สาเหตุที่ทำให้ผู้บริหารล้าสมัย

ความล้าสมัย (Obsolescence) ความล้าสมัย หมายถึง ภาวะที่เกิดขึ้นในตัวบุคคลใดบุคคลหนึ่ง ที่ซึ่งยังคงอยู่ในตำแหน่ง แต่ขาดความชำนาญและความรู้ทั่วไป ที่ถือว่าเป็นเรื่องสำคัญและจำเป็นต่อตำแหน่งงานนั้น และยัง หมายรวมถึง การมองไม่เห็นความสำคัญของความชำนาญและความรู้ทั่ว ๆ ไป อื่น ๆ ที่ซึ่งผู้บริหารหรือกลุ่มวิชาชีพส่วนมากถือว่าเป็นเรื่องสำคัญยิ่งที่จะต้องติดตามความก้าวหน้าใหม่ๆ ให้ทันเหตุการณ์อยู่ตลอดเวลา ทั้งนี้เพราะความชำนาญและความรู้ดังกล่าวนับเป็นสิ่งที่สำคัญในการเสริมสร้างประสิทธิภาพแก่ผลงานที่จะสามารถทำได้ผลดี ทั้งในงานปัจจุบันและงานที่จะเกิดขึ้นในอนาคต ความล้าสมัยของนักบริหารนี้อาจจะเกิดขึ้นได้กับผู้บริหารทุกคนที่มิได้มีการติดตามความก้าวหน้า ของการเปลี่ยนแปลงทางวิทยาการและเทคนิคต่าง ๆ ในขณะปฏิบัติงาน ซึ่งเทคนิควิทยาการที่ก้าวหน้านี้ ทุกอย่างล้วนแต่เป็นสิ่งที่พัฒนาขึ้นมาเพื่อช่วยเสริมสร้างความมีประสิทธิภาพของการปฏิบัติงาน ในยุคใหม่ ๆ หรือในทางกลับกันก็คือ เทคนิควิทยาการหรือวิธีปฏิบัติบางอย่างที่ใช้อยู่นั้นอาจจะหมดความจำเป็นไปแล้ว ซึ่งถ้าหากขาดทั้งสองแง่มุมแล้วก็ย่อมทำให้ผู้บริหารตกอยู่ในภาวะที่ไม่สามารถ ปรับตัวหรือตามทันกับภาวะใหม่ ๆ ที่ซึ่งความรู้ใหม่ ๆ มักจะเป็นสิ่งจำเป็นที่ต้องนำมาใช้ประกอบเสมอ ความล้าสมัยนี้อาจจะมีขนาดมากหรือน้อยต่างกัน ย่อมขึ้นอยู่กับแต่ละคนที่จะมีความสามารถในการแก้ไขปัญหาของตนได้แค่ไหนอย่างไร ในบางกรณีปัญหาอาจจะเกิดขึ้นในลักษณะที่ว่า ผู้บริหาร ได้รู้และเข้าใจหรือตามทันวิธีการใหม่อยู่แล้ว เป็นแต่เพียงตัวเองไม่อยากจะใช้ ซึ่งผลที่ปรากฏก็คือ จะมีผลกระทบต่อผลงานปัจจุบันของเขา ซึ่งอย่างน้อยในกรณีเช่นว่านี้นับว่ายังไม่ร้ายแรงนัก เพราะอย่างน้อยก็ยังมีการตระหนักหรือรู้ถึงปัญหาดังกล่าว แต่ปัญหาที่หนักกว่านั้นก็คือ ความไม่สามารถติดตาม และการไม่รู้ถึงหรือไม่ตระหนักถึงการเปลี่ยนแปลงใหม่ ๆ เลย แบบของการล้าสมัยที่ต่างกันนี้ ถ้าหากได้มีการเข้าใจปัญหาหรือได้ทราบแล้ว ก็ย่อมช่วยให้การเสริมหรือการอบรมพัฒนาใหม่เป็นสิ่ง ที่เป็นไปได้และจะกระทำได้สะดวกขึ้น แต่ถ้าผู้บริหารเป็นไปในลักษณะที่ว่าทั้ง […]

