การฝึกอบรมเพื่อการแก้ไขจุดอ่อนจุดบกพร่อง

การฝึกอบรมเพื่อการแก้ไขจุดอ่อนจุดบกพร่อง (Sensitivity Training)

วิธีนี้เป็นวิธีที่ซึ่งเป็นที่โต้แย้งกันมากที่สุด โดยเฉพาะในเรื่องของการตรวจสอบทัศนคติที่เปลี่ยนแปลง ซึ่งเรียกอีกชื่อหนึ่งของวิธีนี้คือ “T-Group Training”

การจัดวิธีการอบรมตามนี้ ความสำเร็จย่อมขึ้นอยู่กับความสมบูรณ์ในการเตรียมโครงการ ตลอดถึงบทบาทของผู้ทำการฝึกอบรม และมีจุดมุ่งหมายของการอบรมอยู่ที่ตัวบุคคล กลุ่มคน และทั้งองค์การซึ่งในทุกกรณี การจัดอบรมตามวิธีดังกล่าว โดยมากมักจะมีลักษณะที่เหมือนกันดังนี้คือ

ก.) การพยายามส่งเสริมให้มีบรรยากาศที่จะให้ทุกฝ่ายมีเสรีในการที่จะถกปัญหาอย่างเปิดเผย

ข.) การพยายามที่จะให้มีการร่วมถกปัญหาโดยไม่ต้องมีการเตรียมตัวไว้ก่อน โดยไม่มีการเตรียมหัวข้อไว้ล่วงหน้า และปล่อยให้สมาชิกในกลุ่มกำหนดหัวข้อที่จะมาพูดกันเอาเอง

ค.) การให้เรียนรู้ในสิ่งต่าง ๆ นั้นจะกระทำการโดยไม่ใช้วิธีการบรรยายหรือการอธิบายด้วยวิธีสอน กล่าวคือ สมาชิกต่าง ๆ ที่เข้าอบรมในกลุ่มจะเรียนรู้จากประสบการณ์การประชุมนั้นได้เอง

ง.) ปัญหาในเรื่องของความไม่สบายใจและความอึดอัดต่าง ๆ มักจะเกิดขึ้นได้เสมอในกรณีซึ่ง การประชุมเป็นไปโดยไม่เป็นระเบียบหรือหาข้อยุติไม่ได้

วิธีการแบบ Sensitivity Training นี้ มักจะได้รับการวิจารณ์ว่าเป็นวิธีซึ่งเสียค่าใช้จ่ายสูงมาก และมีข้อเสียอย่างยิ่งในแง่ที่ทำให้มีการขัดแย้งกันในทางจิตวิทยาที่มีการระรานเข้าไปในเรื่องส่วนตัว และส่วนบุคคลของแต่ละคน และมักจะไม่ประสบผลสำเร็จ หรือมักเกิดการล้มเหลวกลางคันในกรณีที่ใจร้อน หรือเร่งด่วนจะรีบทำให้เสร็จเร็ว ๆ รวมตลอดถึงเป็นวิธีซึ่งขาดความต่อเนื่องที่จะนำไปสู่การนำไปปฏิบัติในสภาพงานที่เป็นจริง วิธีนี้ได้เคยเป็นที่นิยมมากในช่วงหลังปี ค.ค. 1960 แต่ในระยะถัดมาในปี ค.ค. 1970 และหลังจากนั้น วิธีนี้กลับเป็นวิธีที่ตกตํ่าอย่างรวดเร็วที่ไม่นิยมใช้กัน อย่างไรก็ตามวิธีที่ว่านี้นับว่าเป็นเครื่องมืออันหนึ่งในการพัฒนาและฝึกอบรมที่มีกลไกที่ได้ผลมากไม่น้อยในการช่วยเปลี่ยนแปลงทัศนคติและพัฒนาทัศนคติ แต่ความสมบูรณ์หรือถูกต้องจะมีได้ย่อมขึ้นอยู่กับภาวะ ระมัดระวังที่จะต้องพยายามเลือกเฟ้นนักบริหารที่จะเข้าอบรม ที่มีความเห็นพร้อมและเหมาะสม สำหรับวิธีการดังกล่าวนี้ และควรจะพิถีพิถันเลือกใช้กับตำแหน่งงานเฉพาะที่ซึ่งจำเป็นและต้องการ ที่จะให้มีการฝึกฝนด้วยวิธีให้สนใจต่อความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล (Seusitive Interpersonal Skills) เพื่อที่จะได้ให้ประสบผลสำเร็จในหน้าที่งานได้ดีขึ้น