แนวทางสำหรับการจัดให้มีการทดสอบ

ต่อไปนี้จะได้ให้คำแนะนำที่เป็นแนวทางเพื่อการริเริมเพื่อจัดให้มีแผนการทดสอบขึ้นในบริษัท ซึ่งมีลำดับขั้นของการแนะนำดังนี้ 5 ประการด้วยกัน คือ

1. การใช้การทดสอบนั้นควรจะถือว่าเป็นเครื่องมือที่ใช้เพิ่มเติม กล่าวคือไม่

ควรที่จะใช้เครื่องมือทดสอบเป็นเพียงเครื่องมืออันเดียวที่เป็นเทคนิคในการคัดเลือก หากแต่ควรจะใช้เป็นเครื่องมือเพิ่มเติมควบคู่กับเทคนิคและเครื่องมืออื่น ๆ เช่น การสัมภาษณ์หรือการตรวจสอบข้อมูลพื้นฐาน ประวัติ เหตุผลก็เพราะว่าการทดสอบนั้นมีปัญหาเรื่องเกี่ยวกับความถูกต้องอยู่มากหลายครั้งคะแนนจากการทดสอบเป็นแต่เพียงแนวทางที่จะใช้วัดผลงานและเป็นเพียงเครื่องมืออันหนึ่ง ที่จะช่วยพวกเราให้ทราบอย่างคร่าว ๆ เกี่ยวกับตัวผู้สมัครว่าจะประสพความล้มเหลวเพียงใด มากกว่าที่จะช่วยบอกให้เราทราบได้ชัดแจ้งว่าเราจะประสพความสำเร็จเพียงใด

2.  ควรจะต้องมีการทดสอบความถูกต้องของการทดสอบที่ใช้อยู่ในบริษัท

ทั้งนี้เพราะว่าข้อสอบที่มีอยู่อาจจะไม่เหมาะสมซึ่งจะก่อให้เกิดปัญหาความไม่เป็นธรรม การทดสอบที่ดีจำเป็นจะต้องมีการสอบทานเกี่ยวกับความถูกต้องเสมอและการทดสอบแต่ละอันก็จะเหมาะสมกับแต่ละองค์การต่างกัน

3.  ควรจะต้องมีการวิเคราะห์มาตรฐานที่ใช้ในการวัดเกี่ยวกับการว่าจ้างและ

การเลื่อนชั้น ในที่นี้ก็คือควรจะตั้งคำถามตัวเองอยู่เสมอว่า ทำไมเราจึงใช้มาตรฐานหรือเกณฑ์นั้น เป็นเครื่องมือในการวัดและพฤติกรรมที่เราต้องการจะรู้จริง ๆ เกี่ยวกับงานนั้นคืออะไรกันแน่ เรื่องเหล่านี้ล้วนแต่เป็นภาระที่จะต้องพิสูจน์ ที่จะต้องสามารถชี้แจงได้เกี่ยวกับตัวเกณฑ์เช่นความฉลาดที่มีความสัมพันธ์ต่อความสำเร็จ

4.  ข้อควรระมัดระวังเกี่ยวกับเงื่อนไขของการทดสอบ เงื่อนไขของการทดสอบ มักจะมีความสำคัญยิ่งที่มีผลกระทบต่อผลของการทดสอบ ตัวอย่างเช่นสถานที่ทำการทดสอบจำเป็นที่จะต้องมีความเป็นอิสระ และปลอดจากสิ่งรบกวนตามสมควร และจะต้องมีเงื่อนไขที่ไม่หนวกหูที่ทำให้สมาธิเสีย ตลอดจนแสงจะต้องมีอย่างพอเพียงและอากาศจะต้องถ่ายเทได้สะดวก ดังนั้นจึงเป็นข้อที่จะต้องพิจารณาเช่นกัน ที่จะต้องให้การทดสอบนั้นเป็นการทดสอบที่อยู่ในสภาพเงื่อนไขของ สภาพแวดล้อมแบบเดียวกัน เพื่อจะให้แน่ใจได้ว่าการได้คะแนนสูงตํ่านั้นจะไม่ผิดเพี้ยนไปเพราะเหตุอันสืบเนื่องมาจากเงื่อนไขของการทดสอบดังกล่าว

5.  จะต้องระมัดระวังไม่ให้การทดสอบเป็นเครื่องมือในการล้วงความลับอัน

เป็นสิทธิสวนบุคคล กล่าวคือ ผู้ใช้การทดสอบจะต้องตระหนักว่าข้อมูลที่จะได้จากการทดสอบนั้น ส่วนใหญ่เป็นเรื่องราวส่วนตัวที่จะต้องถือเป็นความลับ ด้วยเหตุนี้เอง จึงทำให้หลายหน่วยงานจำเป็นต้องใช้ผู้ชำนาญการที่จะต้องทำเรื่องนี้ และด้วยเหตุที่ผู้ที่เข้ามาทำการทดสอบนั้นได้เข้ามาทดสอบด้วยใจสมัคร ดังนั้นจึงเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่งที่พึงต้องรักษามารยาทในการรักษาความลับในองค์การ