จในด้านไหนมากที่สุดในปัจจุบัน?

–                                            ท่านสามารถใช้อุปกรณ์เครื่องมือแบบไหนบ้าง?

–        ทำไมท่านจึงเปลี่ยนงานบ่อย?

–        เคยถูกให้ออกหรือไล่ออกไหม?

–        ลองอธิบายจุดที่ลำบากใจที่สุดในชีวิตการทำงานมาให้ทราบบ้าง ?

–       ช่วงที่ว่างที่มิได้ทำงานตามที่ปรากฏในประวัติการทำงานนั้น ท่านทำอะไรบ้าง?

–       ตอนที่ป่วยเข้าโรงพยาบาลนั้น เป็นอะไรถึงต้องเข้าโรงพยาบาล

–       ลองบอก (หรือขอดู) ตัวอย่างงานที่ท่านเคยทำมา?

ถามเกี่ยวกับเงินเดือน

–                                            ท่านต้องการเงินเดือนเท่าไหร่?

–                                            ท่านจะยอมรับตํ่าสุดเท่าใด?

–                                            ในห้าปีที่ผ่านมาท่านได้รับเงินเดือนเป็นลำดับอย่างไร?

–                                            ท่าไมท่านจึงเชื่อมั่นว่า ท่านควรได้เงินเดือนมากขนาดนั้น?

–                                            เราคงสู้เงินเดือนขนาดนั้นไม่ได้ อยากให้ลองเสนอใหม่

–                                            ในอีกห้าปีข้างหน้า ท่านคิดว่าท่านควรจะได้เงินเดือนเท่าใด?

การถามในเรื่องอื่น ๆ

–                                            ท่านชอบเรื่องอะไรที่สุดในทางสังคม?

–                                            ท่านอ่านหนังสือพิมพ์ และวารสารอะไรบ้าง?

–                                            กิจกรรมหลักที่ท่านทำนอกเวลาทำงานมีอะไรบ้าง?

–                                            ท่านเป็นสมาคม หรือองค์การอะไรอื่นหรือเปล่า?

–                                            ท่านเคยถูกจับ ถูกฟ้องคดี หรือเคยฟ้องร้องคนอี่นหรือไม่?

–                                            ท่านเคยลาป่วยจากงานกี่วัน ในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา?

–                                            สุขภาพของท่านเป็นอย่างไร?

–                                            ภรรยาของคุณสนใจหรือคิดอย่างไรเกี่ยวกับการทำงานหรือไม่?

–                                            มีบ้าน มีรถ หรือมีทรัพย์สินอะไรบ้าง?

–                                            ถ้าหากต้องทำงานล่วงเวลาบ้าง หรือต้องเดินทางไปต่างจังหวัด

ต่างประเทศบ้าง จะเป็นปัญหาไหม?

–                                            ใครบ้างที่จะให้คำรับรองเกี่ยวกับตัวท่านได้?

–                                            เล่าเรื่องครอบครัวให้ทราบบ้าง?

รูปที่ 9.4 จาก Richard Lathrop, Whos Hiring Woho (Reston, Va. :Reston Publishing Company, 1976) pp.169-171