สาเหตุที่ทำให้ผู้บริหารล้าสมัยในการพัฒนาองค์การ

สาเหตุที่ทำให้ผู้บริหารล้าสมัย ปัจจัยประการหนึ่งคือ การเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วของเทคนิควิทยาการ(Technological Obsolescence) กล่าวคือ ในงานบางด้านได้มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วและตามแทบไม่ทัน  อย่างเช่นกรณีของเครื่องจักรสมองกลหรือคอมพิวเตอร์ ส่วนสาเหตุประการที่สองนั้นก็คือ การถูกเลื่อนขั้นไปตำแหน่งที่ตนไม่พึงประสงค์  เข้าไปทำงานในตำแหน่งที่ยังมีคุณสมบัติไม่พร้อมหรือไม่เหมาะสม และไม่อาจที่จะทำงานนั้นได้  ซึ่งในที่สุดก็ทำให้เกิดปัญหาของการเฉื่อยชา หรือหมดน้ำยาหรือขาดแรงจูงใจ และทำงานเรื่อย ๆ วันต่อวันแบบไม่มีอนาคต ซึ่งย่อมทำให้จมอยู่กับที่และแก่ลงไปพร้อมกับตำแหน่งงานนั้น ๆ  ในอีกกรณีหนึ่งของการล้าสมัยอาจไม่เกิดขึ้นกับพนักงานทุกคนในองค์การก็คือ  ถ้าหากสภาพแวดล้อมขององค์การเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา  และเทคโนโลยี่ที่เกี่ยวกับงานมีการเคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลงไปด้วยนั้น  ในกรณีเช่นนี้ผู้บริหารงานบางคนก็มักจะถูกกระทบทำให้ล้าสมัยไปด้วย จากการค้นพบของนักวิชาการว่า  ในเรื่องล้าสมัยนี้  ปัญหาในเรื่องของอายุไม่ใช่เป็นอุปสรรคสำคัญที่ทำให้ไม่สามารถพัฒนาเป็นนักบริหารที่ดีได้ แต่ที่อาจจะเป็นปัญหาบ้างก็คือ  ข้อจำกัดในเรื่องของความเฉลียวฉลาดและความสามารถในการแยกแยะวิเคราะห์ปัญหา  ตลอดจนการไม่ตื่นตัวหรือสนใจที่จะก้าวหน้ารวมทั้งการมีความคิดแคบ  และไม่มีความทะเยอทยาน  ดังนั้นหากทราบถึงปัจจัยดังกล่าวแล้ว  วิธีป้องกันก็คงต้องแก้ไขในจุดอื่น ๆ ที่เป็นมาก่อน นั่นก็คือ ทั้งในขั้นตอนของการคัดเลือก การประเมินผลพนักงาน  ตลอดจนการให้คำแนะนำตลอดเวลาเกี่ยวกับอาชีพหรือหน้าที่การงานและการมีนโยบายทางด้านบริหารบุคคลที่คล่องตัวก็จะช่วยประคับประคองหรือช่วยลดปัญหาได้ตลอดทาง  นอกจากนี้การต้องพิจารณาสนใจ  ปรับปรุงและออกแบบงานให้เหมาะสมอยู่ตลอดเวลา ให้เป็นงานที่ท้าทายเป็นขั้น ๆ ตามลำดับ ก็จะเป็นวิธีสำคัญที่จะช่วยลดปัญหาเรื่องความล้าสมัยให้น้อยลงไปได้ Herbert Kaufman ได้ให้ข้อเสนอแนะต่อไปว่า การรู้จักใช้วิชาชีพและวิชาการใหม่ ๆ เข้ามาช่วยในการตัดสินใจ ตลอดจนการมีนโยบายให้มีการโยกย้ายเปลี่ยนงาน  โดยให้ไปมีประสพการณ์กับงานใหม่ ๆ จะเป็นวิธีที่สำคัญยิ่งที่มีผลในการช่วยให้มีการพัฒนาการจัดการ  ได้โดยทางอ้อมอย่างได้ผล ทางเลือกที่จะแก้ไขปัญหาเรื่องความล้าสมัยในการจัดการนั้น […]