ชนิดของแผนการจ่ายแบบจูงใจที่ให้กับนักบริหาร

ด้วยเหตุที่ไม่อาจจะกำหนดแผนการจ่ายแบบจูงใจแบบใดแบบหนึ่งให้เหมาะสมสำหรับทุกสถานการณ์หรือสำหรับผู้บริหารทุกคนได้ ดังนั้นจึงได้มีชนิดของการจ่ายที่แตกต่างกันออกไปสุดแต่ความจำเป็นของแต่ละองค์การ และตามลักษณะที่แตกต่างกันของนักบริหารที่มีอยู่ แผนการจ่ายเหล่านี้ที่แตกต่างออกไป ย่อมช่วยให้เป็นเครื่องมือที่จูงใจหรือกระตุ้นได้ตามวัตถุประสงค์ต่าง ๆ กัน และยังช่วยให้มีโอกาสที่จะได้รับประโยชน์จากภาษีหรือระเบียบต่าง ๆ มากที่สุดด้วย วิธีต่าง ๆ ที่ใช้อยู่นั้น วิธีให้โบนัสเป็นวิธีที่ใช้กันมากที่สุด แต่อย่างไรก็ตาม การให้สิทธิซื้อหุ้น ตลอดจนการแบ่งส่วนผลงานและการให้กำหนดให้เลือกแบบของการจ่ายด้วยตัวเองขึ้นมา (self designed pay plan) ก็มีการใช้เหมือนกัน วิธีต่าง ๆ นี้ อาจจะอธิบายโดยย่อแต่ละประเภท คือ 1.  การจ่ายโบนัส (Bonus Payment) โบนัสที่พนักงานขั้นบริหารได้รับมากกว่าเงินเดือน ตามปกตินั้น มักจะมีการจ่ายในรูปเงินสดหรือการเก็บสะสมให้จนกว่าพนักงานผู้นั้นจะถึงเกษียณหรือ ครบอายุของการจ้างงาน จากการศึกษาของ NICB ชี้ให้เห็นว่า การใช้โบนัสเป็นวิธีการที่ใช้กันมาก และใช้กับกลุ่มต่าง ๆ มากกลุ่มยิ่งขึ้น 2.  การให้สิทธิซื้อหุ้น (Stock Options) การให้สิทธิซื้อหุ้นเป็นสิทธิที่จะให้ซื้อในราคาที่กำหนดไว้ภายในช่วงเวลาที่กำหนด ราคาที่พิจารณาให้ซื้อเป็นพิเศษนี้มักจะตํ่ากว่าราคาตลาด ซึ่งส่วนแตกต่างของราคาตลาดและราคาที่ให้สิทธิซื้อได้ในราคาตํ่านี้ จะเป็นมูลค่าที่เป็นประโยชน์ให้กับนักบริหาร การให้สิทธิ์ซื้อหุ้นนี้เป็นวิธีที่จัดขึ้นซึ่งอาจจะมีการจัดแยกสำหรับพนักงานที่เป็นกลุ่มที่มีคุณสมบัติตรงตามเกณฑ์ และสำหรับกลุ่มที่ซึ่งมีคุณสมบัติด้อยกว่าเป็นอีกพวกหนึ่ง ซึ่งขึ้นอยู่กับเหตุการณ์และตามความจำเป็นของข้อกฎหมายต่าง ๆ 3.  […]

สาเหตุที่ทำให้ผู้บริหารล้าสมัย

ความล้าสมัย (Obsolescence) ความล้าสมัย หมายถึง ภาวะที่เกิดขึ้นในตัวบุคคลใดบุคคลหนึ่ง ที่ซึ่งยังคงอยู่ในตำแหน่ง แต่ขาดความชำนาญและความรู้ทั่วไป ที่ถือว่าเป็นเรื่องสำคัญและจำเป็นต่อตำแหน่งงานนั้น และยัง หมายรวมถึง การมองไม่เห็นความสำคัญของความชำนาญและความรู้ทั่ว ๆ ไป อื่น ๆ ที่ซึ่งผู้บริหารหรือกลุ่มวิชาชีพส่วนมากถือว่าเป็นเรื่องสำคัญยิ่งที่จะต้องติดตามความก้าวหน้าใหม่ๆ ให้ทันเหตุการณ์อยู่ตลอดเวลา ทั้งนี้เพราะความชำนาญและความรู้ดังกล่าวนับเป็นสิ่งที่สำคัญในการเสริมสร้างประสิทธิภาพแก่ผลงานที่จะสามารถทำได้ผลดี ทั้งในงานปัจจุบันและงานที่จะเกิดขึ้นในอนาคต ความล้าสมัยของนักบริหารนี้อาจจะเกิดขึ้นได้กับผู้บริหารทุกคนที่มิได้มีการติดตามความก้าวหน้า ของการเปลี่ยนแปลงทางวิทยาการและเทคนิคต่าง ๆ ในขณะปฏิบัติงาน ซึ่งเทคนิควิทยาการที่ก้าวหน้านี้ ทุกอย่างล้วนแต่เป็นสิ่งที่พัฒนาขึ้นมาเพื่อช่วยเสริมสร้างความมีประสิทธิภาพของการปฏิบัติงาน ในยุคใหม่ ๆ หรือในทางกลับกันก็คือ เทคนิควิทยาการหรือวิธีปฏิบัติบางอย่างที่ใช้อยู่นั้นอาจจะหมดความจำเป็นไปแล้ว ซึ่งถ้าหากขาดทั้งสองแง่มุมแล้วก็ย่อมทำให้ผู้บริหารตกอยู่ในภาวะที่ไม่สามารถ ปรับตัวหรือตามทันกับภาวะใหม่ ๆ ที่ซึ่งความรู้ใหม่ ๆ มักจะเป็นสิ่งจำเป็นที่ต้องนำมาใช้ประกอบเสมอ ความล้าสมัยนี้อาจจะมีขนาดมากหรือน้อยต่างกัน ย่อมขึ้นอยู่กับแต่ละคนที่จะมีความสามารถในการแก้ไขปัญหาของตนได้แค่ไหนอย่างไร ในบางกรณีปัญหาอาจจะเกิดขึ้นในลักษณะที่ว่า ผู้บริหาร ได้รู้และเข้าใจหรือตามทันวิธีการใหม่อยู่แล้ว เป็นแต่เพียงตัวเองไม่อยากจะใช้ ซึ่งผลที่ปรากฏก็คือ จะมีผลกระทบต่อผลงานปัจจุบันของเขา ซึ่งอย่างน้อยในกรณีเช่นว่านี้นับว่ายังไม่ร้ายแรงนัก เพราะอย่างน้อยก็ยังมีการตระหนักหรือรู้ถึงปัญหาดังกล่าว แต่ปัญหาที่หนักกว่านั้นก็คือ ความไม่สามารถติดตาม และการไม่รู้ถึงหรือไม่ตระหนักถึงการเปลี่ยนแปลงใหม่ ๆ เลย แบบของการล้าสมัยที่ต่างกันนี้ ถ้าหากได้มีการเข้าใจปัญหาหรือได้ทราบแล้ว ก็ย่อมช่วยให้การเสริมหรือการอบรมพัฒนาใหม่เป็นสิ่ง ที่เป็นไปได้และจะกระทำได้สะดวกขึ้น แต่ถ้าผู้บริหารเป็นไปในลักษณะที่ว่าทั้ง […]