กิจกรรมปรับปรุงทักษะการฟัง

กิจกรรมปฏิบัติการเพื่อปรับปรุงทักษะการฟัง

กิจกรรมปฏิบัติการต่อไปนี้เป็นตัวอย่างบางส่วน ซึ่งใช้ในการสัมมนาเรื่องการสื่อสารและการฟัง และไม่ว่าจะเป็นพฤติกรรมใดก็ตาม ที่ท่านพยายามปรับปรุงแก้ไข ท่านย่อมพบว่าวิธีการฝึกปฏิบัติจะช่วยให้ได้ผลสมบูรณ์ที่สุดด้วยการฝึกปฏิบัติอย่างสมํ่าเสมอ กิจกรรมฝึกปฏิบัติต่อไปนี้ จะช่วยท่านให้ดึงแนวความคิดในเรื่องการฟังออกมาใช้ ในสภาพของพฤติกรรมจริงที่ดำเนินอยู่ประจำวัน

นอกจากนี้ การเติมข้อความให้สมบูรณ์ใน “แผนการฟัง” ที่แนบ ไว้ท้ายบทนี้ จะช่วยท่านให้ดำเนินตามเป้าประสงค์ของการเป็นนักฟังไว ที่แท้จริง

กิจกรรมที่ ๑  จงพยายามฟังบทสุนทรพจน์หลาย ๆ บท ซึ่งอาจจะมี คำพูดหลาย ๆ คำที่ท่านไม่คุ้นเคย ขณะที่ท่านฟัง จงพยายามเดาความหมายของคำพูดที่ไม่เคยรู้มาก่อนโดยพึ่งเนื้อความที่ใช้อยู่ ท่านต้องฝึกกิจกรรมเหล่านี้หลาย ๆ ครั้ง เพราะจะช่วยท่านให้ปรับปรุงคำศัพท์และช่วยให้เกิดประสิทธิภาพของการฟัง วัตถุประสงค์ของกิจกรรมนี้ คือ เพื่อปรับปรุงการฟังคำศัพท์ เพื่อจะได้ไม่รู้สึกขุ่นมัวด้วยคำพูดที่ซับซ้อน ซึ่งไม่รู้ความหมาย และอาจจะช่วยท่านให้ปรับคลื่นการรับฟังให้ตรงกับผู้พูดได้

กิจกร5นที่ ๒ จงทำสิ่งที่ผิดปกติจากที่เคยทำ ด้วยการสนทนากับบุคคล ซึ่งมีวิถีการพูด ที่ทำให้ท่านเกิดความลำบากใจในบทบาทของผู้ฟัง และด้วยการเปิดตนอย่างสมํ่าเสมอให้เผชิญกับหลาย ๆ บุคคล ที่มีวิถีการสื่อสารซึ่งสร้างความลำบากใจให้ และด้วยการเปิดโอกาสให้ตนได้ฝึกทักษะการฟังระหว่างที่มีการสนทนากัน ท่านย่อมจะสบายใจและมีประสิทธิภาพในการฟังการพูดที่มีรูปแบบหลากหลายได้มากขึ้น

กิจกรรบที่ ๓ จงใช้จินตนาการว่า ในอีกไม่กี่นาทีข้างหน้า ท่านมีนัดกันบุคคลที่ต้องการพูดคุยกับท่าน บุคคลผู้นี้มาที่สำนักงานของท่านและอยากที่จะพบท่านจริง ๆ แต่ท่านมีความรู้สึกไม่มั่นใจในการพบครั้งนี้ บุคคลนี้เป็นคนที่ท่านยังไม่อยากพบและพูดคุยด้วยในช่วงเวลานี้ ในขณะที่ท่านกำลังคอยให้บุคคลผู้นี้เข้ามาในห้องทำงานของท่าน จงพยายามคิดถึงภาพที่เกี่ยวกับบุคคลนั้น สิ่งที่จะต้องเผชิญในอีกช่วง ๓๐ – ๖๐ นาทีข้างหน้า บุคคลผู้นี้ได้เข้ามาในสำนักงานของท่านแล้ว ท่านจะบรรยายบุคคลนี้อย่างไร หนุ่มหรือแก่ ชายหรือหญิง เป็นคนสมัยใหม่หรือโบราณ ภาพพจน์ในด้านร่างกายเป็นอย่างไร เธอหรือเขาจะแต่งกายอย่างไร หัวข้อสนทนา ที่ต้องการคืออะไร อะไรทำให้บุคคลนี้เป็นคนที่ท่านไม่ต้องการพบหรือพูคคุยด้วย ในขณะนี้ และจงทำกิจกรรมที่เหมือนกันทุกอย่างเช่นนี้กับอีกบุคคลหนึ่ง ซึ่งท่านอยากจะพบในขณะนี้ จงถามและตอบคำถามประเภทเดียวกัน เมื่อจบกิจกรรมในมโนภาพนี้แล้ว จงเปรียบเทียบข้อสังเกตของท่านที่เกี่ยวกับแต่ละบุคคล ท่านอาจจะค้นพบสิ่งที่น่าตื่นเต้นตกใจบางประการ กิจกรรมที่ต้องการจะให้ท่านค้นพบประเภทของบุคคลที่ท่านสบายใจที่สุดที่จะพบปะพูดคุยด้วย และบุคคลที่ท่านลำบากใจที่จะสื่อสัมพันธ์ด้วย และด้วยการเพิ่มความรู้และความสำนึกรู้ในจุดดังกล่าว ท่านย่อมสามารถสร้างความมานะพากเพียรได้เป็นพิเศษ ในการเพิ่มลักษณะให้ตนเป็นบุคคลเปิดเผยมากขึ้น ขณะเดียวกันก็สามารถลดระดับเจ้าอารมณ์ของตน และเพิ่มความเข้าใจในตัวบุคคลซึ่งท่านเคยเกิดความยากลำบากที่จะสื่อสารด้วย

