การแบ่งประเภทและชนิดของการทดสอบพนักงาน

การทดสอบอาจจะแบ่งออกเป็นหลาย ๆ ประเภทตามวิธีการต่าง ๆ กัน แต่อย่างไรก็ตามการทดสอบส่วนใหญ่มักจะแบ่งออกเป็น 2 กลุ่มใหญ่ ๆ คือ

“การทดสอบแบบกลุ่ม” (Group Test)

ซึ่งเป็นวิธีการที่จัดให้มีการทดสอบบุคคลหลาย ๆ คนพร้อมกันในครั้งเดียวกัน ซึ่งวิธีนี้เป็นวิธีที่ตรงกันข้ามกับ “การทดสอบเฉพาะบุคคล’’ (Individual Test)    ซึ่งกรณีหลังจะเป็นการทดสอบทีละคนหรืออาจจะแบ่งประเภทได้อีกวิธีหนึ่ง ตามลักษณะการกระทำที่แต่ละคนได้ทำต่อการทดสอบแต่ละอย่าง นั่นก็คือการแบ่งเป็น “Paper and Pencil Test” หรือที่เรียกว่าการทดสอบด้วยกระดาษและดินสอ ซึ่งวิธีนี้ต้องการให้มีการแสดงออกโดยการเขียนหรือกาเครื่องหมายเพื่อตอบคำถามในกระดาษหรือสมุดตอบ ในขณะเดียวกันการทดสอบผลงานหรือที่เรียกว่า “Performance or In­strumental Test” ซึ่งนับเป็นวิธีที่ผู้สอบจะต้องทดลองทำงานอย่างใดอย่างหนึ่งหรือทดลองใช้เครื่องมือให้ปรากฏให้เห็น ตัวอย่างของการทดสอบที่เรียกว่า Stromberg Dexterity Test ถ้ากรณีการทดสอบปากเปล่า ก็จะเป็นการสอบโดยการตั้งคำถามและให้ตอบโดยปากเปล่าต่อคำถามนั้น ๆ วิธีทั้งหมดข้างต้นนี้ วิธีที่เรียกว่า Peper and Pencil Test มักจะเป็นวิธีที่ใช้โดยทั่วไป และสามารถที่จะจัดทำขึ้นโดยง่ายในการที่จะทำการทดสอบกลุ่ม ทำนองเดียวกับการทดสอบแต่ละบุคคล นอกจากนี้ค่าใช้จ่ายของการทดสอบแบบนี้ยังตํ่ากว่าการใช้วิธีทดสอบแบบประเภทอื่น ๆ ด้วย

ชนิดของการทดสอบ

ภายใต้การทดสอบประเภทต่าง ๆ ที่กล่าวมาแล้วข้างต้นนั้น อาจจะระบุแยกย่อยเป็นการทดสอบแต่ละชนิดตามลักษณะของสิ่งที่พึงต้องการวัดได้ดังนั้

1.  การทดสอบความเฉลียวฉลาดหรือการทดสอบสติปัญญา (Intelligence

Test) การทดสอบแบบนี้นับว่าเป็นวิธีที่นิยมใช้มากที่สุด บางครั้งเรียกว่า “General Mental Ability Test” การทดสอบเชาวน์ปัญญาทั่วไปนี้ นับว่าเป็นวิธีที่มีประโยชน์ในการใช้ทายความสำเร็จหรือพยากรณ์ความสำเร็จสำหรับกลุ่มอาชีพต่าง ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในงานซึ่งต้องการที่จะวัดความชำนาญในเชิงพูดเชิงเขียน และความชำนาญในเชิงปริมาณตัวเลข วิธีทดสอบชนิดนี้มีหลายวิธีด้วยกัน บางวิธีก็อาจเหมาะสมในการใช้เพื่อวัดกลุ่มพนักงานด้านเสมียนธุรการและหัวพนักงาน แต่บางกรณีอาจจะเป็นการออกแบบขึ้นเพื่อใช้ทดสอบผู้สมัครในกรณีของงานประเภทโรงงานที่เป็นช่างหรืองานซ่อมบำรุงต่าง ๆ ด้วยการทดสอบชนิดนี้มักจะเป็นที่รู้จักกันในนามของการทดสอบ I.Q. หรือที่เรียก ว่า Intelligence Quotient

2.  การทดสอบความชำนาญในด้านฝีมือหรือกายภาพ (Test of Physical Skill) การทดสอบความชำนาญในทางร่างกายนี้นับว่ามีความสำคัญยิ่งในงานบางประเภท โดยเฉพาะงานทางด้านที่เกี่ยวกับการผลิตในโรงงาน ตัวอย่างที่สำคัญที่มีชื่อของการทดสอบชนิดนี้คือ “Strom­berg Dexterity Test” ซึ่งเป็นวิธีวัดความเร็วและความถูกต้องของการใช้ดุลยพินิจง่าย ๆ ทำนองเดียวกับความเร็วในการใช้นิ้วมือและใช้แขนในการเคลื่อนไหว วิธีการทดสอบแบบนี้ยังถูกนำมาใช้วัดความสามารถในการใช้สายตาตลอดจนการวัดความสามารถในการเห็นสีและเห็นระยะทางตลอดจนความชัดแจ้งของวัตถุที่มองด้วย

ด้วยเหตุที่งานส่วนใหญ่มีความต้องการความชำนาญด้านร่างกายเป็นขั้นต่ำ ซึ่งอาจจะพัฒนาเพิ่มเติมได้ด้วยการจัดอบรม ดังนั้นการทดสอบความสามารถทางร่างกายจึงสามารถเป็นประโยชน์ในการให้ข้อมูลต่อผู้บริหารที่จะมีเครื่องชี้ให้เห็นได้ตามสมควรว่า จะต้องใช้เวลานานเท่าไรในการที่จะให้ผู้สมัครงานเรียนรู้เกี่ยวกับความชำนาญที่ต้องการตลอดจนความถูกต้องที่เขาจะต้องทำได้ด้วย นอกจากนี้ ยังต้องสามารถช่วยในการกลั่นกรองตัวบุคคลซึ่งอาจจะเป็นเพราะเหตุใดเหตุหนึ่ง ที่มีปัญหาทำให้มีความไม่เหมาะสมหรือไม่สามารถทำงานให้เป็นที่พอใจได้ในขั้นตํ่าดังกล่าว

3.  การทดสอบความสำเร็จ (Test of Achievement) หรือที่เรืยกชื่อว่า Job Know­ledge และ Mechanical Ability การทดสอบความสำเร็จนี้ส่วนใหญ่ก็คือ ข้อสอบที่ท่านได้เคยทดสอบในโรงเรียนมาแล้ว คือการทดสอบเกี่ยวกับความรู้ในแขนงวิชาต่าง ๆ เช่น วิชาเศรษฐศาสตร์ การตลาด หรือวิชาการบริหารบุคคล การทดสอบความสำเร็จนี้ มักจะเป็นที่นิยมใช้กันทั้งภาคเอกชน ธุรกิจและราชการ ตัวอย่างเช่น การรับราชการพลเรือนล้วนแต่ต้องมีการทดสอบในทำนองนี้ คือต้อง ทดสอบความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับเรื่องที่ต้องทำ ไม่ว่าจะเป็นตำแหน่งของช่างไฟฟ้า ช่างเหล็ก ช่างไม้ หรืออื่น ๆ ตลอดจนการทดสอบภารพิมพ์ดีดเป็นต้น

4. Aptitude Tests หรือ Machanical Aptitude Tests วิธีนี้เป็นวิธีที่อาจจะใช้วัดความแตกต่างของหน้าที่งาน กล่าวคือเป็นการวัดเกี่ยวกับหน้าที่งานหลักต่าง ๆ ที่พึงต้องทำเพื่อที่จะค้นหาความสามารถในเชิงช่างต่าง ๆ เช่น ความสามารถในการที่จะเข้าใจเกี่ยวกับหลักการของกลไกหรือ การดำเนินงานเครื่องจักรต่าง ๆ เช่นที่เกี่ยวกับการใช้เกียร์ การใช้ล้อเลื่อนต่าง ๆ หรือรอก ตลอดจนความสามารถในการสังเกตช่วงระยะหรือการสามารถมองเห็นความเข้าใจเกี่ยวกับวัตถุต่าง ๆ ในสภาวะ แวดล้อม