กิจกรรมที่ จงบันทึกเทปวีดิทัศน์ หรือบันทึกเสียงการสัมภาษณ์ใน ระหว่างท่านและอีกบุคคลหนึ่ง ใช้เวลา ๑๕-๒๐ นาที ท่านเล่นบทเป็นผู้ฟังที่มี ประสิทธิภาพ แล้วจงเปิดเทปฟังย้อนหลัง จงพยายามบันทึกจำนวนครั้งซึ่งท่านพบว่า ตัวท่าน :

(ก) ถูกล่อใจด้วยการเร้าจากภายนอก

(ข) ถูกล่อใจด้วยพวามคิดส่วนตัวภายในใจ

(ค) การก้าวออกนอกความคิดของผู้พูด

(ง) ใช้การตัดสินประเมินบุคคลขณะที่กำลังพูด

(จ) ตัดการพูดของบุคคลนั้นออกเพราะบางสิ่งที่เขาพูด

(ฉ) เติมคำพูดของตนเพื่อขจัดช่องว่างหรือความเงียบ

การฟังและการบริหารเชิงประสานสัมพันธ์

ถ้าท่านตั้งใจที่จะเรียนรู้วิธีฟังอย่างจริงจัง ท่านคงจะมีงานหนักที่จะ เรียนรู้ทักษะ และต้องฝึกปฏิบัติอย่างสมํ่าเสมอ เพื่อให้ทักษะเหล่านั้นคงอยู่อย่างดี ข้อสำคัญที่สุดคือการยอมรับว่า การฟังเป็นทักษะที่จำเป็นที่มีความสำคัญเท่ากับทักษะการสื่อสารประเภทอื่น ๆ เป็นต้นว่า การอ่าน การเขียน และการพูด สิ่งที่จำเป็นเป็นพิเศษคือจำเป็นต้องเข้าใจว่า การฟัง ไม่ควรมีความหมายเป็นที่สองรองจากการพูด หรือการสื่อความด้วยการพูด การพูดเคยเป็นที่ยอมรับว่าเป็นดังเด็กที่น่ารัก แต่ท่านต้องตระหนักให้ดีว่า เมื่อไม่มีใครฟัง ก็ไม่มีความหมายอันใดที่จะพูด ผู้ใต้บังคับบัญชาย่อมรู้สึกผ่อนคลายเมื่อพบผู้บริหารที่เข้าใจสิ่งที่ตนอยากจะเล่าถึงปัญหาของตนทันที ที่ท่านใช้ความพยายามที่จะเข้าใจผู้ใต้บังคับบัญชาของท่านอย่างจริงใจ ด้วยวิธีฟังเขาด้วยใจจดจ่อ เขาจะตอบแทนท่านด้วยการฟังและพยายามเข้าใจความคิดเห็นของท่านด้วยเช่นกัน นี่มิใช่หรือที่หมายถึงการบริหารที่เรียกว่า การบริหารเชิงประสานสัมพันธ์

ภาพที่ ๗

แผนการฟัง

๑. ข้าพเจ้าสามารถฟังอย่างมีประสิทธิภาพ เมื่อ………………………………………….

………………………………………………………………………………………………

๒. ข้าพเจ้าไม่ได้ฟังอย่างมีประสิทธิภาพ เมื่อ…………………………………………………………………………………………

๓. ฐานของการฟัง ๓ ด้านที่ข้าพเจ้ารู้สึกว่าเก่งที่สุด………………………………………………………………………………………….

๔. ฐานการฟัง ๓ ด้านที่ข้าพเจ้ารู้สึกว่าเป็นด้านที่ได้ปรับปรุงในเชิงสมรรถภาพ ได้แก่………………………………………………………………………………………

………………………………………………………………………………………………

๕. สำหรับแต่ละฐานของการปรับปรุงสมรรถภาพ ข้าพเจ้าวางแผนที่จะดำเนินขั้นการปรับปรุงการฟังเป็นขั้น ๆ ทั้งระยะยาวและระยะสั้น ดังนี้.-

ขั้นปฏิบัติการระยะสั้น                       ขั้นปฏิบัติการระยะยาว

ก. ……………………………………………………………………………………..

ข. ……………………………………………………………………………………..

ค. ……………………………………………………………………………………….