5. การทดสอบขนาดของความสนใจ (Interest Inventory) การทดสอบชนิดนี้ก็

คือ การมุ่งพยายามที่จะวัดให้เห็นความสัมพันธ์ของขนาดความสนใจของคนหนึ่ง ๆ ที่มีต่ออาชีพหนึ่ง ข้อเปรียบเทียบกับความสนใจของคนอื่น ๆ ในกลุ่มอาชีพเดียวกัน เทคนิคการทดสอบชนิดนี้มักจะมีความสำคัญเป็นอย่างยิ่งในการวัดงานทางด้านสายอาชีพสำคัญ เช่น การวัดคนในกลุ่มอาชีพนักบัญชี วิศวกรรม หรือคนในกลุ่มบริหาร เป็นต้น การทดสอบความสนใจนี้ เป็นที่แน่นอนว่ามีประโยชน์เป็นอย่างยิ่งสำหรับการจัดแผนความก้าวหน้าในหน้าที่งาน ทั้งนี้ก็เพราะว่าทุกคนจะทำงานได้ดีในสิ่งที่ตนชอบมากเป็นพิเศษ ด้วยเหตุผลดังกล่าวนี้เองการทดสอบชนิดนี้จึงนับว่ามีประโยชน์อย่างยิ่งในการ ป็นเครื่องมือสำหรับการคัดเลือก ทั้งนี้เพราะว่าถ้าหากเราสามารถรู้แบบของคนที่มีความสนใจในงาน และเป็นบุคคลที่ได้เคยมีความสำเร็จในงานชนิดนั้นมาก่อนแล้ว ในกรณีเช่นนี้โดยการยึดถือจากลักษณะมองเห็นจากคนดังกล่าวและผลที่ได้จากการทดสอบคนเดียวกันนั้น ก็จะสามารถนำมาใช้กับคนที่เรา จะะคัดเลือก ชึ่งก็ย่อมจะทำให้ท่านได้คนที่มีลักษณะนิสัยและความสนใจ ตรงกับผู้ที่เคยสำเร็จในหน้าที่เช่นนั้นมาแล้ว

6.  การทดสอบบุคลิกภาพ (Personality Tests)

การทดสอบชนิดนี้ใช้เพื่อวัดสิ่งที่เป็นพื้นฐานที่เกี่ยวกับบุคลิกภาพของตัวผู้สมัคร เช่น ความมั่นคงภายใน และการจูงใจหรือความมั่นใจตลอดจนการปรับตัวในทางจิตวิทยาเป็นต้น วิธีการทดสอบบุคลิกภาพนี้ ส่วนใหญ่เป็นวิธีที่เรียกว่า Projective หมายถึงเป็นสิ่งซึ่งต้องใช้วิธีการคาดการณ์หรือทายสิ่งข้างใน เช่นการให้ดูภาพลาง ๆ ที่ไม่ชัด และให้บุคคลนั้นตีความหมายหรือแสดงออกต่อสิ่งที่ปรากฎจากรูปที่ไม่ชัดเจนนั้น คนซึ่งอ่านภาพมักจะแสดงสิ่งซึ่งภายในของตัวเป็นคำตอบออกมา ซึ่งก็เท่ากับคน ๆ นั้นลูกล้วงความเป็นลักษณะภายในให้เห็นเป็นภาพออกมาในเชิงของทัศนคติที่เป็นอารมณ์หรือความคิดเห็นที่ปรากฏจากภายในของเขา วิธีการทดสอบเช่นนี้นับเป็นวิธีทดสอบที่ยากที่สุดทั้งในขั้นของการทำการประเมินและขั้นของการใช้ กล่าวคือผู้ชำนาญการจะต้องประเมินความเห็นต่าง ๆ ที่ผู้เข้าทำการทดสอบได้แสดงออกมา และจะต้องแสดงการอ้างอิงเพื่อที่จะรู้กึงความเป็นไปของลักษณะท่าทาง นอกจากนั้นยังมีความยากเป็นอย่างยิ่งเกี่ยวกับความถูกต้องและการที่จะสามารถพบความสัมพันธ์ระหว่างบุคลิกภาพและความสำเร็จในหน้าที่งาน